• HOME
  • BLOG
  • ABOUT
  • CONTACT
Menu
  • HOME
  • BLOG
  • ABOUT
  • CONTACT
ทำความรู้จัก “ไซนัสอักเสบ” ปัญหาสุขภาพสุดกวนใจ พร้อมอาการ การดูแลและวิธีป้องกัน
November 12, 2019
โรคไทรอยด์ รู้จักไว้ ปลอดภัยกว่า
November 12, 2019
Published by admin on November 12, 2019
Categories
  • Uncategorized
Tags

กรดไหลย้อน ภัยสุขภาพคุกคามคุณภาพชีวิต

โรค กรดไหลย้อน เป็นโรคที่มีอัตราการพบบ่อยมากขึ้นในปัจจุบัน ส่วนหนึ่งมาจากวิถีชีวิตที่เร่งรีบทำให้มีพฤติกรรมการกินอาหารแบบผิดๆ เพราะฉะนั้นโรคนี้จึงพบได้ค่อนข้างในคนวัยทำงาน โรคกรดไหลย้อนไม่ใช่โรคที่อันตรายต่อสุขภาพร่างกายมากมายนัก แต่มันสร้างความทรมานจนส่งผลกระทบต่อคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยมาก โดยเฉพาะในรายที่มีอาการรุนแรง เวลาแสบร้อนกลางอกขึ้นมานี่อาจรู้สึกเหมือนถูกไฟไหม้ได้เลยทีเดียว แต่ว่าโรคนี้รับมือได้ไม่ยากเพียงแค่เข้าใจ รักษาอย่างเหมาะสมร่วมกับปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการใช้ชีวิตให้ดีมากขึ้นเท่านั้นเองค่ะ

คุณอาจสนใจบทความนี้ อ่านเลย โรคไทรอยด์ รู้จักไว้ ปลอดภัยกว่า

กรดไหลย้อน

โรคกรดไหลย้อน (Gastroessophageal Reflux Disease : GERD) เป็นโรคที่มีอาการน้ำย่อยในกระเพาะไหลกลับขึ้นมาทางเดินอาหารส่วนบน โดยส่วนใหญ่แล้วจะเป็นกรด แต่อาจมีด่างบ้างเล็กน้อยจากลำไส้เล็ก มีผลทำให้หลอดอาหารอักเสบ ผู้ป่วยในโรคนี้จะมีอาการที่พบร่วมกันคือ เรอเปรี้ยว เจ็บคอเรื้อรัง แสบร้อนกลางอก เป็นต้น สาเหตุสำคัญที่ทำให้เป็นโรคนี้คือพฤติกรรมการรับประทานอาหารที่ไม่ถูกต้อง ถึงแม้โรคนี้จะไม่ได้อันตรายมากนัก แต่มันส่งผลต่อคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยอย่างร้ายแรง และถ้าไม่ได้รับการรักษาอย่างถูกวิธีจนป่วยเรื้อรัง อาจเพิ่มโอกาสในการเป็นโรคมะเร็งหลอดอาหารได้ ถึงแม้จะพบน้อยมากก็ตาม

กรดไหลย้อน ภัยสุขภาพคุกคามคุณภาพชีวิต

กรดไหลย้อนอาการ

ผู้ป่วยสามารถมีอาการได้หลายอาการ แต่มักจะมีอาการ่วมกันอยู่ เช่น แสบร้อนกลางอกกับเรอเปรี้ยว แต่ผู้ป่วยอาจจะไม่ทราบว่าตัวเองป่วยเป็นโรคนี้เพราะเข้าใจไปว่าที่เป็นอยู่อาจคล้ายกับโรคทางหู คอ จมูก เช่น ไอเรื้อรัง เจ็บคอมากเวลาตื่นนอนและเจ็บบ่อยครั้งโดยไม่ทราบสาเหตุ เสียงแหบ มีกลิ่นปากรุนแรง ฟันผุ เป็นต้น อย่างไรก็ตามอาจมีอาการในระบบทางเดินอาการอย่างร่วมด้วย เช่น จุกเสียดแน่นท้องคล้ายอาหารไม่ย่อย มีของเหลวรสขมเปรี้ยวไหลย้อนขึ้นมาในช่องปาก กลืนอาหารลำบากฯลฯ ซึ่งถ้าพบแพทย์แล้ววินิจฉัยไม่เจอโรคอื่นๆ ส่วนใหญ่ก็จะพบว่าเป็นโรคกรดไหลย้อน

คุณอาจสนใจบทความนี้ อ่านเลย “ไซนัสอักเสบ” ปัญหาสุขภาพสุดกวนใจ พร้อมอาการ การดูแลและวิธีป้องกัน

โรคกรดไหลย้อนสาเหตุ

สาเหตุการเกิดโรคกรดไหลย้อนสามารถแบ่งได้ 3 กลุ่มด้วยกัน ดังนี้

  • หูรูดส่วนปลายผิดปกติ หูรูดนี้จะทำหน้าที่ป้องกันไม่ให้ของเหลวในกระเพาะอาหารดันกลับขึ้นไปด้านบนได้ แต่ในคนที่หูรูดนี้อยู่ต่ำหรือเปิดบ่อยเกินไป ก็อาจจะมีน้ำย่อยในกระเพาะเล็ดรอดขึ้นไปด้านบนได้
  • การบีบตัวของหลอดอาหารผิดปกติ อาหารจะเคลื่อนที่ลงไปสู่กระเพาะอาหารช้า หรือถ้ามีอาหารในกระเพาะไหลย้อนขึ้นมาก็จะตกค้างอยู่ในหลอดอาหารนานมากเกินไป
  • การบีบตัวของประเพาะอาหารผิดปกติ หากกระเพาะอาหารบีบตัวช้า อาหารที่อยู่ด้านในก็จะค้างอยู่นานด้วยเช่น เปิดโอกาสให้ไหลย้อนกลับขึ้นมาได้ง่ายมากขึ้น

นอกจากสาเหตุด้านบนแล้วยังมีปัจจัยเสี่ยงอีกหลายประการที่เพิ่มโอกาสในการเป็นโรคนี้ง่ายยิ่งขึ้น เช่น สูบบุหรี่ ดื่มแอลกอฮอล์ ชอบทานอาหารแล้วเข้านอนเลย รับประทานอาหารในปริมาณที่มากเกินไปในหนึ่งมื้อ ทานอาหารรสเปรี้ยวจัดหรือเผ็ดจัด อาหารไขมันสูง น้ำอัดลม ชา กาแฟ น้ำหนักเกิน การตั้งครรภ์ เป็นต้น

กรดไหลย้อนห้ามกิน

หากอยากรักษาโรคกรดไหลย้อนให้ได้ผลดี ต้องใส่ใจเรื่องอาหารอย่างมาก เพราะพฤติกรรมการกินอาหารจัดเป็นหนึ่งในสาเหตุสำคัญที่กระตุ้นให้เป็นโรคนี้ ดังนั้นหากยังกินอาหารแบบเดิมไม่มีการปรับเปลี่ยนอะไร อาการอาจจะแย่ลง หากรักษาอยู่ก็จะหายช้าได้ เพราะฉะนั้นมาดูกันดีกว่าว่าอาหารที่คนเป็นโรคนี้ไม่ควรกิน มีอะไรบ้าง

  • น้ำส้มสายชูหรืออาหารรสเปรี้ยวจัด เพราะมีความเป็นกรดสูง กินแล้วจะเพิ่มความเป็นกรดในกระเพาะอาหารมากยิ่งขึ้นได้ ทั้งนี้รวมไปถึงพวกเครื่องปรุงบางอย่างด้วย เช่น ซอสมะเขือเทศ เป็นต้น
  • อาหารไขมันสูง เช่น อาหารมันๆทอดๆ อาหารที่มีสัดส่วนของไขมันสัตว์สูง ช็อคโกแลต กะทิ ไอศกรีม เป็นต้น เพราะถึงแม้อาหารเหล่านี้จะไม่ได้เพิ่มกรดแต่ว่าเมื่อไปรวมกับกรดในกระเพาะอาหารแล้ว อาจทำให้เกิดอาการจุกเสียดตามมาได้
  • อาหารหรือเครื่องดื่มที่มีแก๊สมาก เช่น ถั่ว อาหารรสเผ็ดจัด น้ำอัดลม โซดา ชา กาแฟ เป็นต้น เพราะอาหารในกลุ่มนี้จะไปกระตุ้นให้กระเพาะอาหารสร้างน้ำย่อยมากยิ่งขึ้น
  • แอลกอฮอล์ ผู้ป่วยโรคกรดไหลย้อนต้องหลีกเลี่ยงเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ทุกประเภท เพราะมันมีฤทธิ์ไปกระตุ้นให้หูรูดทางเดินอาหารเปิดออก ทำให้น้ำย่อยในกระเพาะไหลย้อนขึ้นมาได้ง่าย
  • ผักบางชนิด เช่น หอมหัวใหญ่ดิบ หอมแดง พริก สะระแหน่ พริกไทย เป็นต้น เพราะว่ากินแล้วจะไปกระตุ้นให้มีกรดในกระเพาะเยอะขึ้น ทำให้รู้สึกแสบร้อนกลางอกได้ นอกจากนี้ควรหลีกเลี่ยงการทานผักสดด้วย
  • อาหารหมักดอง เช่น กะปิ ปลาร้า ปูดอง ผลไม้ดอง ผักดอง ผลไม้แช่อิ่ม เป็นต้น เนื่องจากมีส่วนเพิ่มปริมาณกรดในกระเพาะอาหาร กินแล้วอาจทำให้รู้สึกจุกเสียดได้
  • หมากฝรั่ง การเคี้ยวหมากฝรั่งจะกระตุ้นการหลั่งน้ำลาย ทำให้กลืนน้ำลายมากยิ่ง เวลากลืนจะมีลมลงไปพร้อมกันด้วย หากลมในกระเพาะจะรู้สึกจุกเสียดหรือเรอได้ง่าย เพราะฉะนั้นผู้ป่วยโรคนี้ควรหลีกเลี่ยงการเคี้ยวหมากฝรั่ง

กรดไหลย้อน ภัยสุขภาพคุกคามคุณภาพชีวิต

กรดไหลย้อนรักษา

การรักษาโรคกรดไหลย้อนให้ได้ผลดี ต้องรักษาด้วยการทานยาควบคู่ไปกับการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการใช้ชีวิต ปัจจุบันนี้มียาหลายตัวที่สามารถรักษาโรคนี้ได้ เช่น ยาลดกรดในกระเพาะอาหาร ยาลดการหลั่งกรดในกระเพาะอาหาร  ยาเพิ่มการบีบตัวของหลอดและกระเพาะอาหาร เป็นต้น ยาบางประเภทจำเป็นต้องมีการปรับเพิ่มลดขนาดยาตามอาการ เพราะฉะนั้นจึงต้องทานภายใต้การดูแลของแพทย์ ไม่ควรซื้อยามาทานเอง ส่วนเรื่องพฤติกรรม สามารถปรับเปลี่ยนได้ดังนี้

  • ลด ละ เลิก การสูบบุหรี่และดื่มแอลกอฮอล์
  • รักษาสุขภาพร่างกายให้แข็งแรง ควบคุมน้ำหนักให้อยู่ตามเกณฑ์มาตรฐาน ทานอาหารให้มีประโยชน์ ควรแบ่งอาหารเป็นมื้อย่อย 4-5 มื้อ จะมีปัญหาเรื่องการย่อยน้อยลง ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ ช่วยให้อวัยวะภายในบางอย่างเช่น กระเพาะอาหาร ลำไส้เล็ก เคลื่อนไหวได้ดีขึ้น
  • ไม่ทานอาหารมื้อใหญ่ก่อนเข้านอน ควรทานอาหารมื้อสุดท้ายของวันให้ห่างจากเวลาที่เข้านอนอย่างน้อย 3-4 ชั่วโมง
  • หลีกเลี่ยงอาหารหรือเครื่องดื่มที่ทำให้อาการแย่ลง เช่น อาหารรสเผ็ดหรือเปรี้ยวจัด อาหารไขมันสูง ช็อคโกแลต ชา กาแฟ เครื่องดื่มที่มีคาเฟอีน เป็นต้น
  • สวมใส่เสื้อผ้าที่พอดีตัว ใส่สบาย ไม่คับแน่นจนเกินไป
  • นอนเตียงที่ปรับด้านหัวให้สูง 6-8 เซนติเมตร เพื่อป้องกันการไหลย้อนของน้ำย่อยในเวลากลางคืน ไม่ควรใช้หมอนเพราจะไม่ได้ผล เนื่องจากมีการงอช่วงลำตัว
  • หากโรคกรดไหลย้อนเกิดจากการตั้งครรภ์ จะรักษาไม่หายเพราะนอกจากมีปัญหาเรื่องหูรูดหย่อนยานแล้ว ขนาดมดลูกที่ใหญ่มากขึ้นก็ไปดันกระเพาะอาหารด้วย ทำได้แค่เพียงบรรเทาอาการเท่านั้น ซึ่งอาการจะดีขึ้นและหายไปเองในที่สุดเมื่อคลอดบุตรแล้ว

โดยทั่วไปแล้วการรักษาด้วยยาและปรับเปลี่ยนพฤติกรรมนั้นได้ผลน่าพอใจ แต่ว่ายาจะต้องกินติดต่อกันเป็นเวลานานกว่าการรักษาโรคกระเพาะหรือแผลในกระเพาะอาหารทั้งนี้ผู้ป่วยดูแลตัวเองอย่างเหมาะสม โอกาสที่จะกลับมาเป็นซ้ำก็น้อยลงมาก จึงสามารถกลับไปใช้ชีวิตได้ตามปกติดังเดิมได้ อย่างไรก็ตามผู้ป่วยบางรายเมื่อหยุดยาแล้วอาการอาจจะกลับมากำเริบได้ เพราะฉะนั้นแพทย์อาจจะพิจารณาให้รักษาด้วยการผ่าตัดเป็นกรณีๆไปค่ะ

Share
0
admin
admin

Related posts

November 12, 2019

โรคริดสีดวงทวาร ภัยสุขภาพใกล้ตัว รักษาได้ ไม่ต้องทรมาน


Read more
November 12, 2019

โรคไทรอยด์ รู้จักไว้ ปลอดภัยกว่า


Read more
November 12, 2019

ทำความรู้จัก “ไซนัสอักเสบ” ปัญหาสุขภาพสุดกวนใจ พร้อมอาการ การดูแลและวิธีป้องกัน


Read more

ATLANTICCANADA

Atlantic Canada Healthcare คลังข้อมูลป้องกันโรค รู้ทันโรคใหม่ ๆ ทุกวัน พร้อมวิธีตรวจเช็คอาการเบื้องต้น มีประสิทธิภาพมากที่สุด ประหยัดที่สุด ทันเวลาในการตัดสินใจไปพบแพทย์เพื่อคำแนะนำและการรักษาที่ดีที่สุด

Recent Posts

ตุ่มใสที่นิ้วมือคัน

ตุ่มใสที่นิ้วมือคัน อันตรายหรือไม่? บ่งบอกถึงโรคอะไรได้บ้าง

โรคขาอยู่ไม่สุข

โรคขาอยู่ไม่สุข กลุ่มอาการที่ทำให้เสียบุคลิกภาพ

คัดจมูกแก้ยังไง

คัดจมูกแก้ยังไง ? รวม 10 วิธีรักษาและป้องกันอาการเบื้องต้น

ตุ่มใสที่นิ้วมือคัน

ตุ่มใสที่นิ้วมือคัน อันตรายหรือไม่? บ่งบอกถึงโรคอะไรได้บ้าง

โรคขาอยู่ไม่สุข

โรคขาอยู่ไม่สุข กลุ่มอาการที่ทำให้เสียบุคลิกภาพ

คัดจมูกแก้ยังไง

คัดจมูกแก้ยังไง ? รวม 10 วิธีรักษาและป้องกันอาการเบื้องต้น

Copyright © 2020 atlanticcanadahealthcare.com

  • Terms and Conditions
  • Privacy Policy