• HOME
  • BLOG
  • ABOUT
  • CONTACT
Menu
  • HOME
  • BLOG
  • ABOUT
  • CONTACT
วัณโรค รู้ทัน รักษาหายขาดได้ด้วยการกินยา
November 12, 2019
ทำความรู้จัก “ไซนัสอักเสบ” ปัญหาสุขภาพสุดกวนใจ พร้อมอาการ การดูแลและวิธีป้องกัน
November 12, 2019
Published by admin on November 12, 2019
Categories
  • Uncategorized
Tags

งูสวัด โรคผิวหนังจากการติดเชื้อไวรัสที่คนเคยเป็นอีสุกอีใสต้องรู้

“งูสวัด” เป็นโรคติดเชื้อทางผิวหนังชนิดหนึ่ง  โรคนี้มีมานานแล้ว และถึงแม้เป็นโรคไม่อันตรายมากนักแต่ถ้ารักษาไม่ทันท่วงที ไวรัสลุกลามไปยังอวัยวะอื่นๆก็อาจทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อนจนเสียชีวิตได้ จึงอยากให้ทุกคนหันมาทำความเข้าใจโรคนี้กันมากขึ้น เพราะเป็นโรคที่มีโอกาสเป็นกันได้ทุกคนหากเคยเป็นโรคอีสุกอีใสมาก่อนแล้ว ว่าแต่มันเกี่ยวข้องกับอีสุกอีใสยังไง มีอาการหรือสิ่งใดที่น่าเรียนรู้เกี่ยวกับโรคงูสวัดอีกบ้าง ตามมาดูกันค่ะ

คุณอาจสนใจบทความนี้ อ่านเลย โรคไทรอยด์ รู้จักไว้ ปลอดภัยกว่า

“งูสวัด” โรคผิวหนังจากการติดเชื้อไวรัส

งูสวัด อาการ

อาการโดยทั่วไปของโรคงูสวัด แบ่งได้ 3 ระยะ ดังนี้

  • ระยะที่ 1 เริ่มมีสัญญาณความผิดปกติบนผิวหนังด้านในด้านหนึ่งของร่างกายก่อนจะเริ่มลุกลามไปยังบริเวณอื่น สัญญาณที่ว่าคืออาการแสบร้อนหรือชา จุดที่พบได้บ่อยคือแผ่นหลังกับแขน เวลากดจะรู้สึกเจ็บปวดแต่จะยังไม่มีผื่นขึ้น ผู้ป่วยบางรายจะปวดศีรษะและมีไข้ต่ำๆร่วมด้วย สำหรับระยะที่ 1 นี้เป็นระยะที่เชื้อกำลังฟักตัว ใช้เวลาประมาณ 2-7 วันก่อนจะพัฒนาไปสู่ระยะที่ 2
  • ระยะที่ 2 บริเวณที่เคยแสบร้อนจะแดงมากขึ้น มีผื่นขึ้นโดยผื่นมีลักษณะเป็นตุ่มใส เรียงกันอยู่เป็นกลุ่มๆ
  • ระยะที่ 3 ผื่นจะขึ้นมากขึ้นและเรียงตัวแนวยาวพาดลำตัวตามแนวเส้นประสาท ส่วนมากจะพบที่แขนหรือเอว แต่ก็แต่ก็สามารถขึ้นที่ใบหน้า ลำคอ หู ศีรษะหรือในดวงตาได้เช่นเดียวกัน และถ้าลามเข้าดวงตา มีโอกาสตาบอดได้ ผื่นนี้จะสร้างความรู้สึกปวดแสบปวดร้อนมาก บางคนปวดทรมานจนนอนไม่หลับเลยก็มี ผื่นงูสวัดนี้โดยปกติจะพบแค่ข้างเดียวและแนวผื่นจะไปหยุดบริเวณกึ่งกลางลำตัว เนื่องจากเส้นประสาทจะหยุดที่ตรงนั้น มีโอกาสน้อยมากหรืออาจไม่มีโอกาสเลยที่งูสวัดจะพันรอบลำตัว ยกเว้นในรายที่มีปัญหาเรื่องภูมิคุ้มกัน เช่น ผู้ที่กินยากดภูมิ ผู้ที่ติดเชื้อ HIV อาจมีโอกาสพบผื่นงูสวัดขึ้นพร้อมกันทั้งสองข้างได้ อย่างไรก็ตามก็ยังพบได้น้อยอยู่ดี หลังจากนั้น แผลจะค่อยๆแห้งและตกสะเก็ด ส่วนอาการอื่นๆจะดีขึ้นตามไปด้วย ระยะเวลาตั้งแต่ผื่นเริ่มขึ้นจนยุบแห้งหายสนิทใช้เวลาประมาณ 2-6 สัปดาห์ ขึ้นอยู่กับความแข็งแรงของร่างกาย

ทั้งนี้ถึงแม้ว่าผื่นและอาการอื่นๆจะหมดไป แต่อาการต่อเนื่องของโรคจะยังคงอยู่ โดยผู้ป่วยจะรู้สึกปวดตามแนวเส้นประสาท เนื่องจากเส้นใยประสาทถูกไวรัสทำลาย อาการปวดนี้จะอยู่นานหลายเดือน บางคนมีอาการเกือบปี แต่โดยมากแล้วอาการปวดปลายประสาทหลังรักษาหายแล้วจะเกิดขึ้นในผู้ที่มีอายุ 40 ปีขึ้นไป แต่ถ้าใครเชื้อลุกลามไปอวัยวะอื่นๆ เช่น หู ตา ปอด หัวใจหรือไต ก็จะมีอาการแทรกซ้อนอื่นๆตามมาด้วย

 

งูสวัดเกิดจาก

งูสวัด(shingles, herpes zoster) คือ โรคผิวหนังที่เกิดจากการติดเชื้อไวรัสที่ชื่อว่า ไวรัสวาริเซลลาซอสเตอร์(VZV) การรับเชื้อนั้นมักเกิดจากการติดเชื้อในระบบทางเดินหายใจ จากนั้นเชื้อก็เข้าสู่กระแสเลือด ก่อให้เกิดการติดเชื้อทั่วร่างกาย จริงๆแล้วจะบอกว่างูสวัดเกิดจากการติดเชื้อ VZV ตรงๆก็ไม่น่าจะถูกต้องนัก เพราะหากได้รับเชื้อนี้ครั้งแรก จะเป็นโรคอีสุกอีใสไม่ใช่งูสวัด แต่เมื่อรักษาอีสุกอีใสจนหายดีแล้ว เชื้อจะแฝงตัวอยู่ตามเส้นประสาทไปตลอดชีวิต แต่จะอยู่ในสภาพที่ไม่ก่อโรค จนกระทั่งเกิดการติดเชื้อซ้ำ เชื้อโรคเพิ่มจำนวนขึ้นและเดินทางจากเซลล์ประสาทไปยังปลายประสาท จึงกลายเป็นโรคงูสวัดนั่นเอง ผู้ป่วยโรคนี้จะมีลักษณะเด่นของอาการเหมือนกันคือ มีผื่นใสขึ้นเป็นกลุ่มพาดตามลำตัวและแสบร้อนอย่างมากบริเวณที่มีอาการ ส่วนปัจจัยที่ทำให้งูสวัดกลับมากำเริบได้นั้นมีหลายประการ ดังนี้

  • ไม่รักษาสุขภาพ
  • อายุมากขึ้น
  • ผู้ที่ทานยากดภูมิคุ้มกัน
  • ผู้ที่มีภาวะภูมิคุ้มกันบกพร่อง

สำหรับกลไกที่ทำให้เชื้อกลับมากำเริบนั้นยังไม่ทราบแน่ชัด แต่ปัจจัยด้านบนเพิ่มความเสี่ยงที่จะทำให้โรคกำเริบได้ โรคงูสวัดจะมีความคล้ายคลึงกับเริมในเรื่องลักษณะของผื่น แต่จริงๆ แล้วเกิดจากไวรัสคนละสายพันธ์กันเพียงแต่อยู่ในแฟมิลี่เดียวกันเท่านั้น ปัจจุบันนี้มีวัคซีนป้องกันโรคงูสวัดแล้ว คนที่มีอายุ 40 ปีขึ้นไปควรจะแดกันทุกคน เพราะลดโอกาสการเกิดโรคได้ถึง 50-90% หลังฉีดถึงแม้จะติดเชื้อ ก็จะช่วยลดความรุนแรงของโรคลงได้ รวมทั้งยังรักษาหายเร็วขึ้นด้วย

คุณอาจสนใจบทความนี้ อ่านเลย โรคภูมิแพ้ เข้าใจ รู้ทัน ป้องกันได้

“งูสวัด” โรคผิวหนังจากการติดเชื้อไวรัส

งูสวัดห้ามกินอะไร

โดยทั่วไปแล้วไม่ได้มีข้อห้ามเรื่องการทานอาหารชนิด จึงสามารถทานได้ทั่วไป เพียงแต่เน้นทานให้ครบถ้วน 5 หมู่ ร่างกายจะได้ฟื้นตัวรวดเร็วยิ่งขึ้น ทั้งนี้ควรงดอาหารบางชนิด เช่น แอลกอฮอล์ ของหมักดอง อาหารสุกๆดิบๆ เป็นต้น เพราะมันอาจทำให้ร่างกายติดเชื้อเพิ่มเติมได้

งูสวัดกี่วันหาย

ระยะเวลาตั้งแต่เริ่มมีอาการจนอาการแสบร้อนตามประสาทหายไปใช้เวลาตั้งแต่ 2 สัปดาห์-1 ปี แต่ผื่นผิวหนังและอาการทางผิวหนังอื่นๆ จะหายตั้งแต่ 2-6 สัปดาห์แรกนับตั้งแต่วันที่ได้รับเชื้อ แต่หลังจากรักษาหายแล้วอาจจะมีอาการแสบร้อนตามปลายประสาทอยู่ ความรุนแรงและระยะเวลาในการปวดจะต่างกันออกไป แต่ส่วนใหญ่แล้วอาการทั้งหมดจะหายสนิทภายใน 1 ปี ทั้งนี้ไม่อยากให้ผู้ป่วยเป็นกังวล เพราะอาการปวดนี้มักเกิดกับผู้ที่มีอายุ 40 ปีขึ้นไปเท่านั้น ในคนอายุน้อยกว่านี้มีอัตราการเกิดต่ำมาก ถ้าอายุยังน้อย ร่างกายแข็งแรงดี โดยมากแล้วจะมีไม่อาการปวดดังกล่าว

โรคงูสวัดเป็นโรคที่ป้องกันได้ไม่ยาก หากใครที่ยังไม่เคยเป็นอีสุกอีใสมาก่อนก็ระมัดระวังอย่าให้ตัวเองติดเชื้อ ถ้ามีคนใกล้ชิดป่วยเป็นอีสุกอีใส ให้หลีกเลี่ยงการคลุกคลีกับผู้ป่วยจนกว่าผู้ป่วยจะรักษาตัวจนหายดีแล้ว หากกังวลก็ไปฉีดวัคซีนก็ได้ โดยสารมารถป้องกันได้นาน 5 ปี แต่ถ้าเคยเป็นอีสุกอีใสมากแล้ว ก็หมายความว่ามีเชื้อไวรัสอยู่ในตัว การป้องกันได้ทำได้โดยการดูแลสุขภาพร่างกายให้แข็งแรงอยู่เสมอ เพื่อป้องกันโรคกลับมากำเริบอีกครั้ง

Share
0
admin
admin

Related posts

November 12, 2019

โรคริดสีดวงทวาร ภัยสุขภาพใกล้ตัว รักษาได้ ไม่ต้องทรมาน


Read more
November 12, 2019

โรคไทรอยด์ รู้จักไว้ ปลอดภัยกว่า


Read more
November 12, 2019

กรดไหลย้อน ภัยสุขภาพคุกคามคุณภาพชีวิต


Read more

ATLANTICCANADA

Atlantic Canada Healthcare คลังข้อมูลป้องกันโรค รู้ทันโรคใหม่ ๆ ทุกวัน พร้อมวิธีตรวจเช็คอาการเบื้องต้น มีประสิทธิภาพมากที่สุด ประหยัดที่สุด ทันเวลาในการตัดสินใจไปพบแพทย์เพื่อคำแนะนำและการรักษาที่ดีที่สุด

Recent Posts

ตุ่มใสที่นิ้วมือคัน

ตุ่มใสที่นิ้วมือคัน อันตรายหรือไม่? บ่งบอกถึงโรคอะไรได้บ้าง

โรคขาอยู่ไม่สุข

โรคขาอยู่ไม่สุข กลุ่มอาการที่ทำให้เสียบุคลิกภาพ

คัดจมูกแก้ยังไง

คัดจมูกแก้ยังไง ? รวม 10 วิธีรักษาและป้องกันอาการเบื้องต้น

ตุ่มใสที่นิ้วมือคัน

ตุ่มใสที่นิ้วมือคัน อันตรายหรือไม่? บ่งบอกถึงโรคอะไรได้บ้าง

โรคขาอยู่ไม่สุข

โรคขาอยู่ไม่สุข กลุ่มอาการที่ทำให้เสียบุคลิกภาพ

คัดจมูกแก้ยังไง

คัดจมูกแก้ยังไง ? รวม 10 วิธีรักษาและป้องกันอาการเบื้องต้น

Copyright © 2020 atlanticcanadahealthcare.com

  • Terms and Conditions
  • Privacy Policy