“Dyshidrosis” คือ ภาวะทางผิวหนังที่ทำให้เกิดตุ่มน้ำเล็ก ๆ ขึ้นบนฝ่ามือและบริเวณด้านข้างของนิ้ว แต่สำหรับบางคนก็อาจเกิดที่เท้า แผลพุพองหรือตุ่มน้ำที่เกิดขึ้น โดยทั่วไปจะคงอยู่ประมาณ 3 สัปดาห์ และระหว่างที่เกิดตุ่มน้ำพองขึ้นมา จะทำให้เกิดอาการคันอย่างรุนแรง จากอาการคัน รวมทั้งสภาพผิวหนังที่ปรากฏให้เห็นรอยโรคอย่างชัดเจนนี้ ทำให้หลาย ๆ คนเกิดความกังวลว่าอาการ ตุ่มใสที่นิ้วมือคัน นี้เป็นอันตรายหรือไม่ และจะบ่งชี้ถึงโรคอะไรที่จะเกิดลุกลามมากขึ้นในอนาคตหรือเปล่า มาศึกษา ข้อมูลที่เราจะนำมาเสนอกันเลย
ตุ่มใสที่นิ้วมือคัน อาจเป็นสาเหตุของการเกิดโรคกลากชนิดหนึ่ง ซึ่งเป็นภาวะผิวหนังทั่วไปที่ทำให้เกิดแผลพุพอง และผิวหนังมีอาการคัน โดยมีหลายสาเหตุในการเกิดกลาก dyshidrotic ตัวกระตุ้นที่ทำให้เกิดโรค อาจรวมถึงอาการแพ้, ความเครียด หรือผิวหนังบริเวณมือและเท้ามีความชื้นหรือเหงื่อออกบ่อย ๆ การรักษาที่มีประสิทธิภาพ มีหลายวิธี รวมถึงการรักษาที่บ้าน การบำบัด และการใช้ยาตามใบสั่งแพทย์ กลาก Dyshidrotic จะเกิดขึ้นบนผิวหนัง และมักจะพบปรากฏอยู่ระหว่างนิ้วมือ ซึ่งจะทำให้ผิวหนังแห้งเป็นขุยและมีแผลพุพอง มีตุ่มน้ำใส ๆ ขึ้นมาซึ่งตุ่มน้ำนี้สามารถแตกออกได้ อาการเหล่านี้มักจะเกิดขึ้นกับมือและเท้าของคุณ นอกจากนี้คุณยังควรระวัง ซิฟิลิสโรคติดต่อ ด้วยเช่นกัน เพราะติดต่อง่ายเพียงแต่สัมผัส
ตุ่มใสคันที่นิ้ว มีปรากฏในลักษณะเป็นแผลพุพองขนาดเล็ก และคัน ซึ่งเป็นสัญญาณที่ชัดเจนที่สุดของกลาก dyshidrotic สิ่งเหล่านี้มักจะปรากฏขึ้นเป็นกลุ่ม และคุณยังอาจมีอาการ เช่น
แผลพุพอง และ ตุ่มใสที่นิ้วมือ คัน มักจะหายไปใน 2 – 3 สัปดาห์ แต่ผิวหนังของคุณอาจจะอ่อนแอในช่วงระยะเวลาหนึ่ง ส่วนใหญ่แล้วจะมีอาการไม่รุนแรง แต่หากคุณมีอาการรุนแรงที่ อาจจะส่งผลต่อการใช้ชีวิตประจำวันไม่ว่าจะเป็นการพิมพ์คอมพิวเตอร์ การล้างจาน การซักผ้า กิจกรรมที่ต้องใช้มือต่าง ๆ และในกรณีที่อาการหนักขึ้นคุณอาจติดเชื้อ สัญญาณที่บอกว่าคุณมีอาการติดเชื้อได้แก่
ยังไม่มีข้อมูลที่ชี้อย่างชัดเจนว่า อะไรเป็นสาเหตุของกลาก Dyshidrotic หรือ ตุ่มใสคันที่นิ้ว แต่ส่วนใหญ่จะพบในผู้ใหญ่ที่มีอายุ 20 – 40 ปี และพบบ่อยในผู้หญิงมากกว่าผู้ชายถึง 2 เท่า และคุณมีแนวโน้มที่จะเป็นมากขึ้นหากคุณมีอาการแพ้ เช่น ไข้ละอองฟาง มีประวัติครอบครัวเป็นโรคเรื้อนกวาง dyshidrotic หรือโรคเรื้อนในรูปแบบอื่น ๆ หรืออาจจะมาจากปัจจัยได้แก่
หากตุ่มพอง ตุ่มใสคันที่นิ้ว ที่เกิดขึ้นนั้นไม่เจ็บเกินไปอย่าพึ่งเจาะนำน้ำด้านในออกมา แต่ในกรณีที่คุณต้องการลดความเจ็บปวดจากตุ่มที่เกิดขึ้น และไม่อยากให้แผลที่เกิดขึ้นบนมือไปสัมผัสกับสิ่งของต่าง ๆ เพราะต้องการลดความเสี่ยงของการติดเชื้อ วิธีรักษาตุ่มใสที่นิ้วมือ เริ่มจากการนำผ่าพันแผล (ผ้าก๊อซ) คลี่ออกมาเป็นแผ่นบาง ๆ นำมาปิดทับตุ่มน้ำพองแล้วพันด้วยสก๊อตเทป (ที่ใช้สำหรับแผล) พันให้รอบ หรือในกรณีที่คุณต้องการเจาะตุ่มน้ำพองออก เพราะต้องบรรเทาความเจ็บปวดที่เกิดขึ้น เข็มที่ใช้ในการเจาะขอให้เป็นเข็มใหม่ และอย่าลืมฆ่าเชื้อด้วยแอลกอฮอล์ก่อนนำมาใช้งานทุกครั้ง แต่ถ้าคุณเป็นโรคเบาหวานหรือระบบไหลเวียนโลหิตไม่ดี อย่าเจาะหรือยารักษาตุ่มน้ำพองด้วยตนเองให้ไปพบแพทย์ทันที เพราะมิฉะนั้นตุ่มใสที่นิ้วมืออาจจะเป็นปัญหาใหญ่ลุกลามบานปลาย
เพื่อบรรเทาอาการปวดที่มาจากแผลพุพอง ตุ่มใสคันที่นิ้ว ให้คุณระบายของเหลวออกด้วยขั้นตอน ดังนี้…
หลังจากนั้นคุณต้องดูแลติดตามผลของแผลที่เจาะไป ให้คุณเช็กแผลทุกวัน ถ้าแผลแห้งสะอาดดีไม่เจ็บแล้วก็ดี เพียงแต่ว่าต้องเฝ้าระวังอย่าทำให้เกิดการติดเชื้อเด็ดขาด หลังจากที่แผลเริ่มแห้ง (ขั้นตอนนี้ให้คุณใช้เวลาในการสังเกตนิดหน่อย) แผลจะเริ่มแห้งออกมาเป็นขุย ๆ ให้คุณใช้แหนบและกรรไกรที่ฆ่าเชื้อด้วยแอลกอฮอล์ถูลงบนแผล เพื่อกำจัดผิวหนังที่ตายแล้วออก ตามด้วยทาครีมและใช้ผ้าพันแผล
เพื่อป้องกันการเกิด ตุ่มใสคันที่นิ้ว ในส่วนของเท้า ให้คุณสวมใส่รองเท้าที่พอดี และแนะนำให้สวมถุงเท้าที่ระบายความชื้นได้ดี สามารถใช้แป้งทาเท้าได้ และแป้งที่ใช้ในการท้าเท้านี้ จะต้องเป็นแป้งที่นำมาใช้กับเท้าโดยเฉพาะ สามารถดูดซับความชื้นได้ดี ซึ่งจะทำให้ผิวบริเวณฝ่าเท้าคุณแม้จะสวมใส่รองเท้า แต่ก็จะมีความแห้งตลอดเวลา
ในส่วนของมือก็พยายามรักษามือให้สะอาด ในกรณีที่คุณเป็นคนที่ล้างมืออยู่เป็นประจำแล้ว อาจจะลองเพิ่มขั้นตอนการเช็ดมือให้แห้งมากขึ้น หรือในกรณีที่คุณไม่ค่อยล้างมือสักเท่าไหร่นัก และไม่สะดวกที่จะล้างกับน้ำเปล่า เพราะอาจจะต้องทำงานไม่ได้สะดวกเข้าห้องน้ำบ่อย ๆ ก็อาจจะเพิ่มนิสัยการล้างมือด้วยแอลกอฮอล์ให้มากขึ้น เพื่อลดการเกิดตุ่มใสที่นิ้วมือ
ในยามที่กลากตุ่มใสที่นิ้วมือชนิดนี้ปรากฏขึ้นมาบนนิ้วมือหรือเท้าของคุณ แนะนำให้คุณทำตามวิธีที่เรานำมาแนะนำนี้ ซึ่งก็จะช่วยบรรเทาอาการคัน และบรรเทาการลุกลามของโรคได้
นอกจากนี้คุณอาจทาครีมที่มีตัวยาผสมอยู่ โดยที่ไม่ต้องสั่งโดยแพทย์ (OTC) เช่น ครีมคอร์ติโคสเตียรอยด์ (ยาทาสเตียรอยด์สำหรับโรคผิวหนัง) แนะนำให้คุณเลือกเนื้อครีมแบบขี้ผึ้ง และอาจใช้ร่วมกับยาต้านฮีสตามีนชนิดรับประทาน ได้แก่ เฟกโซเฟนาดีน (Allegra®) หรือเซทิริซีน (Zyrtec®) ยาเหล่านี้ช่วยลดการอักเสบและอาการคัน
ตุ่มใสที่นิ้วมือ บนมือ หรือเท้าของคุณนั้นแม้จะดูน่ากลัว แต่ก็ไม่ได้เป็นโรคผิวหนังชนิดติดต่อ แต่การเกิดโรคนี้ก็อาจส่งผลกระทบต่อจิตใจของผู้ป่วยได้ เพราะว่าอาจจะทำให้ถูกเข้าใจผิด เกิดความรู้สึกอายหรือถูกลดทอนความมั่นใจลง ซึ่งขอให้คุณทำใจเย็น ๆ และลองทำตามวิธีการรักษาที่เราแนะนำนี้กัน สิ่งสำคัญคือการทำให้มือแห้ง การรักษาความสะอาด และไม่ทำให้ตุ่มน้ำที่เกิดขึ้นมาแล้วนั้นลุกลามมากขึ้น
อ้างอิงจาก
Atlantic Canada Healthcare คลังข้อมูลป้องกันโรค รู้ทันโรคใหม่ ๆ ทุกวัน พร้อมวิธีตรวจเช็คอาการเบื้องต้น มีประสิทธิภาพมากที่สุด ประหยัดที่สุด ทันเวลาในการตัดสินใจไปพบแพทย์เพื่อคำแนะนำและการรักษาที่ดีที่สุด