ปวดหัวเข่ารักษาอย่างไร ? รวมวิธีรักษาเบื้องต้นที่สามารถทำได้ด้วยตัวเอง
หัวเข่า นับว่าเป็นอวัยวะที่สำคัญอย่างหนึ่งบนร่างกายมนุษย์ เข่าประกอบด้วยกระดูกสองท่อนและเป็นส่วนหนึ่งของกระดูกท่อนขา มีน้ำหล่อเลี้ยงที่สำคัญมาก เพราะในชีวิตจำวันของมนุษย์ต้องใช้หัวเข่ารองรับน้ำหนักตัวของร่างกาย การทำกิจกรรมใดใดในชีวิตประจำวัน หากเข่าไม่มีน้ำหล่อเลี้ยงก็จะเกิดอาการ เสียวเสียดเข่า ปวดเข่า เดินไม่ถนัด ส่งผลเสียในการทำกิจกรรมต่าง ๆ ในชีวิต วันนี้เราเลยอยากพาทุกท่านมาเจาะลึกกับสาเหตุอาการปวดหัวเข่า และ ปวดหัวเข่ารักษาอย่างไร จะมีข้อมูลอะไรน่าสนใจบ้างลองไปดูกันเลย
แล้วอาการปวดเข่านั้นเกิดจากอะไร
มาทำความเข้าใจกันก่อนว่าเข่าประกอบด้วยอะไร โดยทั่วไปเข่ามีลักษณะคล้ายบานพับ ส่วนปลายกระดูกต้นขามีส่วนประกอบสำคัญ 3 อย่างคือ
- ส่วนปลายกระดูกต้นขา (Femur)
- ส่วนต้นกระดูกหน้าแข้ง (Tibia) และ
- ลูกสะบ้า (Patella)
โดยเฉพาะลูกสะบ้าจะมีความสำคัญอย่างมากในการเยียดและรับแรงต้านทานน้ำหนัก เข่าปกตินั้นบริเวณรอบข้อจะมีเส้นเอ็นรอบข้อเยื่อหุ้มข้อบุด้านใน แต่เมื่อใดที่ร่างกายมีการสร้างน้ำในเยื่อบุข้อมากขึ้น ทำให้งอเข่าได้ไม่เต็มที่ ปวดเมื่อเดิน หรืออาการปวดอาจเพิ่มมากขึ้นเมื่อเริ่มยืน เดิน วิ่ง เพราะในส่วนนี้ต้องรับรองน้ำหนักของตัว หากปล่อยละเลยอาการปวดเข่า กระดูกอาจโดนทำลายได้และก่อเกิดโรคข้อเข่าเสื่อม
แต่อาการปวดเข่านั้นเกิดขึ้นได้จากหลายสาเหตุ ได้กับบุคคลทุกเพศและทุกวัย อีกทั้งการปวดเข่าแต่ละช่วงวัยนั้นก็มีนัยยะเกิดขึ้นจากสาเหตุที่แตกต่างกันไป ทั้งเรื่องพฤติกรรมการใช้ชีวิตในประจำวัน หรืออุบัติเหตุต่าง ๆ แบ่งออกมา เช่น
1.การเล่นกีฬา ในพื้นฐานของการเล่นกีฬาบางชนิดจำเป็นต้องกระโดดหรือวิ่ง ทำให้เข่าต้องรับแรงเสียดทานที่เพิ่มมากขึ้น เพิ่มความเสี่ยงให้เกิดอาการเจ็บเข่า เช่น วิ่งมาราธอน วิ่งกระโดดสิ่งกีดขวาง บาสเกตบอล ฟุตบอล เป็นต้น
2. กล้ามเนื้อขาดความยืดหยุ่น ทำให้ข้อต่อได้รับแรงโดยตรง อันเป็นสาเหตุให้เข่าอ่อนแอ สมรรถภาพการรับแรงรับที่ไม่เพียงพอและไม่หยืดหยุ่นมากพอนั่นเอง หรือในกรณีการออกกำลังโดยปราศจากการวอร์มกล้ามเนื้อก่อน หรือคูลดาวน์ทำให้กล้ามเนื้อบริเวณเข่าอักเสบและฉีกขาด จนเกิดอาการปวดเข่าออกมา
3. เข่าเคยประสบอุบัติเหตุมาก่อน เคยอาการบาดเจ็บหัวเข่าในอดีต หรือกระดูกหัก ส่งผลให้ปัจจุบันยังคงมีอาการปวดเข่าและเสียดได้ง่ายกว่าปกติ
4. ผู้มีน้ำหนักเกินเกณฑ์มาตรฐาน หรือผู้เสี่ยงเป็นโรคอ้วน อันเนื่องมาจากกิจกรรมต่าง ๆ ในชีวิตประจำวัน ไม่ว่าจะวิ่ง ลุกยืน นั่ง เดิน ขึ้นลงบันได แรงกดเข่าของร่างกายต้องรับน้ำหนักตัวมากกว่าคนน้ำหนักเกณฑ์มาตรฐาน
5. เส้นเอ็น หรือหมอนรองเข่าได้รับบาดเจ็บ มักพบบ่อยในหมู่นักกีฬาในวงการกีฬาที่ใช้ความทนทาน (endurance sports) หรือในกีฬาที่มีการปะทะรุนแรง เช่น รักบี้ ทำให้หมอนรองเข่ารับแรงกระเเทกอย่างรุนแรง
6. ข้อเคล็ดและกล้ามเนื้อฉีก เกิดการยืดอย่างฉับพลันของกล้ามเนื้อ ถูกเปลี่ยนทิศทางอย่างรวดเร็วกระทันหัน หรือภาษาชาวบ้านคือการลงน้ำหนักผิดจังหวะ ทำให้เกิดการเคล็ด (การบาดเจ็บที่เอ็นข้อต่อที่ฉีดขาดหรือถูกบิดจนผิดรูป) และกล้ามเนื้อฉีก (เส้นใยกล้ามเนื้อฉีกขาด เพราะยืดหดอย่างรวดเร็วเกินขีดจำกัดของกล้ามเนื้อ)
7.หมอนรองกระดูกฉีกขาด คือกระดูกอ่อนรูปร่างคล้ายจาน ซึ่งแต่ละข้างของเข่าจะมีหมอนรองกระดูกสองชิ้น ทำหน้าที่เสมือนตัวช่วยในการกระจายน้ำไขข้อเพื่อลดการเสียดสีระหว่างกระดูก เมื่อใดที่ลงเข่าผิดจังหวะหรือหมุนผิดรูปแบบ หมอนรองกระดูกก็จะฉีกขาดได้โดยง่าย อาการคือ ปวดหัวเข่า เข่าล็อคขยับไม่ได้ เกิดอาการบวมปูด ซึ่งโดยลักษณะนี้มักเกิดในผู้เล่นกีฬา
8. ถุงน้ำลดการเสียดสีในเข่าอักเสบ มักเกิดในถุงน้ำใต้ข้อเข่าหรือถุงน้ำเหนือสะบ้า ที่ทำหน้าที่กันกระแทก ลดแรงเสียดทาน สองอย่างนี้เกิดการอักเสบขึ้นมาและทำให้เจ็บเข่า พฤติกรรมที่ทำให้เกิดการอักเสบของถุงน้ำลดการเสียดสีในเข่า เช่น การนั่งคุกเข่าลงบนพื้นแข็งเป็นประจำ เป็นต้น
9. ปัญหากลไกในร่างกาย อาการนี้ไม่ได้เกิดจากอุบัติเหตุหรือสิ่งกระตุ้นภายนอกแต่อย่างใด บางครั้งกลไกในร่างกายก็เกิดอาการบาดเจ็บจากภายในได้ เช่น
- สะบ้าผิดตำแหน่ง (Dislocated Kneecap) กระดูกสะบ้าเป็นกระดูกทรงสามเหลี่ยมครอยหน้าเข่า เมื่อสะบ้าเคลื่อนผิดตำแหน่ง ก็จะสามารมองเห็นได้จากภายนอกทันที นั่นก็คือ อาการบวม ปวดเข่า ไม่สามารถยืดเข่าออกไปได้เลย
- เศษกระดูกหลุด (Loose Body) อาจจะเกิดขึ้นไม่บ่อยนัก แต่บางครั้งเมื่อร่างกายเสื่อมสภาพหรือเกิดอุบัติเหตุไม่คาดฝัน เศษกระดูกหลุดหรือขวางทางของเข่า ส่งผลให้ปวดมากและเคลื่อนไหวลำบาก
10. โรคข้ออักเสบบางประเภท นอกจากเข่าที่ปวดแล้ว ยังมีอาการอักเสบตามข้อ กล่าวได้คือ อาการเข่าบวม นูนแดง ร้อนในเข่าและเกิดอาการเข่าติดไม่สามารถงอได้ เช่น
- โรคเกาต์ (Gout) มักเกิดในเพศชายอายุ 40 ปีขึ้นไป เป็นโรคที่ไตวบคุมการผลิตกรดยูริคที่ไม่เสถียร ทำให้ปริมาณกรดยูลิคในเลือดสูงและตกผลึกในเนื้อเยื่อต่าง ๆ และใต้ผิวหนัง ซึ่งบางครั้งก้อนผลึกก็จะไปเกาะตามไขข้อจนเกิดอาการอักเสบ บวมและปวดเข่า
- โรคเก๊าเทียม (Pseudogout) สาเหตุการเกิดคล้ายกับโรคเกาต์ ที่ปวดข้อแต่ไม่สัมพันธ์กับกรดยูริค เกิดจากการตกกระกอนของผลึกแคลเซียมไพโรฟอสเฟต การวินิจฉัยโรคนั้นค่อนข้างยากเพราะเกิดหลากสาเหคุ ต้องเจาะน้ำไขข้อมาตรวจเท่านั้น มีลักษณะหินปูนจับที่แนวกระดูกอ่อน พบบ่อยในผู้สูงอายุหรือผู้ที่มีบอตาลิซึทำงานหนัก
- โรคข้อรูมาตอยด์ (Rheumatoid Arthritis) เป็นโรคข้ออักเสบเรื้อรัง เกิดขึ้นพร้อมกันในหลาย ๆ ข้อต่อ เมื่อสะสมมากเป็นเวลานานทำให้กระดูกเกิดผิดรูปและพิการได้ สิ่งที่น่ากลัวคือโรครูมาตอนย์นั้นยังไม่มีสาเหตุการเกิดที่แน่ชัด ทางการแพทย์ตั้งข้อสมมุตได้ว่าอาจเกิดจากกรรมพันธ์ การติดเชื้อ ฮอร์โมนเพศในร่างกาย
- โรคข้อเสื่อม (Osteoarthritis) เกิดจากกระดูกอ่อนผิวข้อถูกทำลายอย่างช้า ๆ ตามพฤติกรรมหรือสมรรถภาพร่างกายที่อายุเพิ่มมากขึ้น ทำให้น้ำไขข้อที่เปรียบดั่งสารหล่อลื่ชะลอการทำงาน เกิดการฝืดเคือง เสียงกรอบแกรบตามกระดูก เกิดอาการข้อฝืด ปวดข้อ และเมื่อน้ำหล่อเลี้ยงน้อยลง การเสียดสีของกระดูกและแรงกดทับก็จะทำให้กระดูกผิดรูปร่างมากขึ้น ในกรณีนี้มักเกิดขึ้นในผู้สูวอายุเช่นกัน บางครั้งคลำได้เจอแข็งหรือางแพทย์เรียกว่าหินปูนเกาะกระดูก (Bone Spurs) บริเวณข้อเข่า จึงเป็นสาเหตุของโรคและการปวดเข่า
ปวดหัวเข่ารักษาอย่างไร ?
ในบางครั้งสาเหตุในการปวดเข่านั้นก็ยากที่จะค้นหาด้วยตนเอง ทางที่ดีหากเกิดขึ้นซ้ำจากภายในโดยไม่ทราบสาเหตุ การพบแพทย์ให้ผู้เชี่ยวชาญตรวจดูนั้นเป็นหนึ่งทางที่ดีที่สุด แต่บางครั้งการปวดเข่าโดยเกิดจากอุบัติเหตุฉับพลันที่เห็นได้ทันที การรักษาเข่าเบื้องต้นจึงเป็นการปฐมพยาบาลเบื้องต้นก่อนพบแพทย์เป็นอย่างดี แต่หากมีอาการปวดเข่าในอาการเบื้องต้นแต่ไม่ทราบสาเหตุ ให้ลองรักษาเบื้องต้นได้ด้วยตัวเองดังนี้
- ลดน้ำหนัก หากท่านรับรู้ตนเองว่ามีเกณฑ์น้ำหนักเกินอย่างมากและตามหัวเข่าเริ่มมีอาการปวดทุกครั้งที่ขยับร่างกาย นี่เป็นสัญญาณว่าคุณกำลังเผชิญปัญหาเข่า หากไม่ลดน้ำหนัก ก็จะเป็นการสะสมการกดทับใช้งานของเข่าและจะเป็นเรื้อรังเช่นนี้จนกว่าคุณจะกลับมามีน้ำหนักตัวตามเกณฑ์มาตรฐาน ฉะนั้นควบคุมพฤติกรรมการกินควบคู่ลดน้ำหนักด้วยการออกกำลังกายโดยเลี่ยงการกระโดดจะช่วยคุณได้เป็นอย่างดี
- ปรับพฤติกรรม ไม่นั่งไขว้ห้าง ดังเช่นที่กล่าวไปในอาการปวดเข่า พฤติกรรมขัดสมาธิหรือนั่งไขว่ห้างเป็นเวลานาน เป้นการทิ้งน้ำหนักที่เข่าไปแบบผิดและเข่าเองก็ถูกล็อคให้ผิดรูปร่าง ทำให้เกิดอาการปวดเขาเรื้อรังได้โดยเฉพาะคนที่ทำงานนั่งนาน ๆ อย่างที่ออฟฟิต ก็อาจทำให้เป็น ออฟฟิศซินโดรม ได้ด้วยเช่นกัน หรือการใส่ส้นสูงเป็นเวลานานเป็นประจำทำให้เกร็งขาและเข่าด้วย
- ทำท่ากายบริหาร เริ่มจากการขยับร่างกายและปรับเปลี่ยนท่าทางทุก ๆ 30 นาทีเพื่อไมให้เข่าคงท่าเดิมและกดทับกันนานเกินไป หรือลองกายบริหารท่าง่าย ๆ ดังต่อไปนี้ เช่น
- ท่าเขย่งขา (Calf raises) ยืนตัวตรงพร้อมมือเท้าเอวทั้งสองข้าง จากนั้นเท่าชิดกัน ยืนด้วยปลายนิ้วเท้าเท่าที่จะนานได้แล้วค่อยวางส้นเท้าที่เดิม ทำเช่นนี้ 10 ครั้ง
- ท่ายืดกับกำแพง (Heel and Calf Stretch) หันหน้าเข้ากำแพง เอามือยันกำแพงระดับเดียวกับไหล่ จากนั้นก้าวเท้าซ้ายแล้วย่อเข่าลง ขาอีกข้างยืดออกให้รู้สึกตึงหน่วง ๆ ค้างไว้ 15 วินาทีและทำสลับกันกับข้างขวา ทำเช่นนี้ 15 เซ็ท
- ท่านอนหงาย ให้นำหมอนมาวางไว้ใต้เข่า แล้วนอนราบไปบนเตียง กดเข่าข้างที่ปวดลงไปกับหมอน แล้วกระดกปลายเท้าขึ้น เหยียดเข่าให้ตรง ค้างไว้ 3 วินาทีแล้วปล่อยเข่าลง ทำอย่างน้อย 30 ครั้ง
- ท่านอนตะแคง ให้ขาข้างที่ปวดอยู่ข้างบน จากนั้นค่อยเหยียดขาให้ตรงแล้วยกกางขาขึ้นในระดับหัวไหล่และลงช้า ๆ ทำ 15 ครั้งต่อหนึ่งเซ็ต
- ท่าสะพาน ให้นอนราบหลังลงพื้น จากนั้นชันเข่าขึ้นทั้งสองข้างโดยไม่ชิดกัน จากนั้นยกสะพกขึ้นพร้อมลำตัว โดยไม่โก่งจนโค้ง ให้หลังและพื้นราบกัน 90 องศาค้างไว้ 3 นาที ทำเช่นนี้ 10 ครั้ง
- ประคบร้อนและประคบเย็น วิธีการนี้เหมาะกับเข่าอักเสบ ช่วยบรรเทาอาการบวมอักเสบ เป็นวิธีที่สะดวกและทำได้ง่าย ซึ่งการประคบทั้งสองแบบก็จะเหมาะกับประเภทการอักเสบที่ต่างกันไป
- ประคบเย็น เหมาะกับผู้ที่มีการอาการปวดเข่า เข่าบวมอักเสบระยะเริ่มต้น ซึ่งประโยชน์ของการประคบเย็นคือ ทำให้เส้นเสือดหดตัว ลดอาการบวแดง ปวดแสบร้อนจากการอักเสบ วิธีการก็คือใช้ผ้าขนหนูหุ้มน้ำแข็งเพื่อไม่ให้เย็นจนเกินไป หรือใช้เจลเย็นประคอบรอบ ๆ บริเวณที่ปวด
- ประคบร้อน เหมาะกับคนที่มีอาการระยะอักเสบเรื้อรัง
- ปรับพฤติกรรมการรับประทานอาหาร
- หลีกเลี่ยงอาหารที่มีโซเดียมสูง หรืออาหารที่มีรสเค็มจัด (หรือไม่เค็มจัดก็ควรหลีกเลี่ยง) เพราะร่างกายจะสะสมน้ำไว้ในเซล์มากเกินไปจนตัวบวม หรือเกิดการตกผลึกของกรดยูริคได้
- แป้งขัดขาว เช่น ข้าวขาว ขนมปังขาว เป็นต้น เพราะจะไปกระตุ้นการอักเสบของกระดูก
- เครื่องดื่มที่มีคาเฟอีน เพราะในสารคาเฟอีนจะขับแคลเซียมออกจากร่างกาย ทำให้ร่างกายเกิดสภาพวะกระดูกบางได้
- ของทอดทั้งหลาย อาจจะไม่เกี่ยวข้องกับกระดูกโดยตรง แต่เมื่อรับประทานมาก ๆ แล้วทำให้เกิดโรคอ้วนที่ส่งผลกับกระดูกเข่าที่ต้องกดทับรับน้ำหนักมาก
- เลือกรับประทานอาหารที่มีแคลเซียมสูง แต่ในปริมาณที่ไม่มากเกินไป เช่น ผลิตภัณฑ์ที่ทำจากนมวัวต่าง ๆหากใครแพ้กรดแลคโทคก็ดื่มน้ำนมอัลมอนด์ น้ำนมถั่วเหลืองทนแทนกันได้เช่นได้
- กรดโอเมก้า-3 นอกจากจะบำรุงสมองแล้ว ในกรดโอเมก้ามีกรดโอเลอิคที่ช่วยบำรุงกระดูก ลดอาการอักเสบทั่วร่างกายรวมถึงการอักเสบจากข้อเสื่อมต่าง ๆ
- รับประทานอาหารเสริมคอลลาเจนไทป์ทู อีกหนึ่งทางเลือกที่นอกจากจะบำรุงซ่อมแซมเซลล์ที่สึกหรอแล้ว คอลลาเจนไทป์ทู ถือว่าเป็นอาหารเสริมที่ยอดนิยมไม่ว่าจะอายุเท่าไหร่หรือเพศใดก็ตาม หลายคนเข้าใจว่าคอลลาเจนนั้นบำรุงแค่ผิวพรรณให้เต่งตึงอย่างเดียว อันที่จริงแล้วคอลลาเจนนั้นมี 3 ประเภทใหญ่ ๆ ในตลาดอาหารเสริม ประเภทที่หนึ่งจะเน้นเรื่องบำรุงผิวสร้างโปรตีนโดยตรง และประเภทที่สองเน้นบำรุงกระดูก น้ำกระดูกภายใน และอวัยวะข้างในร่างกาย และเนื้อเยื่อต่าง ๆ ของเซลล์ให้ทำงานเป็นปกติ
คอลลาเจนไทป์ทู มักมาในรูปแบบผสมกับแคลเซียมที่ช่วยส่งเสริมบำรุงกระดูกในตัว ในงานวิจัยพบว่าเทียบกับผู้ที่ไม่บริโภคอาหารเสริมคอลลาเจน คนที่ไม่รับประทานคอลลาเจน มีอัตราเป็นข้อเข่าเสื่อมถึง 15% อีกทั้งจากแพทย์ผู้เชียวชาญก็ยืนยันได้ว่าการบริโภคคอลลาเจนช่วยส่งเสริมได้จริง และไทป์ทูนั้นก็เหมาะกับผู้สูงอายุที่มีปัญหาเรื่องข้อเข่าเสื่อมและไม่สามารถรับคอลลาเจนจากอาหารทั่วไปได้ ฉะนั้นเราควรจะกันดีกว่ามาแก้ทีหลังด้วยการบริโภคคอลลาเจนไทป์ทูกันเถอะ
ปวดเข่ามาก เป็นอาการของโรคข้อเข่าเสื่อมหรือไม่
อาการปวดเข่ามานั้นไม่สามารถการันตีได้ว่าจะเป็นอาการของโรคข้อเข่าเสื่อมเสมอทุกครั้งไป โรคข้อเข่าเสื่อมมักเกิดกับวัยกลางคน และผู้สูงอายุขึ้นไป แต่ด้วยสถานการณ์ปัจจุบันมีแนวโน้มเกิดขึ้นในผู้ที่มีอายุน้อยและมีอัตราการเกิดสูงขึ้นทุกปี ถึงแม้ว่าโรคนี้ไม่ได้ร้ายแรงจนถึงเสียชีวิตแต่ถือว่าเป็นอุปสรรคในการดำเนินชีวิตประจำวันมากทีเดียว เพราะการเดินหรือนั่งทุกก้าวนั้นเจ็บปวดทรมานอย่างมาก
โรคข้อเข่าเสื่อมมักมาในรูปแบบของข้ออักเสบ เนื่องจากกระดูกอ่อนของข้อมีการสึกหรอช่วงช่วงอายุ อีกทั้งในชีวิตประจำวันเข่าของเรานั้นต้องรับแรงกดทับอยู่ตลอดเวลา เมื่อนานวันเข้าหัวเข่าก็เกิดการเสียดสีจากพฤติกรรมและโรคอื่น ๆ ทำให้เกิดเป็นโรคข้อเข่าเสื่อมไปในที่สุด หรือหากคุณรู้สึกว่าปวดเข่ามากๆ ต้องขยับขาตลอดเวลาคุณอาจเป็นโรคขาอยู่ไม่สุข ได้เช่นกัน
ตรวจเช็คอาการโรคข้อเข่าเสื่อม
โรคข้อเข่าเสื่อม (Knee Osteoarthritis) นั้นค่อนข้างเป็นภัยเงียบ เพราะอาการจะค่อยเกิดขึ้นทีละเล็กน้อยและลามไปจนปวดมากจนถึงเรื้อรัง หากไม่แน่ใและต้องการตรวจสอบว่าตนเองเป็นโรคเข่าเสื่อมหรือไม่ควรจับจุดสังเกตดังนี้
- ปวดเข่าเรื้อรังโดยเฉพาะข้อเข่า ไม่ว่าจะทำกิจกรรมใดใดเกี่ยวกับเกี่ยวกับเข่าเช่น นั่งไขว่ห้าง นั่งขัดสมาธิ เดินขึ้น-ลงบันไดเป็นต้น ใช้เวลานานกว่าจะหายได้เอง และมีอาการเป็น ๆ หาย ๆ มาต่อเนื่องมากว่า 6 เดือนขึ้นไป
- มีเสียงในข้อเข่า ในขณะทำท่ายืดเข่าหรือเดินมีเสียงเหมือนกระดูกลั่นในข้อเข่ากรอบแกรบ เป็นอาการของข้อเข่าเริ่มสึกหรอและมีการเสียดสีเยื่อบุในข้อเข่า
- ข้อเข่าตึง สังเกตได้ในช่วงเช้าเพิ่งตื่นนอนจะมีอาการเข่าติด ยืดออกได้ลำบาก ต้องใข้เวลาเป้นชั่วโมงจึงจะฟื้นตัวเคลื่อนไหวได้อีกครั้ง
- เสียวหัวเข่าเวลาเดินหรือวิ่ง อาการเกิดขึ้นเราะข้อเข่าหลวม
แต่อาการข้อเข่าเสื่อมนั้นมักจะไม่แสดงอาการออกมาในทันที ระดับความเจ็บปวดและอาการอื่น ๆ จะค่อยทยอยทวีคูณ เราจะรู้ได้อย่างไรว่าการเจ็บปวดแบบไหนควรถึงไปพบแพทย์ ให้คุณพิจารณาอาการของตัวเอง ดังนี้
ระยะของข้อเข่าเสื่อม
- ระยะเริ่มต้น มีอาการปวดข้อเข่าและตึงมีเวลาทำท่าที่ต้องใช้แรงเข่า อย่างเช่น การนั่งขัดสมาธิ งอเข่า นั่งพับเพียบ หรือนั่งไขว่ห้าง และอาการตึงเข่าพี่กล่าวไปเบื้องต้นคือไม่สามารถยืดเข่าได้สุด หรือตื่นนอนมารู้สึกปวดและทรมานเวลายืด
- ระยะกลาง หากคุณมีอาการปวดเข่าไม่หาย หรือเป็น ๆ หาย ๆ เรื้อรังมากกว่า 6 เดือน นี่คือสัญญาณว่าคุณกำลังเป็นโรคเข่าเสื่อม เพราะนอกจากอาการตึงที่สาหัสกว่าครั้งก่อนจนแทบจะยืดไม่ได้ ในเข่าเองก็ยังมีเสียงกรอบแกรบอยู่ข้างใน หัวเข่าบวมขึ้นอย่างได้ชัด กดลงแล้วรู้สึกเจ็บมาก
- ระยะรุนแรง ในระยะนี้อาการปวดจะลุกลามไปยังกระดูกสะบ้า แม้จะไม่ได้ขยับร่างกายเดินแต่จะรู้สึกปวดร้อนบนเข่าตลอดเวลา บางรายขาเกิดคดงอผิดรูปร่างเพราะกระดูกถูกทำลายไปแล้ว
เมื่อเกิดอาการปวดเข่าขึ้นมาให้คุณพึงระวังและสังเกตุอาการของตนเองให้มากที่สุด เพราะไม่ว่าจะวัยหรือเพศใดก็มีโอกาสเป็นโรคนี้ได้ทั้งนั้น เนื่องด้วยสภาวะแวดล้อมที่เปลี่ยนไปทำให้การใช้งานาเข่าที่มากขึ้น หรืออาหารเองก็มีส่วนหลักสำคัญที่ก่อให้เกิดอาการและโรคปวดเข่าที่อาจรุนแรงจนเป็นโรคข้อเข่าเสื่อมได้ มีอีกหนึ่งตัวเลือกที่ป้องกันก็คืออาหารเสริมคอลลาเจนไทป์ทูนั่นเอง ที่ช่วยเสริมสร้างกระดูกอ่อนและข้อต่อกระดูกแข็งแรง ลดอาการปวดเข่าได้ไม่มากก็น้อย
ที่มา
https://sriphat.med.cmu.ac.th/th/knowledge-630
https://www.samitivejchinatown.com/th/health-article/Cool-and-Hot-Pack-for-Knee
https://pubmed.ncbi.nlm.nih.gov/26822714/