• HOME
  • BLOG
  • ABOUT
  • CONTACT
Menu
  • HOME
  • BLOG
  • ABOUT
  • CONTACT
นอนไม่หลับ ภาวะอันตรายที่ต้องรีบแก้ไขอย่างเร่งด่วน
October 8, 2019
โรคภูมิแพ้ เข้าใจ รู้ทัน ป้องกันได้
November 12, 2019
Published by admin on October 8, 2019
Categories
  • Uncategorized
Tags

ออฟฟิศซินโดรม โรคยอดฮิตที่คนทำงานออฟฟิศมักต้องเผชิญ

ปัจจุบันนี้โรค ออฟฟิศซินโดรม เป็นโรคยอดฮิตอีกโรคหนึ่งที่พบได้บ่อยในคนทำงาน โดยเฉพาะในกลุ่มคนทำงานออฟฟิศที่มักต้องนั่งทำงานอยู่หน้าจอเป็นเวลานาน ไหนจะสภาพแวดล้อมในที่ทำงานและความเครียดต่างๆที่ส่งผลให้เป็นโรคนี้กันได้ง่ายมากขึ้น

ออฟฟิศซินโดรม

ออฟฟิศซินโดรม(Office syndrome) คือกลุ่มอาการปวดตามกล้ามเนื้อและเนื้อเยื่อพังผืดที่พบได้บ่อยในคนที่มีลักษณะการทำงานอยู่ในท่าทางเดิมเป็นเวลานาน กล้ามเนื้อบริเวณเดิมถูกใช้ซ้ำๆ ไม่ค่อยได้เคลื่อนไหวมากนัก จึงทำให้มีอาการปวดเกิดขึ้น หากยังไม่ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการทำงาน การปวดจะลุกลามไปยังบริเวณอื่นได้ ชื่อของโรคมีที่มาเพราะว่าโรคนี้พบได้บ่อยในคนที่ทำงานออฟฟิศ เพราะต้องนั่งอยู่หน้าคอมพิวเตอร์นานหลายชั่วโมงต่อวัน แต่ว่าก็พบในคนทำงานประเภทอื่นๆได้เช่นเดียวกัน หากต้องทำงานในท่าทางเดิมนานๆไม่ว่าจะเดิน ยืนหรือแม้กระทั่งการอยู่ในท่าทางที่ผิดหลักการยศาสตร์ เช่น การยืนหลังค่อม การห่อไหล่ การก้มคอมากเกินไป เป็นต้น อาการเริ่มต้นของโรคนี้มักเหมือนๆกันคือเริ่มปวดตามกล้ามเนื้อ แต่ถ้าปล่อยทิ้งไว้อาจจะทำให้ปวดเรื้อรัง หรือชาตามแขนและมือได้ เพราะฉะนั้นถ้ามีอาการผิดปกติ ควรรีบไปพบแพทย์เสีย

ออฟฟิศซินโดรม

 อาการออฟฟิศซินโดรม

โรคออฟฟิศซินโดรมเป็นโรคแบบกลุ่มอาการ เพราะฉะนั้นอาจมีอาการผิดปกติได้หลายอย่างที่ดูเหมือนไม่เกี่ยวข้องกันได้ ดังนี้

  1. ปวดตามกล้ามเนื้อ เป็นอาการที่พบได้มากที่สุด โดยมักจะปวดส่วนใดส่วนหนึ่งของร่างกาย แต่จะปวดแบบกว้างๆ ไม่สามารถบอกได้ว่าปวดตรงไหนกันแน่ เช่น หลัง ไหล่ ต้นคอ สะบัก เป็นต้น บางคนอาจจะปวดร้าวไปยังบริเวณข้างเคียงได้ด้วย ซึ่งระดับของความปวดนั้นมีตั้งแต่ปวดเล็กน้อยแค่พอรำคาญไปจนปวดทรมาณอย่างรุนแรงได้เลยทีเดียว
  2. เจ็บตึงตามอวัยวะ เป็นอาการที่พัฒนามาจากการปวดกล้ามเนื้อเรื้อรัง เพราะกล้ามเนื้อจะเกิดการอักเสบ เส้นเอ็นกดอักเสบหรือกดทับเส้นประสาท ทำให้รู้สึกชาที่แขนตามขาได้
  3. ปวดศีรษะ อาจมีอาการปวดศีรษะคล้ายปวดไมเกรนขึ้นบ่อยครั้ง เกิดจากการจ้องจอคอมพิวเตอร์มากเกินไป ทำให้สายตาทำงานหนัก ข้อนี้ใครที่ติดเล่นโทรศัพท์บ่อยๆจะเข้าใจเพราะอาการจะคล้ายๆกัน บางรายปวดร้าวไปที่ดวงตาด้วย อาจมีอาการตาแห้ง ตาสู้แสงไมได้ แสบตาหรือน้ำตาไหลมากผิดปกติ เกิดขึ้นร่วมด้วย
  4. อาการทางระบบประสาทอัตโนมัติ เช่น ซีด ชา ซ่า ขนลุกหรือวูบเย็นตามบริเวณที่ปวด หากปวดที่ต้นคออาจมีอาการตาพร่ามัว มึนงงหรือหูอื้อร่วมด้วยได้
  5. อาการทางระบบประสาทถูกกดทับ การนั่งนานเกินไปอาจทำให้เส้นประสาทถูกกดทับได้ การเลือดเวียนจะผิดปกติ เพราะฉะนั้นจึงอาจมีอาการชาตามปลายมือปลายเท้าตามมา กล้ามเนื้ออ่อนแรงหรือปวดจี๊ดบริเวณข้อมือได้
  6. นอนไม่หลับ การทำงานในลักษณะนี้ทำให้เกิดความเครียดสูงได้ง่าย เมื่อรวมกับอาการปวดเมื่อยกล้ามเนื้อหรือปวดศีรษะ จึงค่อนข้างรบกวรนการนอนเป็นอย่างมาก
  7. นิ้วล็อค หากจับเมาส์ ใช้แป้นพิมพ์หรือจับโทรศัพท์อยู่ในท่าเดิมนานๆ เส้นเอ็นอาจอักเสบจนหนาตัวขึ้น อาจทำให้ไม่สามารถขยับนิ้วได้ตามปกติ

คุณอาจสนใจบทความนี้ คลิกดู มาทำความรู้จักกับ โรคเครียด

สาเหตุออฟฟิศซินโดรม

  1. การอยู่ในอิริยาบถเดิมนานเกินไป เช่น นั่งทำงานเป็นเวลานานโดยไม่ได้ปรับเปลี่ยนท่านั่งหรือลุกออกไปยืดเส้นยืดสายเพื่อผ่อนคลายกล้ามเนื้อเลย
  2. อยู่ในอิริยาบถที่ไม่ถูกต้องเป็นเวลานาน เช่น นั่งทำงานโดยที่ค่อมหลังหรือเงยหน้ามากเกินไป การยืนหลังค่อม เป็นต้น
  3. การใช้สายตาเพ่งมองจอมากเกินไป เพราะจออุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์เหล่านี้จะมีแสงสีฟ้าที่เมื่อเพ่งนานๆ จะทำให้รู้สึกปวดตาได้ ประกอบกับบางรายอยู่หน้าจอในสภาวะที่ความสว่างไม่เหมาะสม อาจจะสว่างมากไปหรือน้อยเกินไป ก็กระตุ้นให้ปวดตาได้ ซึ่งอาในข้อนี้ไม่ได้เป็นกับคนทำงานเพียงอย่างเดียว แต่สามารถเป็นได้กับคนทุกวันที่ติดโทรศัพท์และชอบใช้โทรศัพท์ในเวลานอน
  4. เครียด จากการทำงานหนักเกินไป ทำให้ผักผ่อนน้อย รู้สึกกดดันจากที่ทำงาน เครียด เหนื่อยล้า ความกังวลสูง กระตุ้นให้ปวดศีรษะได้

ออฟฟิศซินโดรม-office

การป้องกันและรักษาโรคออฟฟิศซินโดรม

โรคออฟฟิศซินโดรมไมได้ใช่โรคร้ายแรงอะไรมากนัก เพราะฉะนั้นส่วนใหญ่สามารถดูแลตัวเองให้ดีขึ้นได้โดยไม่ต้องไปพบแพทย์เลย เพียงแค่ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการทำงานของตัวเองเท่านั้น เพราะฉะนั้นหากใครกำลังกังวลว่าตัวเองป่วยเป็นโรคนี้อยู่หรือเปล่า ก็ลองทำตามคำแนะนำดูดังนี้

  1. พักเมื่อล้า หากเริ่มทำงานหนักมากไปจนรู้สึกปวดเมื่อยตามร่างกาย ควรลุกไปยืดเส้นยืดสายบ้าง กล้ามเนื้อจะได้ผ่อนคลายมากขึ้น หากไม่อยากลุกไปไหนก็ยืดเหยียดกล้ามเนื้ออยู่บนเก้าอี้ตัวเองก็ได้ พยายามให้ร่างกายได้เคลื่อนไหวอยู่เรื่อยๆ จะช่วยความเสี่ยงในการเป็นโรคออฟฟิศซินโดรมได้
  2. ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ การออกกำลังกายจะช่วยเสริมสร้างความแข็งให้กับกล้ามเนื้อ เส้นเอ็นและกระดูก สำหรับคนที่กังวลว่าจะป่วยเป็นโรคออฟฟิศซินโดรม แนะนำให้ออกกำลังกายที่ช่วยให้กล้ามเนื้อแกนกลางลำตัวแข็งแรง เช่น โยคะ พิลาทิส หรือการเวทเทรนนิ่ง เป็นต้น นอกจากจะทำให้ร่างกายแข็งแรงมากขึ้นแล้ว รูปร่างก็จะดูเฟิร์มกระชับขึ้น ระบบไหลเวียนโลหิตไหลเวียนดี ฮอร์โมนแห่งความสุขถูกหลั่งเยอะขึ้น ช่วยผ่อนคลายความเครียดได้
  3. จัดสภาพแวดล้อมการทำงานให้เหมาะสม เช่น แสงสว่างต้องเพียงพอ โต๊ะและเก้าอี้ทำงานต้องมีความสูงที่เหมาะสม จอคอมพิวเตอร์ต้องมีองศาที่พอดีกับระดับสายตา เป็นต้น
  4. จัดท่าทางของร่างกายให้เหมาะสม เวลานั่งทำงานต้องนั่งหลังตรง ตัวตรง ไม่เอนไปด้านหน้าหรือหลังมากจนเกินไป ดวงตากับหน้าจอต้องอยู่ห่างกันราวๆ 1 ฟุต องศาจอต้องพอดี คอจะได้ไม่แหงนหรือก้มจนเกินไป ส่วนเวลายืนอย่ายืนค่อมหลังหรือห่อไหล่ พยายามยืนให้อกผายไหล่ผึ่ง นอกจากจะช่วยให้มีบุคลิกที่ดีแล้วยังป้องกันโรคออฟฟิศซินโดรมได้ด้วย
  5. จัดสมดุลชีวิตการทำงาน อย่าโหมทำงานหนักมากเกินไป พยายามจัดสรรเวลาการทำงานและการพักผ่อนให้พอดีกัน ช่วยให้ไม่เครียดกับการทำงานมากเกินควร หากมีเวลาว่างลองหาโอกาสไปพักผ่อนบ้าง ช่วยผ่อนคลายความตึงเครียดและเติมพลังให้ชีวิตได้

คุณอาจสนใจบทความนี้ คลิก ปวดหัวไมเกรน

     โรคออฟฟิศซินโดรมที่กลุ่มอาการที่ไม่อันตรายแต่อย่างใด แต่ค่อนข้างสร้างความรำคาญ ยิ่งหากปล่อยให้มีอาการเรื้อรัง อาจทำให้รู้สึกปวดตามกล้ามเนื้อมากขึ้นจนส่งผลต่อการเคลื่อนไหวได้ หากไม่อยากเผชิญกับโรคนี้สามารถป้องกันได้ง่ายๆเพียงแค่ทำตามคำแนะนำข้างต้น ส่วนใครที่เริ่มมีอาการแล้วเล็กน้อยถ้าทำตามก็จะช่วยบรรเทาอาการให้ดีขึ้นได้เช่นเดียวกัน แต่ถ้าอาการค่อนข้างหนัก รบกวนการใช้ชีวิตประจำวัน แนะนำให้ไปพบแพทย์เพื่อทำการรักษาอย่างถูกต้องเหมาะสมต่อไป

Share
0
admin
admin

Related posts

November 12, 2019

โรคริดสีดวงทวาร ภัยสุขภาพใกล้ตัว รักษาได้ ไม่ต้องทรมาน


Read more
November 12, 2019

โรคไทรอยด์ รู้จักไว้ ปลอดภัยกว่า


Read more
November 12, 2019

กรดไหลย้อน ภัยสุขภาพคุกคามคุณภาพชีวิต


Read more

ATLANTICCANADA

Atlantic Canada Healthcare คลังข้อมูลป้องกันโรค รู้ทันโรคใหม่ ๆ ทุกวัน พร้อมวิธีตรวจเช็คอาการเบื้องต้น มีประสิทธิภาพมากที่สุด ประหยัดที่สุด ทันเวลาในการตัดสินใจไปพบแพทย์เพื่อคำแนะนำและการรักษาที่ดีที่สุด

Recent Posts

คัดจมูกแก้ยังไง

คัดจมูกแก้ยังไง ? รวม 10 วิธีรักษาและป้องกันอาการเบื้องต้น

โรคไส้เลื่อนอาการ

โรคไส้เลื่อนอาการ เป็นอย่างไร? รักษาได้หรือไม่ 

มะเร็งเต้านมลักษณะก้อนเนื้อมะเร็ง

มะเร็งเต้านมลักษณะก้อนเนื้อมะเร็ง แตกต่างจากซีตส์อย่างไร

คัดจมูกแก้ยังไง

คัดจมูกแก้ยังไง ? รวม 10 วิธีรักษาและป้องกันอาการเบื้องต้น

โรคไส้เลื่อนอาการ

โรคไส้เลื่อนอาการ เป็นอย่างไร? รักษาได้หรือไม่ 

มะเร็งเต้านมลักษณะก้อนเนื้อมะเร็ง

มะเร็งเต้านมลักษณะก้อนเนื้อมะเร็ง แตกต่างจากซีตส์อย่างไร

Copyright © 2020 atlanticcanadahealthcare.com

  • Terms and Conditions
  • Privacy Policy