• HOME
  • BLOG
  • ABOUT
  • CONTACT
Menu
  • HOME
  • BLOG
  • ABOUT
  • CONTACT
โรคไข้เลือดออก สาเหตุและอาการ มหันตภัยร้ายที่มากับหน้าฝน
September 27, 2019
มาทำความรู้จักกับ “โรคเครียด” อาการ พร้อมแนวทางการรับมืออย่างถูกต้องเมื่อมีอาการเครียด
October 8, 2019
Published by admin on September 27, 2019
Categories
  • Uncategorized
Tags

โรคอัลไซเมอร์

โรคอัลไซเมอร์ เป็นโรคทางสมองที่ทำให้สูญเสียความทรงจำ ความสามารถทางสติปัญญาลดลงตามระยะของโรค ซึ่งเมื่อโรคพัฒนาไปจนถึงระยะรุนแรง จะส่งผลกระทบอย่างร้ายแรงต่อคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยมากแถมยังดูแลยาก ทำให้ผู้ดูแลเกิดภาวะเครียดตามไปด้วยได้ แต่ก่อนส่วนใหญ่โรคนี้มักจะพบในผู้สูงอายุ แต่ปัจจุบันนี้เริ่มพบในผู้ป่วยที่อายุน้อยลงแล้ว เพราะฉะนั้นจึงเป็นโรคที่ควรตระหนักและทำความเข้าใจกับโรคให้มาก จะได้ลดความเสี่ยงในการป่วยได้หรือถ้ามีสมาชิกในครอบครัวป่วยเป็นโรคนี้ก็จะทำให้รับมือได้ดียิ่งขึ้นเช่นเดียวกัน บทความ -โรคอัลไซเมอร์กับโรคสมองเสื่อม

โรคอัลไซเมอร์

  • โรคอัลไซเมอร์ (Alzheimer’s Disease) โรคทางสมองที่พบได้บ่อยโรคหนึ่ง เกิดจากความเสื่อมถอยในเรื่องการทำงานของสมองหรือเนื้อเยื่อของสมอง มีผลต่อความคิด ความจำและความสามารถทางสมองมาก พบมากในผู้สูงอายุแต่ไม่จำเป็นต้องเป็นกันทุกคน อย่างไรก็ตามมันไม่ใช่ความเสื่อมจากธรรมชาติ แต่เกิดจากโปรตีนชนิดหนึ่งที่ชื่อว่า เบต้า-อะไมลอยด์ โปรตีนไม่ละลายน้ำที่เมื่อไปเกาะกับสมอง ก็จะทำให้เซลล์สมองส่วนที่ถูกเกาะฝ่อลงไป ดังนั้นการสื่อสารของเซลล์สมองจึงเสียหายตามไปด้วยเนื่องจาก อะซีติลโคลีน หรือสารสื่อประสาทมีปริมาณลดลง เพราะฉะนั้นความจำจึงแย่ลงเรื่อยๆ สำหรับผู้ป่วยอัลไซเมอร์ในประเทศไทย ปี 2558 มีตัวเลขอยู่ที่ 600,000 คนโดยประมาณ ปัจจุบันนี้มีแนวโน้มพบมากขึ้นเรื่อย
  •  เมื่อเบต้า-อะไมลอยด์สะสมมากขึ้น เซลล์สมองยิ่งถูกทำลายหนัก ประสิทธิการคิดวิเคราะห์และการจดจำจะยิ่งลดลงเรื่อยๆ ในระยะแรกอาจมีการหลงลืมเล็กน้อย แต่ยังสามารถช่วยเหลือตัวเองได้ แต่เมื่อความเสียหายเกิดกับสมองมากยิ่งขึ้นผู้ป่วยจะจำอะไรไม่ได้เลย การเรียนรู้ การสนทนาจะมีปัญหา บางรายไม่สามารถช่วยเหลือตัวเองได้ ตอบโต้การสนทนาหรือสิ่งเร้ารอบข้างไมได้ ซึ่งมันส่งผลกระทบต่อการใช้ชีวิตประจำวันของผู้ป่วยอย่างร้ายแรง

โรคอัลไซเมอร์กับโรคสมองเสื่อม โรคที่ต้องรับมือตั้งแต่เนิ่นๆ

 

โรคอัลไซเมอร์กับโรคสมองเสื่อม

โรคอัลไซเมอร์กับโรคสมองเสื่อม โรค 2 โรคนี้มีความแตกต่างกันพอสมควร ซึ่งหลายๆคนอาจเข้าใจไปว่ามันคือโรคเดียวกัน จริงๆแล้วมันต่างกัน หากญาติเข้าใจในความแตกต่างนี้ก็จะเข้าใจในการวินิจฉัยของแพทย์ได้มากขึ้น โรคสมองเสื่อมคือ ภาวะสมองเสื่อมกลุ่มอาการผิดปกติที่เกิดจากการเสื่อมของสมอง สามารถแบ่งเป็นประเภทใหญ่ๆได้ 2 ประเภทคือ

  1. โรคสมองเสื่อมที่รักษาหายขาดได้ โดยพบร้อยละ 20 ของผู้ป่วยโรคสมองเสื่อมทั้งหมด สาเหตุมักเกิดจากการเจ็บป่วยทางกาย เช่น หลอดเลือดสมองตีบตัน เนื้องอกในสมอง เลือดออกในสมอง เป็นต้น
  2. โรคสมองเสื่อมที่รักษาไม่หายขาด พบได้ร้อย 80 ของผู้ป่วยโรคสมองเสื่อมทั้งหมด และกว่าร้อยละ 50 ของผู้ป่วยโรคสมองเสื่อมประเภทนี้มีสาเหตุมาจากโรคอัลไซเมอร์

สรุปคือโรคอัลไซเมอร์เป็นสาเห ตุที่พบได้บ่อยที่สุดของการเป็นโรคสมองเสื่อม ส่วนปัจจัยที่เพิ่มโอกาสในการป่วยเป็นโรคไซเมอร์ก็คืออายุนั่นเอง ยิ่งอายุมากโอกาสเป็นโรคนี้ก็ยิ่งมากขึ้น เพราะในปัจจุบันผู้ที่มีอายุ 65 ปีขึ้นไป มีอัตราการป่วยอยู่ที่ร้อยละ 5 จากนั้นเขยิบมาเป็นร้อยละ 15 ในช่วงอายุ 75 ปีขึ้นไป และเพิ่มอัตราการป่วยเป็นร้อยละ 40 หากมีอายุ 85 ปีขึ้นไป เพราะฉะนั้นตอนนี้จึงไม่แปลกใจเลยว่าทำไมผู้ป่วยโรคอัลไซเมอร์จึงมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น นั่นก็เพราะว่าคนเรามีอายุยืนยาวขึ้นนั่นเอง 

คุณอาจสนใจบทความนี้ คลิกดู โรคไต 

 

อัลไซเมอร์ อาการ

คนส่วนใหญ่จะคุ้ยเคยอาจคิดว่าอัลไซเมอร์จะมีแค่อาการหลงลืมอย่างเดียว แต่ว่าโรคนี้มันร้ายแรงกว่านั้นมาก ในระยะแรกผู้ป่วยจะแค่หลงลืมเล็กๆน้อยๆ สูญเสียความจำในระยะสั้นแต่ยังพอสามารถดูแลตัวเองได้ แต่เมื่ออายุมากขึ้น ผู้ป่วยส่วนใหญ่มักมีอาการทางจิตเวชร่วมด้วย ทำให้การดูแลผู้ป่วยเป็นไปได้อย่างลำบากมากขึ้น อาการโดยทั่วไปของโรคอัลไซเมอร์แบ่งเป็น 3 ระยะ ดังนี้

  • ระยะแรก ผู้ป่วยจะมีอาการความทรงจำถดถอย ลืมเรื่องราวที่เกิดขึ้นในระยะสั้นๆ เช่น เช้านี้ทานข้าวกับอะไร ลืมไปว่าทานข้าวแล้ว ลืมไปว่าให้อาหารสัตว์เลี้ยงแล้ว ไม่สามารถจำบทสนทนาหรือเหตุการณ์ที่เพิ่งเกิดขึ้นได้ ใช้เวลาในการทำกิจวัตรประจำวันนานมากขึ้น เป็นต้น อาการเหล่านี้จะทำให้ผู้ชอบถามหรือทำอะไรๆซ้ำเพราะจำไม่ได้ว่าทำไปแล้ว นอกจากนี้ยังมีอาการสับสนทิศทาง เครียด หงุดหงิดง่ายขึ้น อาจมีอาการทางจิตเวชร่วมด้วยแต่ไม่มาก ยังพอทำกิจวัตรประจำได้ ผู้ดูแลยังดูแลได้เกือบเท่าในยามที่ยังไม่ป่วย
  • ระยะกลาง ความจำจะแย่มากขึ้น บางคนเดินออกจากบ้านแบบไม่มีจุดหมาย จำชื่อคนรู้จักไม่ได้ เกิดความรู้สึกสับสนในเรื่องการรับรู้เวลาหรือสถานที่ เรียนรู้สิ่งใหม่ๆไม่ได้ การสื่อสารเริ่มมีปัญหา นอนหลับยาก นิสัยและพฤติกรรมเปลี่ยนไป เช่น หากเคยเป็นคนใจเย็นมาก่อน จะกลายเป็นคนก้าวร้าว อารมณ์รุนแรง พูดจาหยาบคาย ฉุนเฉียวง่าย แต่ถ้าเป็นคนใจร้อนขี้โมโหมาก่อน อาจเงียบขรึมลง พูดน้อยลง เป็นต้น เริ่มมีปัญหากับการทำกิจวัตรประจำวันแบบง่ายๆ เช่น ไม่สามารถล้างจาน ชงกาแฟหรือใช้รีโมททีวีได้ เริ่มมีความคิดที่ผิดเพี้ยนไปจากความจริงหรือประสาทหลอน เช่น คิดว่าจะมีคนมาทำร้าย คิดว่ามีคนคอยนินทาว่าร้าย เป็นต้น ถ้าป่วยในระยะนี้ ผู้ป่วยเริ่มช่วยเหลือตัวเองไม่ได้ มีปัญหาเรื่องการเข้าสังคมและดูแลได้ยากขึ้น
  • ระยะสุดท้าย เซลล์สมองจะเสื่อมเป็นวงกว้าง อาการโดยรวมจะแย่ลงทุกด้าน มีปัญหาเรื่องความทรงจำอย่างร้ายแรง อาการประสาทหลอนจะรุนแรงมากขึ้น ผู้ป่วยจะตอบสนองกับสิ่งรอบตัวน้อยลงหรือไม่ตอบสนองเลย แต่บางครั้งอาจก้าวร้าวหรืออาละวาดเพื่อเรียกร้องความสนใจจากคนรอบข้างได้ เคลื่อนไหวช้าหรือไม่เคลื่อนไหวเลย จึงดูคล้ายกับผู้ป่วยติดเตียงมาก ทานอาหารได้น้อย พูดน้อยมาก ช่วยเหลือตัวเองไม่ได้ น้ำหนักลด กลั้นปัสสาวะและอุจจาระไมได้ สุขภาพร่างกายทรุดโทรม ภูมิต้านทานต่ำลง เจ็บป่วยได้ง่ายขึ้น หากภูมิตกมากๆอาจจะทำให้ติดเชื้อและเสียชีวิตในที่สุด ซึ่งกว่าโรคจะพัฒนามาถึงระยะนี้จะใช้เวลาราว 8-10 ปี

อาการของโรคอัลไซเมอร์สามารถแย่ลงแบบกะทันหันได้ หากมีการติดเชื้อ การทานยารักษาโรคหรือป่วยเป็นโรคหลอดเลือดสมอง เพราะฉะนั้นหากตัวผู้ป่วยยังพอสังเกตตัวเองได้บ้าง ถ้ารู้สึกว่าจู่ๆอาการก็แย่ลง แนะนำให้รีบบอกผู้ดูแล จะได้รีบไปพบแพทย์

 

5 วิธียืดอายุสมอง เลี่ยงอัลไซเมอร์

เนื่องจากปัจจุบันยังไม่ทราบกลไกการเป็นโรคอัลไซเมอร์ได้อย่างแน่ชัด เพราะฉะนั้นจึงไม่สามารถป้องกันได้โดยตรง แต่สามารถยืดอายุสมองและลดความเสี่ยงในการเป็นโรคอัลไซเมอร์ลงได้ ด้วยวิธีการเหล่านี้

  1. ลับสมองอยู่เสมอ นั่นก็คือฝึกสมองให้คิดวิเคราะห์บ่อยๆ เช่น คิดเลขเร็ว เล่นเกมที่ต้องมีการวางแผน อ่านหนังสือบ่อยๆ เขียนหนังสือบ่อย ลองใช้อุปกรณ์ชนิดใหม่ๆ เป็นต้น ทั้งนี้ต้องพยายามไม่ใช้อุปกรณ์อำนวยความสะดวกแทนการใช้สมองคิดวิเคราะห์ การเรียนรู้ด้วยตัวเองเป็นวิธีที่ดีมากในการพัฒนาสมอง
  2. หลีกเลี่ยงสารเคมีและสารเสพติด เช่น งดทานยาโดยไม่จำเป็น งดดื่มเหล้าสูบบุหรี่หรือเสพสิ่งเสพติดประเภทอื่นๆ นอกจากนี้อย่าลืมใส่ใจความสะอาดจากพวกสารตกค้างในอาหารสดด้วย
  3. ดูแลสุขภาพอย่างเหมาะสม ทานอาหารให้ครบ 5 หมู่ โดยทานในสัดส่วนที่พอเหมาะ สารอาหารบางประเภทช่วยบำรุงสมองได้ดี เช่น โอเมก้า 3 วิตามินบีรวม โคลีน เป็นต้น เพราะฉะนั้นอย่าลืมอาหารที่มีสารอาหารในกลุ่มนี้ด้วย ดื่มน้ำให้มากๆ ออกกำลังกายอยู่เสมอ นอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ อย่าลืมตรวจสุขภาพประจำปีกันด้วย เพราะโรคบางโรคก็ทำให้เซลล์สมองถูกทำลายได้ การดูแลตัวเองให้สุขภาพดีแบบองค์รวมจะช่วยลดความเสี่ยงในการเป็นอัลไซเมอร์ลงได้มาก
  4. ฝึกสมาธิ จะช่วยให้จิตใจสงบ มีความตั้งใจในการทำสิ่งต่างมากขึ้น หากมีสมาธิดี ความจำมักจะดีตามมาด้วย
  5. มองโลกในแง่บวก โดยมองโลกด้วยความเป็นกลาง จะช่วยให้เข้าใจและรับรู้ความเป็นไปของโลกได้ตามความจริง ทำให้สามารถรับมือกับเรื่องแย่ๆในชีวิตได้โดยไม่อมทุกข์นานนัก คนเราถ้ามีความเครียดน้อย อารมณ์ดี มีความคิดสร้างสรรค์อยู่เสมอ เซลล์สมองย่อมไม่ถูกทำลายไปง่ายๆแน่นอน

คุณอาจสนใจบทความนี้ คลิก โรคเครียด

โรคอัลไซเมอร์กับโรคสมองเสื่อม โรคที่ต้องรับมือตั้งแต่เนิ่นๆ

อัลไซเมอร์ พันทิป

พันทิปเป็นบอร์ดสาธารณะที่มีคนมาตั้งกระทู้มากมายเกี่ยวกับโรคอัลไซเมอร์ แต่ส่วนใหญ่แล้วจะเป็นกระทู้ที่มาจากผู้ดูแลมากกว่า โดยเฉพาะการรับมือกับผู้ป่วยอัลไซเมอร์อย่างไรให้สามารถอยู่ร่วมกันได้อย่างมีความสุข เช่น

กระทู้ที่ 1 อยู่กับผู้ป่วยอัลไซเมอร์อย่างไรให้มีความสุข แนะนำหน่อยค่ะ

  • เนื้อหากระทู้ไม่ได้มีอะไรมาก เพราะเจ้าของกระทู้แค่มาถามถึงวิธีการปรับตัวเพื่ออยู่ร่วมกับผู้ป่วยเท่านั้น แต่ว่ามีการแสดงความคิดที่น่าสนใจอยู่ซึ่งก็คือความคิดเห็นที่ 3 เจ้าของความเห็นเล่าว่าเธอมีพ่อที่ป่วยโรคอัลไซเมอร์อยู่แต่ยังพอช่วยเหลือตัวเองในกิจวัตรประจำวันทั่วไปได้ มีอาการหลงลืมและถามซ้ำๆเหมือนผู้ป่วยทั่วไป ก้าวร้าวและทะเลาะกับสมาชิกในบ้านบ้างช่วงบ่าย-ค่ำ จำชื่อลูกหลานไมได้ยกเว้นชื่อเจ้าของความเห็นคนเดียว เธอบอกว่าพยายามสังเกตและเรียนรู้พฤติกรรมของพ่อ เข้าใจในสิ่งที่พ่อเป็น ฝึกตัวเองให้มีความอดทนต่ออาการหลงลืมหรือความก้าวร้าวของพ่อให้ได้ หลายครั้งต้องเป็นผู้ไกล่เกลี่ยเวลาพ่อทะเลาะกับสมาชิกคนอื่นในบ้าน พูดคุยและแสดงความรักกับพ่ออยู่เสมอ บางครั้งเธอใช้วิธีมองย้อนตอนตัวเองเป็นเด็ก กำลังเรียนรู้ งอแง พูดไม่รู้เรื่อง พ่อยังดูแลเธอได้ ในขณะนี้พ่อมีอาการแบบนี้บ้างเธอจะดูพ่อไม่ได้เชียวหรือ สรุปได้ว่าเน้นดูแลเอาใส่อย่างใกล้ชิด พยายามเข้าใจและปรับตัวให้ใช้ชีวิตร่วมกับพ่อได้อย่างมีความสุข (ขอขอบคุณ LoginName: Pathfinder Columbus และ Friendlymint)

กระทู้ที่ 2 ถามเกี่ยวกับคนที่ป่วยเป็นโรคอัลไซเมอร์

  • เจ้าของกระทู้มาถามว่าคนรู้จักเป็นโรคอัลไซเมอร์ เดินวันหนึ่งหลายรอบ ถามคำถามเดิมซ้ำหลายหน กลางคืนก็ปลุกคนอื่นมาถามซึ่งมันรบกวนเวลาพักผ่อนของคนรอบข้างมาก มีวิธีการรักษาหรือพัฒนาให้อาการดีขึ้นบ้างหรือไม่ ถ้ามีต้องไปบำบัดรักษาที่ไหนจึงจะช่วยรักษาหรือชะลออาการได้ สำหรับความคิดที่ดีที่สุดความเห็นแรกนั้นแนะนำให้ไปโรงพยาบาลเพื่อตรวจสอบว่าเป็นอัลไซเมอร์จริงๆหรือว่าแค่สมองเสื่อมตามอายุ เพราะหากเป็นกรณีหลังสามารถฟื้นฟูประสิทธิภาพของสมองได้หากรักษาอย่างถูกวิธี พร้อมทั้งแนะนำวิธีการดูแลผู้ป่วยคือ พยายามอย่าปล่อยให้ผู้ป่วยอยู่คนเดียว อย่าให้เครียด พาไปทำกิจกรรมนอกบ้านหรือไปเยี่ยมลูกหลานบ่อยๆ หากิจกรรมมาทำร่วมกัน พูดคุยกันอย่างสม่ำเสมอหรือถามถึงเรื่องเก่าๆบ้างก็ได้ การกระตุ้นด้วยรูป รส กลิ่น เสียงจะช่วยให้สมองเสื่อมถอยช้าลง นอกจากนี้เขายังแชร์เรื่องราวที่น่าสนใจอย่างอื่นเพราะว่าพ่อของเจ้าของความเห็นนั้นป่วยเป็นโรคอัลไซเมอร์ส่วนแม่ป่วยเป็นโรคสมองเสื่อม ซึ่งเป็นความคิดเห็นที่น่าสนใจและมีประโยชน์มากๆ ใครที่ต้องการแนวทางดีๆเพื่อรับมือกับผู้ป่วยอัลไซเมอร์แนะนำให้อ่านกระทู้นี้ค่ะ (ขอขอบคุณ LoginName : ragosto123 และ สมาชิกหมายเลข 790599)

 

สรุปได้ว่าโรคอัลไซเมอร์เป็นโรคที่ส่งผลกระทบร้ายแรงทั้งต่อตัวผู้ป่วยเองและผู้ดูแล การป้องกันไม่สามารถทำได้เนื่องจากยังไม่ทราบว่ามีกลไกการเกิดอย่างไร แต่สามารถลดความเสี่ยงในการเป็นโรคได้หากดูแลสุขภาพสมองให้ดีอยู่เสมอ ส่วนใครที่มีสมาชิกในบ้านป่วยเป็นอัลไซเมอร์ การรับมือที่ดีที่สุดคือต้องปรับที่ตัวเราเอง พยายามเข้าใจและอดทนกับผู้ป่วยให้มากขึ้น หมั่นหากิจกรรมทำร่วมกับผู้ป่วย พูดคุยและพาออกไปพบโลกภายนอกบ้าง ดูแลเอาใจใส่และแสดงความรักอย่างใกล้ชิด หากสมองผู้ป่วยถูกกระตุ้นให้ทำงานอยู่เสมอ อาการอาจกลับมาดีขึ้นได้บ้างหรืออย่างน้อยก็ช่วยชะลอความรุนแรงของโรคค่ะ สำหรับใครที่ต้องการอ่านประสบการณ์ในการดูแลผู้ป่วยโรคอัลไซเมอร์ ในบอร์ดพันทิปมีให้เลือกอ่านหลายกระทู้มาก หลายๆความคิดเห็นน่าสนใจและสามารถนำไปปรับใช้ได้ เพราะฉะนั้นใครที่ต้องดูแลผู้ป่วยแนะนำให้ไปอ่านค่ะ รับรองว่าได้ประโยชน์กลับมาอย่างแน่นอน 

อ่านข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ รู้จักกับโรคอัลไซเมอร์

Share
0
admin
admin

Related posts

November 12, 2019

โรคริดสีดวงทวาร ภัยสุขภาพใกล้ตัว รักษาได้ ไม่ต้องทรมาน


Read more
November 12, 2019

โรคไทรอยด์ รู้จักไว้ ปลอดภัยกว่า


Read more
November 12, 2019

กรดไหลย้อน ภัยสุขภาพคุกคามคุณภาพชีวิต


Read more

ATLANTICCANADA

Atlantic Canada Healthcare คลังข้อมูลป้องกันโรค รู้ทันโรคใหม่ ๆ ทุกวัน พร้อมวิธีตรวจเช็คอาการเบื้องต้น มีประสิทธิภาพมากที่สุด ประหยัดที่สุด ทันเวลาในการตัดสินใจไปพบแพทย์เพื่อคำแนะนำและการรักษาที่ดีที่สุด

Recent Posts

ตุ่มใสที่นิ้วมือคัน

ตุ่มใสที่นิ้วมือคัน อันตรายหรือไม่? บ่งบอกถึงโรคอะไรได้บ้าง

โรคขาอยู่ไม่สุข

โรคขาอยู่ไม่สุข กลุ่มอาการที่ทำให้เสียบุคลิกภาพ

คัดจมูกแก้ยังไง

คัดจมูกแก้ยังไง ? รวม 10 วิธีรักษาและป้องกันอาการเบื้องต้น

ตุ่มใสที่นิ้วมือคัน

ตุ่มใสที่นิ้วมือคัน อันตรายหรือไม่? บ่งบอกถึงโรคอะไรได้บ้าง

โรคขาอยู่ไม่สุข

โรคขาอยู่ไม่สุข กลุ่มอาการที่ทำให้เสียบุคลิกภาพ

คัดจมูกแก้ยังไง

คัดจมูกแก้ยังไง ? รวม 10 วิธีรักษาและป้องกันอาการเบื้องต้น

Copyright © 2020 atlanticcanadahealthcare.com

  • Terms and Conditions
  • Privacy Policy