• HOME
  • BLOG
  • ABOUT
  • CONTACT
Menu
  • HOME
  • BLOG
  • ABOUT
  • CONTACT
โรคมือเท้าปาก โรคระบาดพบบ่อยในเด็กที่มาพร้อมกับฤดูฝน
September 27, 2019
โรคซิฟิลิส โรคร้ายอันตราย ที่ติดต่อได้ง่ายเพียงแค่สัมผัสแผล
September 27, 2019
Published by admin on September 27, 2019
Categories
  • Uncategorized
Tags

ช่วงหลังมานี้เชื่อว่าหลายคนคงได้ยินข่าวเกี่ยวกับ โรคซึมเศร้า กันมาบ้าง โดยเฉพาะการฆ่าตัวตายที่มีสาเหตุมาจากโรคซึมเศร้า ยังมีคนอีกมากมายที่ไม่เข้าใจว่ามันร้ายแรงอย่างไร ถึงขนาดทำให้มีคนเสียชีวิตเพราะโรคนี้ได้ บางคนเข้าใจไปว่าแกล้งทำหรือเรียกร้องความสนใจก็มี เพราะฉะนั้นจึงอยากให้ทุกคนเข้าใจโรคซึมเศร้ากันให้มากขึ้น เพราะมันจะมีประโยชน์มากๆหากตัวเองหรือคนใกล้ชิดเกิดป่วยขึ้น อย่างน้อยก็จะช่วยให้สังเกตถึงความผิดปกติของตัวเองได้และรับมือกับโรคได้อย่างถูกต้องเหมาะสม

โรคซึมเศร้า

โรคซึมเศร้า (Depression) เป็นโรคทางจิตเวชประเภทหนึ่งที่ผู้ป่วยจะมีความผิดปกติทางอารมณ์ ทำให้รู้สึกสิ้นหวัง เศร้าซึมหรือมองตัวเองว่าไร้ค่า อารมณ์เหล่านี้จริงๆแล้วสามารถเกิดขึ้นได้กับทุกคน แต่ในคนปกติมันจะค่อยๆดีขึ้นเองตามระยะเวลาและเกิดเป็นครั้งคราวเท่านั้น ต่างจากผู้ป่วยที่จะประสบกับภาวะนี้อย่างยาวนานและรุนแรง ซึ่งมันส่งผลกระทบต่อการใช้ชีวิตได้ โรคซึมเศร้านั้นเกิดได้กับคนทุกเพศทุกวัย โดยมักจะเริ่มพบช่วงอายุ 20-30 ปี ส่วนใหญ่แล้วโรคจะเริ่มพัฒนามาตั้งแต่ยังเป็นวัยรุ่นเพราะเป็นช่วงที่ต้องเผชิญกับความเครียดและวิตกกังวลสูง

คุณอาจสนใจบทความนี้ คลิกดูได้เลย นอนไม่หลับ ภาวะอันตรายที่ต้องรีบแก้ไข

         จากสถิติจำนวนผู้ป่วยโรคนี้มีมากถึง 350 ล้านคนทั่วโลกและมีแนวโน้มว่าจะพบมากขึ้นเรื่อยๆ สำหรับประเทศไทยเองมีผู้ป่วยที่ได้รับการวินิจฉัยแล้วว่าเป็นโรคซึมเศร้า 500,000 คนและมีแนวโน้มว่าจะเป็นอีก 6 ล้าน โรคนี้สามารถแบ่งได้ 2 ประใหญ่ๆคือ

  1. โรคซึมเศร้าชนิดรุนแรง เป็นภาวะซึมเศร้าอย่างหนักที่ส่งผลกระทบต่อการใช้ชีวิตอย่างรุนแรง
  2. โรคซึมเศร้าเรื้อรัง อาการโดยทั่วไปจะไม่หนักเหมือนโรคซึมเศร้าประเภทแรก แต่ว่าจะมีอาการป่วยนานกว่า อย่างน้อย 2 ปีขึ้นไป อย่างไรก็ตามถึงแม้จะป่วยแบบเรื้อรัง แต่ก็มีโอกาสมีอาการแบบรุนแรงได้ในบางช่วงเวลา

โรคซึมเศร้า โรคที่พบมากในตอนนี้ ทุกคนควรศึกษาและเช็คตัวเอง

โรคซึมเศร้า อาการ

ผู้ป่วยโรคซึมเศร้าแต่ละรายจะปรากฏการมากน้อยแตกต่างกันไปตามความรุนแรงของโรค แต่โดยทั่วไปแล้วจะมีอาการซึมเศร้า วิตกกังวล หดหู่ รู้สึกว่าตัวเองไร้ค่าช่วยเหลือตัวเองไม่ได้ ปลีกตัวออกจากสังคม เป็นต้น ซึ่งอาการเหล่านี้จะรุนแรงและยาวนาน มันจึงส่งผลกระทบต่อการใช้ชีวิตในทุกๆด้านไม่ว่าจะการเรียน การทำงาน หรือการดำรงชีวิตประจำวันทั่วไป ผู้ป่วยจะรู้สึกเหนื่อยล้าตลอดเวลา นอนหลับยาก แต่บางรายก็หลับมากกว่าปกติ ทานอาหารได้น้อยหรือทานได้มากกว่าปกติ ประสิทธิภาพการคิดวิเคราะห์แย่ลง ไม่มีสมาธิ เรียนไม่รู้เรื่อง ทำงานไมได้ เจ็บปวดตามร่างกาย หมดความรู้สึกอยากทำในกิจกรรมที่ตัวเองชอบ แยกตัวจากสังคม บางคนอาจมีอาการทำร้ายตัวเอง ในรายที่มีอาการรุนแรงมากๆอาจฆ่าตัวตายได้ อย่างที่บอกว่าโรคนี้มีแนวโน้มพบมากขึ้น เพราะฉะนั้นหากศึกษาข้อมูลเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงที่สำคัญของผู้ป่วยเอาไว้ก็จะช่วยให้นำไปสังเกตคนรอบข้างรายอื่นๆได้ ดังนี้

  • อารมณ์เปลี่ยนแปลง โดยส่วนใหญ่แล้วจะพบอาการหดหู่ เศร้าซึม อ่อนไหวง่าย สะเทือนใจและร้องไห้ง่ายกับเรื่องเล็กๆ ซึ่งบางคนอาจแสดงอาการออกมาให้เห็นอย่างชัดเจน แต่บางคนก็ไม่ เพราะอาจแค่รู้สึกอารมณ์หม่นหมองอยู่ตลอดเวลา ไม่สดใสเหมือนเก่าหรือเบื่อหน่ายกับทุกสิ่งอย่างในชีวิตแม้แต่กิจกรรมที่เคยชอบมาก่อนก็ตาม ทั้งนี้ผู้ป่วยโรคซึมเศร้านั้นไม่จำเป็นต้องมีแค่ความรู้สึกเศร้าซึมอย่างเดียวก็ได้ เพราะบางรายก็หงุดหงิดฉุนเฉียวง่าย โมโหร้าย ก้าวร้าวอย่างไม่เคยเป็นมาก่อน
  • ความคิดเปลี่ยนแปลง ทุกอย่างในชีวิตดูแย่และเลวร้ายไปหมด มองเห็นแต่ความผิดพลาดหรือความล้มเหลว รู้สึกไร้ค่า ไร้ความสามารถ พึ่งพาตัวเองไม่ได้ ชีวิตมีแต่ปัญหา หาทางออกไม่เจอ รู้สึกเป็นภาระให้คนอื่น ทำให้คนอื่นลำบาก ทั้งๆที่คนรอบข้างก็ยืนยันว่าเต็มใจช่วยเหลือและไม่ลำบากอะไรก็ยังทำให้รู้สึกผิดหวังในตัวเองอยู่ดี ท้อแท้ ไม่มั่นใจในตัวเอง จะตัดสินใจอะไรก็มีแต่ความลังเล รู้สึกคับข้องใจจนกลายเป็นความทรมานจิตใจไปในที่สุด บางคนเริ่มมีความรู้สึกอยากตายในระยะนี้ เพราะแค่อยากหลุดพ้นไปจากจุดนี้ เริ่มแรกอาจจะแค่อยากตายแต่ไม่ได้คิดอย่างจริงจังเป็นเรื่องเป็นราว แต่ถ้าอาการเหล่านี้หนักหน่วงยาวนาน ความคิดอยากตายจะเริ่มเป็นรูปเป็นร่างมากขึ้นและอาจมีการวางแผนที่จะทำ ซึ่งหากเจอเหตุการณ์อะไรที่ทำให้จิตใจกระทบกระเทือนในช่วงนี้ อาจทำร้ายตัวเองหรือฆ่าตัวตายจริงๆได้
  • ไม่มีสมาธิ ความจำแย่ลง อาจจำเรื่องราวที่เจอมาไม่นานไมได้ เช่น ลืมว่าตอนเช้าตื่นกี่โมงหรือลืมว่าตอนเช้าทานเช้ากับอะไร วางของไว้แล้วหาไม่เจอ เป็นต้น นอกจากนี้ยังมีผลต่อประสิทธิภาพการคิดวิเคราะห์ ทำให้ทำงานหรือเรียนไม่รู้เรื่อง อ่านหนังสือไม่เข้าใจหรืออ่านได้แค่ชั่วครู่เท่านั้น ดูโทรทัศน์ไม่รู้เรื่อง จิตใจเหม่อลอย เป็นต้น
  • มีปัญหาด้านความสัมพันธ์กับคนรอบข้าง มันเป็นผลมาจากสภาวะอารมณ์ที่เปลี่ยนไป อ่อนไหวง่าย ร้องไห้เก่ง เศร้าซึมหรือบางรายโมโหง่ายและก้าวร้าว แน่นอนว่าคนรอบข้างย่อมไม่รู้ว่าทำไมถึงเปลี่ยนไป อาจทำให้ทะเลาะกับคนอื่นๆได้
  • ประสิทธิภาพการทำงานแย่ลง โดยเฉพาะงานที่ละเอียดและต้องการความรับผิดชอบสูง ผู้ป่วยหลายคนขาดสมาธิในการทำงานมาก ทำให้งานออกมาไม่ดี งานดูลวกๆ ไม่เรียบร้อย ในระยะแรกอาจถูกตำหนิซึ่งผู้ป่วยอาจฮึดสู้บ้าง แต่เนื่องจากอาการป่วยที่เป็นอยู่นั้นไม่เอื้ออำนวย สุดท้ายก็จะยอมแพ้ไป อาจจะลางานบ่อยขึ้น จนอาจทำให้ต้องออกจากงานในที่สุด
  • มีอาการทางร่างกาย นอกจากความเปลี่ยนแปลงด้านอารมณ์แล้วยังมีอาการทางกายร่วมด้วย ที่พบบ่อยๆได้แก่ เหนื่อยง่าย อ่อนเพลียไม่มีแรง นอนหลับยากขึ้น หลับๆตื่นๆหรือนอนมากไปแต่ก็ยังรู้สึกเหมือนนอนไม่พอ อาจจะมีอาการเบื่ออาหารร่วมด้วย ทานอะไรไม่อร่อย ไม่เจริญอาหาร น้ำหนักลดฮวบฮาบทั้งนี้บางคนอาจทานเก่งกว่าปกติก็เป็นได้ ส่วนอาการอื่นๆที่พบร่วมได้บ้าง เช่น ท้องอื่น ท้องเฟ้อ แน่นท้อง ปากคอแห้ง กระหายน้ำบ่อย ปวดศีรษะ ปวดเมื่อยตามร่างกาย เป็นต้น
  • มีอาการทางจิต ส่วนในข้อนี้มักจะพบในรายที่มีอาการอย่างรุนแรงเท่านั้น นอกจากซึมเศร้าหรืออารมณ์อื่นที่พบได้ทั่วไปแล้ว ผู้ป่วยอาจมีอาการประสาทหลอนร่วมด้วย เช่น หูแว่ว เชื่อว่ามีคนคอยกลั่นแกล้งหรือทำร้าย เป็นต้น แต่ว่ามักจะเป็นแค่ชั่วคราว หากได้รับการรักษา อาการเศร้าดีขึ้น อาการทางจิตก็จะดีตาม

โรคซึมเศร้ารักษา

  • โรคซึมเศร้านั้นสามารถรักษาให้หายขาดได้ แต่ผู้ป่วยต้องยอมรับและเข้าใจตัวเองเสียก่อนว่าป่วยจริงๆ หากได้รับการรักษาที่ดี อาการจะกลับมาดีขึ้นจนหายเป็นปกติได้ บางคนอาจไม่เข้าใจตัวเองด้วยซ้ำว่าทำไมถึงเป็นไปได้ขนาดนั้น สำหรับแนวทางการรักษานั้นมีอยู่ 3 แนวทางด้วยกันคือ การพูดคุยบำบัดจิตใจ การใช้ยารักษาและการกระตุ้นเซลล์สมองและประสาท ส่วนใหญ่แล้วแพทย์จะเลือกใช้วิธีที่ 1-2 ร่วมกัน ส่วนวิธีสุดท้ายนั้นจะใช้ในรายที่มีอาการรุนแรงจนมีพฤติกรรมทำร้ายตัวเองหรือฆ่าตัวตาย เพราะจะให้ผลการรักษาที่รวดเร็ว สามารถช่วยเหลือได้ทันท่วงทีมากกว่า แต่ว่าแพทย์จะเลือกใช้การพูดแบบใด ขนานยาไหนหรือการกระตุ้นเซลล์สมองในลักษณะไหนมารักษาคนไข้นั้นขึ้นอยู่กับดุลพินิจของแพทย์
  • สำหรับการรักษาด้วยยาและการพูดคุยบำบัดจิต เมื่อแพทย์ประเมินอาการของผู้ป่วยแล้วพบว่ามันไม่ได้มีสาเหตุมาจากปัญหาสุขภาพในด้านอื่นๆ แพทย์จะจ่ายยาขนาดต่ำๆให้ก่อนแล้วนัดมาติดตามอาการทุกๆ 1-2 สัปดาห์ แล้วปรับยาตามความเหมาะสม อย่างไรก็ตามการทานยาไม่ได้ช่วยให้อาการดีขึ้นในทันที แต่จะช่วยให้รู้สึกดีขึ้นใน 1-2 สัปดาห์ ส่วนอาการอื่นๆ เช่น การเบื่ออาหาร การนอนหลับยาก ฯลฯ ก็จะดีขึ้นเช่นเดียวกัน ทั้งนี้ต้องอาศัยความร่วมมือในการทานยาจากผู้ป่วยด้วย เพราะมีผู้ป่วยหลายรายไม่เชื่อแพทย์ ไม่กล้าทานยาเยอะหรือกลัวผลข้างเคียงมากเกินไปจนทำให้ทานๆหยุดๆ ซึ่งการทานยาในลักษณะนี้นอกจากจะไม่ทำให้อาการดีขึ้นแล้ว ยังทำให้รักษาได้ยากขึ้นไปอีก
  •  ระยะเวลาในการรักษาของผู้ป่วยแต่ละคนจะไม่เท่ากัน แต่หากทานยาร่วมกับพูดคุยบำบัดจิตจนอาการดีขึ้นแล้ว แพทย์จะจ่ายยาที่มีขนาดเท่าๆเดิมให้ทานต่อเนื่องไปอีก 4-6 เดือน เมื่อครบกำหนดเวลาโดยที่ผ่านไม่มีอาการใดๆเลย แพทย์จะลดขนาดยาลงอีกจนสามารถหยุดยาได้ในที่สุด ซึ่งระยะนี้จะใช้เวลา 1-2 เดือน อย่างไรก็ตามถึงแม้จะรักษาหายไปแล้วก็มีโอกาสกลับมาเป็นซ้ำได้อีก บางคนอาจกลับมาเป็นภายใน 2-3 ปี แต่บางคนอาจนานถึง 5-7 ปี สำหรับผู้ป่วยที่ป่วยมาแล้วหนึ่งครั้งมีโอกาสกลับมาป่วยซ้ำได้มากเกือบร้อยละ 50 และถ้าเป็นครั้งที่สองแล้ว ก็จะมีโอกาสป่วยครั้งที่สามหรือครั้งต่อไปได้ง่ายขึ้นรวมทั้งระยะเวลาที่จะกลับมาเป็นซ้ำยังกระชั้นมากขึ้นอีกด้วย ดังนั้นหากป่วยซ้ำเกิน 3 ครั้ง แพทย์อาจจำเป็นต้องจ่ายยาให้ทานนานเป็นปีเพื่อป้องกันการกลับมาเป็นซ้ำ

โรคซึมเศร้า โรคที่พบมากในตอนนี้ ทุกคนควรศึกษาและเช็คตัวเอง

โรคซึมเศร้าPantip

  • ในปัจจุบันมีผู้ป่วยโรคซึมเศร้ามากขึ้น ซึ่งหลายๆคนเมื่อมีอาการผิดไปจากปกติหรือว่ารักษาได้หายขาดแล้วก็จะมาแบ่งปันประสบการณ์ของตัวเองลงในเว็บบอร์ดสาธารณะยอดนิยมของคนไทยอย่าง Pantip ซึ่งทางเราขออนุญาตยกกระทู้ที่คาดว่าน่าจะมีประโยชน์กับทั้งผู้ป่วย ญาติผู้ป่วยและผู้คนรอบข้างผู้ป่วยมากฝากกันค่ะ

คุณอาจสนใจบทความนี้ คลิกดู โรคอัลไซเมอร์

กระทู้ที่ 1 [โรคซึมเศร้า]ความรู้สึกสุดท้ายก่อนฆ่าตัวตาย

  •  เจ้าของกระทู้นั้นป่วยเป็นโรคซึมเศร้าและคิดฆ่าตัวตาย แต่โชคดีที่รู้ตัวเสียก่อนจึงไปพบแพทย์แล้วทานยาอย่างต่อเนื่อง เธอเล่าว่าเวลามีข่าวการฆ่าตัวตายออกมาทางสื่อโซเชียล จะมีการแสดงความคิดเห็นในด้านลบมากมาย เช่น เนรคุณพ่อแม่ โง่ เห็นแก่ตัว เป็นต้น  มันเกิดจาการที่คนส่วนใหญ่ไม่เข้าใจผู้ป่วยโรคนี้ เธอจึงอธิบายว่าโดยปกติแล้วผู้ป่วยมักจะไมได้ร้องไห้ฟูมฟายหรือซึมเศร้าอยู่ตลอดเวลา แต่จะไม่สามารถดึงตัวเองให้หลุดออกมาจากความรู้สึกท้อแท้สิ้นหวังได้ เมื่อรู้สึกแบบนี้นานเข้ามันจึงพัฒนามาเป็น “ไม่รู้สึกอะไรเลย” ไปในที่สุด ซึ่งเธอบอกว่ามันคือความทรมานที่สุดของโลกนี้ เพราะมันทำให้ไม่หลงเหลือความรู้สึกใดๆอีกแล้ว ไม่ผูกพัน ว่างเปล่า ไม่มีสิ่งใดที่จะเหนี่ยวรั้งให้อยากอยู่ต่อไปอีก เรียกว่ายังมีความรู้สึกเศร้าซึมจะดีเสียกว่า เพราะฉะนั้นมันจึงทำให้ผู้ป่วยบางรายเลือกที่จะจบชีวิตตัวเองลงเพราะจะได้พ้นไปจากความรู้สึกนี้ ดังนั้นใครที่มองว่าผู้ป่วยซึมเศร้าเป็นคนอ่อนแอ จริงๆแล้วพวกเขาไม่ได้อ่อนแอ แต่กลับเข้มแข็งมากเพราะต้องพยายามเอาชีวิตรอดให้ได้ในสภาวะนี้นั่นเอง นอกจากนี้เธอยังอธิบายอาการในแต่ละช่วงของเธออย่างละเอียดและแนะนำการปฏิบัติที่ถูกต้องของผู้ป่วย ญาติและคนรอบข้างด้วยค่ะ ถือว่าเป็นประโยชน์มากเลยทีเดียว (ขอขอบคุณ Login Name : Moon is made of Green Cheese)

กระทู้ที่ 2 โรคซึมเศร้าอยากเล่าให้โลกของคนนอกเข้าใจ

  •  สำหรับกระทู้นี้เจ้าของกระทู้มีเป้าหมายหลักคือต้องการให้คนนอกเข้าใจว่า ธรรมสามารถช่วยได้ก่อนเป็น(ในขณะที่ความทุกข์เริ่มก่อตัว)และหลังเป็น(เมื่อเข้ารับการรักษาจนสามารถประครองสติได้แล้วในระดับหนึ่ง) เพื่อพยายามอธิบายให้หลายๆคนที่พยายามบอกกับผู้ป่วยโรคนี้ให้หันหน้าเข้าหาธรรมะเพียงอย่างเดียว เพราะพวกเขาเชื่อว่าสามารถช่วยได้ ทั้งที่ๆจริงแล้วเมื่อจิตใจดิ่งลงถึงขีดสุด ไม่ว่าจะอะไรก็ไม่สามารถช่วยได้แล้ว นอกจากการรักษาจากแพทย์อย่างถูกต้องเท่านั้น เนื้อหาช่วงต้นกระทู้เป็นการอธิบายข้อมูลที่เป็นประโยชน์ของโรคซึมเศร้า เช่น กลไกการเกิดโรค สาเหตุ อาการ เป็นต้น ส่วนเนื้อหาช่วงที่สองเป็นการเล่าประสบการณ์การป่วยของตัวเอง โดยเจ้าของกระทู้เล่าว่า เขาเองเจอเหตุการณ์เกี่ยวการกลั่นแกล้งมาเยอะพอสมควร รวมถึงเหตุการณ์รุนแรงหลายๆเรื่อง เช่น การที่ญาติสนิทฆ่าตัวตายถึงสองคน เป็นต้น ซึ่งมันอาจส่งผลให้คนที่รับรู้เหตุการณ์อย่างใกล้มีโอกาสฆ่าตัวตายได้เช่นกันเนื่องจากเห็นตัวอย่างมาก่อน นอกจากนี้ตัวเขาเองยังมีบุคลิกแบบ Introvert Thinking ซึ่งก็คือกล้าคิด กล้าทำ กล้าแสดงออก แต่กลับชอบเก็บความทุกข์ทุกๆอย่างเอาไว้ในใจ เพราะฉะนั้นโดยพื้นฐานเขาเองเป็นคนที่มีแนวโน้มเป็นโรคซึมเศร้าสูงมากๆมาก่อนแล้ว เมื่อเขารู้แบบนี้เขาจึงศึกษาโรคนี้โดยละเอียดเพื่อเตรียมความพร้อมเอาไว้ในกรณีที่ป่วยจริงๆในอนาคต จนกระทั่งวันที่เขาป่วยจริงๆมาถึง เพราะว่าเขาไม่มีความสุขกับการเรียนและฟางเส้นสุดท้ายมันขาดไปเนื่องจากวิชาที่คาดหวังมากที่สุดดันมีคะแนนไม่ผ่านเกณฑ์ ทำให้รู้สึกผิดหวังอย่างรุนแรง ทั้งนี้เจ้าของกระทู้ค่อนข้างเข้าใจตัวเองและรับมือกับโรคได้ค่อนข้างดีเมื่อเทียบกับผู้ป่วยรายอื่น เขามีการพูดคุยกับเพื่อนและครอบครัว เข้ารับการรักษาตัวอย่างถูกต้อง ถึงแม้บางครั้งจะมีความรู้สึกอยากฆ่าตัวตายอยู่บ้างแต่ก็ควบคุมตัวเองได้ทัน แพทย์ข้าวของไข้ให้เขาทานยา 1 ปี เมื่อครบกำหนดก็หยุดยา ปัจจุบันก็สามารถใช้ชีวิตได้อย่างมีความสุข พร้อมกับเปลี่ยนคณะไปเรียนในสิ่งที่ชอบ (ขอขอบคุณ Login Name : บากะ! บากะ! บากะ!)

สำหรับกระทู้ในพันทิปเกี่ยวกับโรคซึมเศร้านั้นยังมีอีกมากมาย หากต้องการอ่านประสบการณ์เพิ่มเติม สามารถหาอ่านกันได้ค่ะ สำหรับใครที่มีอาการซึมเศร้าแล้วรับรู้ว่าตัวเองไม่ปกติ ต้องไปพบแพทย์นะคะ แล้วแพทย์จะแจ้งเองว่าคุณป่วยหรือไม่ ต้องรักษาอย่างไรหรือทานยานานแค่ไหนกว่าจะหาย ไม่ต้องอายสายตาใครๆเพราะว่าโรคซึมเศร้าเป็นเรื่องปกติที่สามารถเกิดขึ้นได้ค่ะ แถมพบมากในคนยุคนี้ด้วย ส่วนคนรอบข้าง สิ่งสำคัญที่จำเป็นต้องมีคือความเข้าใจคนป่วย การอยู่เคียงข้างผู้ป่วยในยามที่เขาต้องการพึ่งพาคนอื่นมากที่สุด ทั้งนี้คุณเองต้องจิตใจเข้มแข็งมาก่อนแล้วเท่านั้นนะคะ เพราะถ้าเข้มแข็งไม่พอ การรับรู้เรื่องราวของผู้ป่วยในทุกๆวัน อาจทำให้ป่วยตามไปด้วยได้ ดังนั้นถ้าไหวก็อยู่ต่อ แต่ถ้าไม่ไหวให้ออกมาและห้ามสาดคำพูดหรือพฤติกรรมรุนแรงใดๆให้ผู้ป่วยทั้งสิ้น เพราะในเวลานั้นจิตใจของเขาเปราะบางยิ่งกว่าสิ่งใดในโลกนี้ สุดท้ายนี้ขอให้ผู้ป่วยโรคซึมและคนดูแลทุกคนผ่านเรื่องนี้ไปได้อย่างเข้มแข็งและมีความสุขค่ะ

อ่านข้อมูลเพิ่มเติมที่ได้ https://www.honestdocs.co/most-common-psychiatric-disorders

Share
0
admin
admin

Related posts

November 12, 2019

โรคริดสีดวงทวาร ภัยสุขภาพใกล้ตัว รักษาได้ ไม่ต้องทรมาน


Read more
November 12, 2019

โรคไทรอยด์ รู้จักไว้ ปลอดภัยกว่า


Read more
November 12, 2019

กรดไหลย้อน ภัยสุขภาพคุกคามคุณภาพชีวิต


Read more

ATLANTICCANADA

Atlantic Canada Healthcare คลังข้อมูลป้องกันโรค รู้ทันโรคใหม่ ๆ ทุกวัน พร้อมวิธีตรวจเช็คอาการเบื้องต้น มีประสิทธิภาพมากที่สุด ประหยัดที่สุด ทันเวลาในการตัดสินใจไปพบแพทย์เพื่อคำแนะนำและการรักษาที่ดีที่สุด

Recent Posts

ตุ่มใสที่นิ้วมือคัน

ตุ่มใสที่นิ้วมือคัน อันตรายหรือไม่? บ่งบอกถึงโรคอะไรได้บ้าง

โรคขาอยู่ไม่สุข

โรคขาอยู่ไม่สุข กลุ่มอาการที่ทำให้เสียบุคลิกภาพ

คัดจมูกแก้ยังไง

คัดจมูกแก้ยังไง ? รวม 10 วิธีรักษาและป้องกันอาการเบื้องต้น

ตุ่มใสที่นิ้วมือคัน

ตุ่มใสที่นิ้วมือคัน อันตรายหรือไม่? บ่งบอกถึงโรคอะไรได้บ้าง

โรคขาอยู่ไม่สุข

โรคขาอยู่ไม่สุข กลุ่มอาการที่ทำให้เสียบุคลิกภาพ

คัดจมูกแก้ยังไง

คัดจมูกแก้ยังไง ? รวม 10 วิธีรักษาและป้องกันอาการเบื้องต้น

Copyright © 2020 atlanticcanadahealthcare.com

  • Terms and Conditions
  • Privacy Policy