• HOME
  • BLOG
  • ABOUT
  • CONTACT
Menu
  • HOME
  • BLOG
  • ABOUT
  • CONTACT
นิ่วในถุงน้ำดี สาเหตุ อาการและอาหารที่ควรหลีกเลี่ยง
September 27, 2019
โรคซึมเศร้า โรคที่พบมากในตอนนี้ ทุกคนควรศึกษาและเช็คตัวเอง
September 27, 2019
Published by admin on September 27, 2019
Categories
  • Uncategorized
Tags

โรคมือเท้าปาก โรคระบาดพบบ่อยในเด็กที่มาพร้อมกับฤดูฝน

เมื่อย่างเข้าสู่ฤดูฝน นอกจากโรคหวัดและไข้หวัดใหญ่ที่เราได้ยินกันบ่อยๆแล้ว ยังมี “ โรคมือเท้าปาก ” ที่ได้ยินข่าวคราวกันเป็นประจำโดยเฉพาะกับเด็กเล็กๆ ทำให้เมื่อเกิดการระบาดแต่ละทีโรงเรียนต้องประกาศหยุดเรียนกันทุกครั้งไปเพื่อควบคุมโรคไม่ให้แพร่กระจายมากขึ้น ว่าแต่โรคนี้เกิดจากสาเหตุใด มีอาการอย่างไรบ้าง อันตรายหรือเปล่า วันนี้ทางเราได้รวบรวมข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับโรคนี้มาฝากกันแล้วค่ะ

โรคมือเท้าปาก

โรคมือเท้าปาก (Hand Foot Mouth Disease) เป็นโรคติดต่อที่เกิดจากการติดเชื้อไวรัสในกลุ่ม Enterovirus จะระบาดมากในฤดูฝน พบมากในเด็กที่อายุต่ำกว่า 10 ขวบ แต่ก็สามารถพบในผู้ที่มีอายุมากกว่านี้ได้เช่นเดียวกันแต่ว่าอาการจะไม่รุนแรงเหมือนเด็กเล็ก ปกติแล้วหากไม่มีภาวะแทรกซ้อนใดๆ อาการจะดีขึ้นจนหายเป็นปกติใน 7-10 วัน การระบาดมักพบในกลุ่มโดยเฉพาะในโรงเรียน เนอส์เซอรี่หรือจุดที่ผู้คนไปอยู่รวมกันเยอะๆ ช่วงเวลาที่มีระบาดมากสุดจะเป็นช่วงเดือนพฤษภาคม-สิงหาคม เนื่องจากเป็นช่วงที่โรงเรียนกำลังเปิดภาคเรียนใหม่ เชื้อจึงแพร่ระบาดได้ง่าย

สำหรับสาเหตุคือ เกิดจาการติดเชื้อไวรัสกลุ่ม Enterovirus สามารถแพร่เชื้อได้ง่ายๆโดยการสัมผัสสารคัดหลั่งที่ปนเปื้อนเชื้อโรค เช่น ไอ จาม การสัมผัสสิ่งของที่ปนเปื้อนเชื้อ เป็นต้น

คุณอาจสนใจบทความนี้ คลิกดู โรคซิฟิลิส โรคร้ายอันตราย

โรคมือเท้าปาก โรคระบาดพบบ่อยในเด็กที่มาพร้อมกับฤดูฝน

โรคมือเท้าปากอาการ

หลังจากรับเชื้อแล้ว โรคจะอยู่ในระยะฟักตัว 3-6 วัน จากนั้นจะเริ่มแสดงอาการออกมา โดยเริ่มจากมีไข้ก่อน ซึ่งอาจจะเป็นไข้ต่ำหรือสูงก็ได้ ตามมาด้วยเจ็บคอ อ่อนเพลีย เบื่ออาหาร เป็นต้น หลังจากมีไข้ 1-2 วัน จะเริ่มตุ่มหรือผื่นขึ้นบริเวณฝ่ามือ ฝ่าเท้าและปาก สำหรับที่มือและเท้า ตุ่มอาจจะมีลักษณะบวมแดงหรือเป็นตุ่มน้ำใสได้ ส่วนในปากจะพบแผลได้หลายบริเวณ ทั้งภายในและภายนอกช่องปาก บางคนมีตุ่มตั้งแต่โคนลิ้น เพดานอ่อน กระพุ้งแก้ม ไปจนถึงรอบๆริมฝีปากภายนอกเลยก็มี บางคนที่มีแผลในปากเยอะๆ จะทานอาหารไม่ค่อยได้ เพราะเจ็บปาก หากเป็นติดต่อกันหลายวัน คนไข้ในกลุ่มนี้ต้องมาโรงพยาบาลเพราะบางคนอาจะมีร่างกายอ่อนเพลียจากากรขาดอาหาร ต้องให้น้ำเกลือเพื่อประครองอาการจนกว่าจะดีขึ้น

คุณอาจสนใจบทความนี้ คลิกดู นิ่วในถุงน้ำดี

โรคมือเท้าปากอันตรายไหม

โรคมือเท้าปากดโดยปกติแล้วไม่อันตราย ส่วนมากมักจะหายเองได้ภายใน 5-7 วัน หากไปพบแพทย์ แพทย์ก็รักษาตามอาการเพราะยังไม่มีวัคซีนหรือยาใดๆที่จะช่วยรักษาโรคนี้โดยตรงได้ แต่ว่าภาวะแทรกซ้อนของโรคนี้ก็มีอยู่บ้าง เช่น ภาวะขาดน้ำหรืออ่อนเพลียหนักๆ สาเหตุจากเจ็บในปากและลำคอจนทานอาหารหรือดื่มน้ำไม่ค่อยได้ จึงนับว่าไม่อันตรายมากนัก เนื่องจากการรักษาทำได้ไม่ยากเลย แต่ก็มีอีกภาวะแทรกซ้อนหนึ่งที่ค่อนข้างอันตราย แต่มีอัตราการพบต่ำมากคือ ภาวะเยื่อหุ้มสมองอักเสบ โดยจะพบได้ราวๆ 1-5 รายต่อปีเท่านั้น แต่กลับมีโอกาสที่จะเสียชีวิตสูงมาก ดังนั้นจึงเป็นหน้าที่ของพ่อแม่ที่ต้องเฝ้าระวังหากลูกป่วยเป็นโรคมือเท้าปาก หากสังเกตแล้วพบว่ามีอาการดังต่อไปนี้ ให้รีบไปแพทย์โดยด่วนที่สุด

  • หายใจเร็วผิดปกติ หอบ หายใจไม่สะดวก
  • มีอาการทางสมอง เช่น ซึม เดินเซ ชักเกร็ง หมดสติ
  • มือหรือขาสั่น

โรคมือเท้าปาก โรคระบาดพบบ่อยในเด็กที่มาพร้อมกับฤดูฝน

การรักษาโรคมือเท้าปาก

ปัจจุบันนี้ยังไม่มีวิธีการกำจัดเชื้อไวรัสต้นเหตุหรือรักษาอาการป่วยให้หายขาดได้อย่างรวดเร็ว ดังนั้นจึงทำได้เพียงรักษาตามอาการและประคับประครองไปจนกว่าจะหายดี เพราะฉะนั้นหากป่วยด้วยโรคนี้ ผู้ป่วยต้องหยุดงานหรือหยุดเรียนทันที เพื่อป้องกันการแพร่เชื้อ แล้วดูแลไปตามอาการ ซึ่งโดยปกติแล้วจะหายดีภายใน 10 วัน อย่างไรก็ตามหากอาการยิ่งทรุดลง ควรรีบไปพบแพทย์ เพื่อป้องกันภาวะแทรกซ้อนและจะได้รับการดูแลอย่างใกล้ชิดต่อไป สำหรับการดูแลผู้ป่วยโรคมือเท้าปาก มีแนวทางดังต่อไปนี้

  • ไข้และอาการปวดตามบาดแผล สามารถรับประทานยาแก้ปวดอย่างพาราเซตามอลหรือไอบูโพรเฟนได้ แต่ต้องเลือกยาใช้อย่างเหมาะสม หากเป็นเด็กก็ใช้ยาพาราเซมอลชนิดน้ำ สำหรับผู้ใหญ่ก็ควรใช้ยานี้ก่อนเช่นเดียวกัน เนื่องจากไอบูโพรเฟนนั้นแรงกว่า ทานผิดขนาดอาจมีผลข้างเคียงได้ ยาพวกนี้จะช่วยให้ตัวเย็นลงได้ แถมยังช่วยบรรเทาอาการปวดแผลอีกด้วย ส่วนยาแก้ปวดแอสไพรินถ้าไม่จำเป็น ห้ามทานเด็ดขาด สำหรับผู้ป่วยที่มีไข้ ควรใช้การเช็ดตัวร่วมด้วย จะช่วยให้ไข้ลดไวขึ้น น้ำที่ใช้เช็ดต้องเป็นน้ำอุณหภูมิห้องเท่านั้น จึงจะได้ผลดี ส่วนการดูแลอื่นๆ เช่น ให้ผู้ป่วยสวมใส่เสื้อผ้าบางๆและเปิดหน้าต่างให้อากาศถ่ายเทอยู่เสมอ อากาศจะได้ไม่เย็นหรือร้อนเกินไป ส่งผลดีต่อการรักษา
  • แผลในปาก แพทย์อาจจ่ายยาชาเฉพาะที่มาใช้ทาในปาก เพื่อบรรเทาความเจ็บปวด แนะนำให้ใช้น้ำเกลือบ้วนปากบ่อยๆเพื่อทำความสะอาดแผล ช่วยลดเชื้อโรค ทำให้แผลหายไวขึ้น
  • อาหาร ทานอาหารที่อ่อนนิ่ม ย่อยง่าย เช่น ซุป โจ๊ก ข้าวต้ม ไอศกรีม มันบด เป็นต้น หลีกเลี่ยงอาหารที่ร้อนจัดหรืออาหารที่ปรุงรสจัดมากๆ
  • น้ำดื่ม ต้องดื่มน้ำให้มากๆเพื่อป้องกันภาวะร่างกายขาดน้ำ หากรู้สึกปวดแผล ต้องทานยาแก้ปวด และเมื่อยาออกฤทธิ์ ให้รีบดื่มทันที พยายามดื่มน้ำได้อย่างน้อยชั่วโมงละ 1 แก้ว สำหรับผู้ป่วยรายใดที่มีปัญหาเรื่องการดื่มน้ำหรือการทานอาหาร ควรไปพบแพทย์ อาจจะต้องให้น้ำเกลือในการรักษาอีกทางหนึ่ง

ถึงแม้โรคนี้ไม่ได้อันตรายมากนัก แต่มันก็ทำให้ป่วยได้หลายวันเลยทีเดียว แถมยังพบได้มากในเด็กเล็กอีก ซึ่งคนเป็นพ่อเป็นแม่ย่อมต้องเป็นห่วงลูกไม่น้อยเลย ดังนั้นนั้นการป้องกันย่อมดีกว่ามานั่งรักษา เพราะฉะนั้นหากพบว่ามีใครป่วยในโรงเรียน ตัวผู้ป่วยก็ต้องหยุดเรียน ส่วนนักเรียนร่วมห้องคนอื่นๆแนะนำให้หยุดเรียนตามไปด้วย เพื่อลดการแพร่กระจายของเชื้อโรค เพราะบางคนถึงแม้จะได้รับเชื้อแล้ว แต่ไม่ปรากฏอาการมากนักก็สามารถแพร่เชื้อใส่ผู้อื่นได้เช่นเดียวกัน นอกจากนี้ทุกคนต้องรักสุขอนามัยให้ถูกต้อง หากมีลูกเล็กๆพ่อแม่ก็ต้องสอนให้ลูกรู้จักดูแลตัวเอง เช่น ล้างมือก่อนทานอาหารและหลังเข้าห้องน้ำทุกครั้ง อย่าใช้สิ่งของร่วมกับผู้อื่น เป็นต้น

อ่านข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ pobpad.com/อาการของโรคมือเท้าปาก

Share
0
admin
admin

Related posts

November 12, 2019

โรคริดสีดวงทวาร ภัยสุขภาพใกล้ตัว รักษาได้ ไม่ต้องทรมาน


Read more
November 12, 2019

โรคไทรอยด์ รู้จักไว้ ปลอดภัยกว่า


Read more
November 12, 2019

กรดไหลย้อน ภัยสุขภาพคุกคามคุณภาพชีวิต


Read more

ATLANTICCANADA

Atlantic Canada Healthcare คลังข้อมูลป้องกันโรค รู้ทันโรคใหม่ ๆ ทุกวัน พร้อมวิธีตรวจเช็คอาการเบื้องต้น มีประสิทธิภาพมากที่สุด ประหยัดที่สุด ทันเวลาในการตัดสินใจไปพบแพทย์เพื่อคำแนะนำและการรักษาที่ดีที่สุด

Recent Posts

ตุ่มใสที่นิ้วมือคัน

ตุ่มใสที่นิ้วมือคัน อันตรายหรือไม่? บ่งบอกถึงโรคอะไรได้บ้าง

โรคขาอยู่ไม่สุข

โรคขาอยู่ไม่สุข กลุ่มอาการที่ทำให้เสียบุคลิกภาพ

คัดจมูกแก้ยังไง

คัดจมูกแก้ยังไง ? รวม 10 วิธีรักษาและป้องกันอาการเบื้องต้น

ตุ่มใสที่นิ้วมือคัน

ตุ่มใสที่นิ้วมือคัน อันตรายหรือไม่? บ่งบอกถึงโรคอะไรได้บ้าง

โรคขาอยู่ไม่สุข

โรคขาอยู่ไม่สุข กลุ่มอาการที่ทำให้เสียบุคลิกภาพ

คัดจมูกแก้ยังไง

คัดจมูกแก้ยังไง ? รวม 10 วิธีรักษาและป้องกันอาการเบื้องต้น

Copyright © 2020 atlanticcanadahealthcare.com

  • Terms and Conditions
  • Privacy Policy