• HOME
  • BLOG
  • ABOUT
  • CONTACT
Menu
  • HOME
  • BLOG
  • ABOUT
  • CONTACT
ตับแข็งรักษาหายไหม
ตับแข็งรักษาหายไหม ? ทำความรู้จักกับโรคที่แม้ไม่ดื่มสุราก็เป็นได้
June 16, 2022
ปวดหัวเข่ารักษาอย่างไร
ปวดหัวเข่ารักษาอย่างไร ? รวมวิธีรักษาเบื้องต้นที่สามารถทำได้ด้วยตัวเอง
September 14, 2022
Published by wtbiz5 on August 1, 2022
Categories
  • สุขภาพ
Tags
  • อ้วน
  • โรคอ้วน
  • โรคอ้วนคืออะไร
โรคอ้วนคืออะไร

โรคอ้วนคืออะไร ? จะรู้ได้อย่างไรว่าเป็นโรคนี้

โรคอ้วนคืออะไร ? โรคอ้วนหรือการมีน้ำหนักตัวเกินที่มากผิดปกติส่งผลให้เกิดปัญหาสุขภาพมากมายหลายด้านไม่เพียงแต่ด้านบุคลิกภาพที่อาจทำให้สูญเสียความมั่นใจได้เท่านั้น เพราะยังเพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดโรคต่าง ๆ ได้อีกด้วย เช่น โรคกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด เส้นเลือดในสมองตีบ และความเสี่ยงต่อโรคเบาหวานกับโรคความดันโลหิตสูงมากกว่าคนปกติถึง 2-10 เท่า ทำให้เป็นโรคเรื้อรังต่าง ๆ ตามมา ฉะนั้นแล้วมาทำความรู้จักกับโรคนี้ให้มากขึ้นเพื่อลดความเสี่ยงที่จะก่อให้เกิดโรคอ้วนกัน


โรคอ้วนคืออะไร ? 

โรคอ้วนคืออะไร

โรคอ้วน คือ การที่ร่างกายมีภาวะไขมันสะสมตามส่วนอวัยวะต่าง ๆ มากเกินปกติและไม่สามารถเผาผลาญออกไปได้ จึงทำให้ร่างกายมีการสะสมพลังงานที่เหลือในรูปแบบของไขมันไว้ ซึ่งสิ่งนี้เองที่เป็นการทำให้เกิดปัญหาสุขภาพในด้านต่าง ๆ และอาจก่อให้เกิดโรคเรื้อรังตามมาได้

แม้ว่าบางคนจะรู้สึกว่าตัวเองอ้วน แต่เราจะรู้ได้อย่างไรว่าเป็นโรคอ้วนหรือไม่? ตามเกณฑ์มาตรฐานสากลนั้นการกำหนดผู้ที่มีภาวะอ้วนสามารถทำได้โดยวัดจากดัชนีมวลกายหรือที่เรียกกันว่าค่า  BMI (Body Mass Index) นั่นเอง ซึ่งค่านี้ใช้ชี้วัดความสมดุลของน้ำหนักตัวด้วยการระบุค่าน้ำหนักและส่วนสูง ผลที่ได้ออกมาก็จะแสดงให้เห็นว่าตอนนี้รูปร่างของคุณอยู่ในระดับใดซึ่งจะแสดงผลออกมาเป็นระดับความอ้วนมากเกินไปจนถึงผอมเกินไป โดยผลประเมินของแต่ละค่าแบ่งออกเป็นดังนี้

  • ค่า BMI น้อยกว่า 18.5 = ผอมเกินไป (Underweight)

การมีน้ำหนักตัวที่ผอมเกินไปก็ใช่ว่าจะดี เนื่องจากร่างกายของคุณอาจได้รับสารอาหารต่าง ๆ ไม่เพียงพอต่อความต้องการของร่างกายทำให้เกิดการอ่อนเพลียง่าย ซึ่งการรับประทานอาหารเพิ่มมากขึ้นกว่าเดิมและออกกำลังกายเพื่อเสริมสร้างกล้ามเนื้อก็เป็นอีกสิ่งหนึ่งที่จะช่วยให้ค่า BMI ขึ้นมาอยู่ตามเกณฑ์ปกติได้

  • ค่า BMI 18.6 – 24 = ปกติ (Healthy)

ตามมาตรฐานแล้วค่าที่เหมาะสมกับคนไทยจะอยู่ที่ 18.5-24 หากคุณวัดแล้วได้ค่าตามเกณฑ์นี้ก็ถือว่าอยู่ในเกณฑ์ที่ปกติและไม่มีความเสี่ยงที่จะเป็นโรคอ้วนได้ง่าย  ๆ

  • ค่า BMI 25.0 – 29.9 = อ้วน (Overweight)

เมื่อเริ่มอยู่ในเกณฑ์นี้แล้วจะถือว่าเป็น ‘โรคอ้วนระดับ 1’ ที่อาจจะเริ่มมีความเสี่ยงต่อการเกิดโรคแทรกซ้อนอื่น ๆ ตามมาได้ เช่น เบาหวานและความดันโลหิตสูง ใครที่วัดได้ค่านี้ควรหันมาออกกำลังกายและปรับพฤติกรรมการรับประทานอาหารเพื่อให้ค่า BMI กลับมาอยู่ในเกณฑ์ปกติ 

  • ค่า BMI 30.0 ขึ้นไป = อ้วนมาก (Obese)

หากคุณมีค่าอยู่ที่ 30 ขึ้นไปถือว่าสูงมากและเป็นโรคอ้วนที่เสี่ยงต่อการเกิดโรคร้ายแรงต่อร่างกายได้ หากถึงค่าตัวเลข 40 ขึ้นไปควรพบแพทย์เพื่อตรวจสุขภาพและขอคำแนะนำจากแพทย์ทันที

บางทีคุณอาจจะรู้สึกว่าร่างกายตัวเองไม่ได้อยู่ในเกณฑ์ที่เรียกว่าอ้วนแต่วัดค่า BMI แล้วได้มากกว่า 25 ก็สามารถไปพบแพทย์เพื่อเข้ารับการวินิจฉัยเบื้องต้นก่อนได้ เนื่องจากบางคนน้ำหนักตัวของร่างกายไม่ได้มาจากไขมันที่สะสมอยู่แต่มาจากกล้ามเนื้อที่เป็นผลของการออกกำลังกายหรือเล่นกีฬา 

โรคอ้วนคืออะไร

นอกจากนี้ยังมีอีกหนึ่งวิธีที่คุณสามารถใช้เพื่อตรวจหาโรคอ้วนได้ด้วยตัวเอง คือ ‘การตรวจวัดรอบเอว’ หากผู้หญิงมีรอบเอวเกินกว่า 80 ซม. หรือ ผู้ชายที่มีรอบเอวเกินกว่า 90 ซม. อาจเสี่ยงต่อการเป็นโรคอ้วนและเกิดปัญหาสุขภาพต่าง ๆ ตามมาได้


โรคอ้วน สาเหตุเกิดจากอะไร

โรคอ้วนคืออะไร

โรคอ้วน เกิดจาก 2 สาเหตุที่มาจากทั้งปัจจัยภายในและภายนอกที่เกี่ยวข้องกับพฤติกรรมการใช้ชีวิตประจำวันโดยตรง ได้แก่

1.โรคอ้วนที่เกิดจากปัจจัยภายนอก

ส่วนใหญ่แล้วผู้ที่มีภาวะอ้วนสาเหตุมักมาจากการที่กินตามใจปากตัวเองมากเกินไปทำให้มากเกินความต้องการของร่างกายอีกด้วย ​โดยเฉพาะอย่างยิ่งการกิน แป้ง ขนมหวาน ไขมัน เนื้อ หากมีมากเกินไปนั้นร่างกายจะเก็บสะสมเอาไว้และกลายเป็นไขมันสะสมตามร่างกาย ยิ่งหากขาดการออกกำลังกายด้วยก็จะส่งผลให้ร่างกายไม่สามารถเผาผลาญไขมันส่วนเกินไปได้เลย

2.โรคอ้วนที่เกิดจากปัจจัยภายใน

ร่างกายบางคนอาจมีความผิดปกติจากภายในที่ทำให้เกิดภาวะอ้วนได้ ยกตัวอย่างเช่น

  • ความผิดปกติของต่อมไทรอยด์ ทำให้มีไขมันมากบริเวณต้นขา ต้นแขน และหน้าท้อง
  • กรรมพันธุ์ ซึ่งถ้าพ่อและแม่อ้วน ลูกก็จะมีโอกาสอ้วนมากกว่าร้อยละ 80 หรือถ้าพ่อ/แม่มีคนในคนหนึ่งอ้วน ลูกก็จะมีโอกาสอ้วนอยู่ที่ร้อยละ 40 
  • โรคประจำตัวที่ต้องกินยาบางชนิด ทำให้ผู้ที่ได้รับฮอร์โมนสเตียรอยด์เป็นเวลานานมีโอกาสอ้วนได้ หรือผู้หญิงที่กินหรือฉีดยาคุมกำเนิดก็จะทำให้อ้วนง่ายได้เหมือนกัน
  • อายุ เพราะยิ่งอายุเพิ่มมากขึ้นการใช้พลังงานในร่างกายก็อาจจะลดลง โดยเฉพาะวัย 35 ปีขึ้นไป มักจะอ้วนได้ง่ายตามพฤติกรรมการใช้ชีวิตและปัจจัยแวดล้อมต่าง ๆ
  • เพศ ส่วนใหญ่แล้วผู้หญิงมักจะอ้วนมากกว่าผู้ชาย จากพฤติกรรมการกินและตอนตั้งครรภ์ที่บางครั้งหลังจากคลอดลูกมาแล้วบางคนก็ลดน้ำหนักไม่ได้ จากสถิติแล้วผู้หญิงจึงอ้วนมากกว่าผู้ชายเป็น 4:1 เท่า
  • ภาวะเครียด ทำให้ร่างกายเกิดความอยากอาหารมากขึ้นกว่าเดิม

หากเป็นโรคอ้วน จะมีโอกาสเกิดโรคแทรกซ้อนอะไรบ้าง?

โรคอ้วนคืออะไร

หากคุณกำลังเผชิญกับโรคอ้วนอยู่ อาจมีความเสี่ยงต่อการเกิดภาวะแทรกซ้อนทำให้เจ็บป่วยเป็นโรคต่าง ๆ รวมถึงโรคเรื้อรังอีกด้วย ยกตัวอย่างเช่น

-โรคเบาหวาน

-ไขมันในเลือดสูง/ความดันโลหิตสูง

-โรคหลอดเลือดหัวใจและสมอง

-โรคมะเร็งต่าง ๆ 

-เกิดปัญหาทางระบบทางเดินหายใจ

-โรคหยุดหายใจขณะหลับ

-โรคไขมันเกาะตับ

-ประจำเดือนมาไม่ปกติ

-โรคเกี่ยวกับปวดข้อตามร่างกาย

-โรคอัมพฤกษ์ อัมพาต

-โรคหัวใจ

-มีบุตรยาก

-โรคผิวหนัง ทำให้มีสิว กลิ่นตัว 


ประเภทของความอ้วน

โรคอ้วนคืออะไร

รู้หรือไม่ว่าความอ้วนนั้นยังสามารถจำแนกออกเป็นประเภทใหญ่ได้อีกด้วยว่าความอ้วนแต่ละแบบนั้นเกิดจากอะไรและเสี่ยงต่อโรคอะไร มาดูกันว่าคุณกำลังเผชิญกับความอ้วนแบบไหนอยู่หรือเปล่า

 

  • อ้วนแบบลูกแพร์ (pear-shape obesity) : คือการอ้วนทำให้ช่วงสะโพกใหญ่เนื่องจากไขมันเข้าไปสะสมอยู่ที่บริเวณสะโพกและน่อง ซึ่งส่วนมากจะเกิดขึ้นกับผู้หญิงและลดได้ยาก แต่โอกาสเกิดโรคแทรกซ้อนนั้นก็มีน้อยด้วยเช่นกัน


  • อ้วนแบบลูกแอปเปิ้ล (apple-shape obesity) : ความอ้วนในลักษณะนี้คือการอ้วนลงพุงที่เกิดจากไขมันเข้าไปสะสมบริเวณช่องท้องเป็นจำนวนมาก ซึ่งไขมันต่าง ๆ ที่เข้าไปอยู่ในบริเวณเหล่านี้มักเป็นตัวการที่ก่อให้เกิดโรคแทรกซ้อนต่าง ๆ ได้ เช่น ความดันโลหิตสูง โรคเบาหวาน หรือโรคหลอดเลือดหัวใจตีบ


  • อ้วนทั้งตัว (generalized obesity) : คนที่มีลักษณะความอ้วนประเภทนี้คือผู้ที่มีไขมันสะสมทั่วทั้งร่างกายไม่ว่าจะเป็นพุงหรือสะโพกใหญ่ก็ตาม ทำให้มีโอกาสเกิดโรคแทรกซ้อนและโรคอื่น ๆ ตามมากได้มากมาย ไม่ว่าจะเป็น โรคข้อเสื่อม ปวดข้อ ปวดหลัง ทำให้เหนื่อยง่ายและหายใจลำบากเนื่องจากไขมันสะสมจำนวนมากที่อาจทำให้ระบบหายใจทำงานติดขัดได้ 

 

นอกจากนี้พฤติกรรมการใช้ชีวิตประจำวันต่าง ๆ ที่ก่อให้เกิดภาวะอ้วน ยังสามารถบ่งบอกได้อีกว่าอ้วนช่วงไหนเกิดจากพฤติกรรมอะไร มาดูกันว่าคุณมีไขมันสะสมช่วงไหนมากเป็นพิเศษและเกิดจากอะไรเพื่อการแก้ไขปัญหาให้ได้อย่างตรงจุด

โรคอ้วนคืออะไร

  1. อ้วนช่วงบน คือการได้รับน้ำตาลและอาหารที่มากเกินไป
  2. อ้วนกลางหน้าท้อง อาจเกิดจากภาวะซึมเศร้าและความเครียดลงกระเพาะ
  3. อ้วนช่วงล่าง เกิดจากการแพ้อาหารที่มี Gluten จากขนมปังหรือธัญพืช
  4. บริเวณหน้าท้องบวม เกิดขึ้นจากการดื่มแอลกอฮอล์มากเกินไป
  5. อ้วนบริเวณช่วงล่างลงไป เกิดจากพันธุกรรมหรือผู้หญิงตั้งครรภ์
  6. อ้วนช่วงท้องด้านบน เกิดจากพฤติกรรมที่ไม่ค่อยขยับตัวเนื่องจากร่างกายไม่ได้ใช้อวัยวะในการเคลื่อนไหวเลย

อ้วนลงพุง อันตรายกว่าที่คิด หลีกเลี่ยงได้ถ้าทำตามนี้

โรคอ้วนหรืออ้วนลงพุง อันตรายกว่าที่คุณคิดนอกจากจะเสียความมั่นใจแล้วมันยังทำให้เกิดโรคแทรกซ้อนอื่น ๆ ตามมามากมาย แต่อ้วนได้ก็ลดได้เช่นกัน มาดูกันว่าวิธีลดความเสี่ยงต่อการเกิดโรคอ้วนและการรักษานั้นสามารถทำได้อย่างไรบ้าง 

โรคอ้วนคืออะไร

วิธีลดความเสี่ยงต่อการเกิดภาวะอ้วนลงพุง

  1. ออกกำลังกายสม่ำเสมอเพื่อช่วยลดการสะสมของไขมันตามร่างกาย
  2. หลีกเลี่ยงอาหารที่ให้พลังงานสูง เช่น อาหารมัน ทอด หรืออาหารที่มีรสหวานจัด
  3. จำกัดปริมาณอาหารในแต่ละให้เพียงพอต่อความต้องการของร่างกาย
  4. ดูแลสุขภาพอย่างสม่ำเสมอทั้งพักผ่อนให้เพียงพอ และทานผัก ผลไม้เป็นประจำ
  5. หากรู้สึกว่าน้ำหนักตัวเพิ่มขึ้นมามากเกินไป ควรปรึกษาแพทย์ทันที

วิธีรักษาภาวะอ้วนลงพุง

  1. ควบคุมอาหารไม่ให้เกินวันละ 800-1200 แคลลอรี่/วัน หรือใช้สูตรลดน้ำหนักต่าง ๆ เช่น IF, Mediterranean diet, Atkins และ Low carbohydrate
  2. ออกกำลังกายวันละ 30 นาที อย่างน้อย 5 วันต่อสัปดาห์เพื่อให้หัวใจเต้นเร็วระดับสลายไขมัน (zone 2 ขึ้นไป, หรือ 60-80% ของ Maximal heartrate)
  3. ผ่าตัดลดน้ำหนัก โดยการลดขนาดของกระเพาะทำให้ส่งผลต่อฮอร์โมนอยากอาหาร ช่วยให้ความอยากอาหารน้อยลงและกินในปริมาณนิดเดียวก็ทำให้รู้สึกอิ่มแล้ว

หากคุณไม่อยากถึงขั้นผ่าตัด การควบคุมอาหารและออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอก็จะช่วยลดน้ำหนักได้เฉลี่ยสัปดาห์ละ 0.5-1 กิโลกรัมเลยทีเดียว แต่ทางที่ดีการป้องกันไม่ให้เกิดภาวะอ้วนจะดีที่สุดเพราะจะได้ไม่เสี่ยงต่อการเกิดโรคแทรกซ้อนที่เป็นอันตรายต่าง ๆ เข้ามา หากคุณเริ่มรู้จักกับโรคนี้มากขึ้นแล้วก็อย่าลืมหลีกเลี่ยงปัจจัยเสี่ยงต่าง ๆ ที่เป็นตัวการของโรคอ้วนด้วยล่ะ เพื่อสุขภาพที่ดีและเรียกคืนความมั่นใจให้กลับมา


อ้างอิง:

–http://www.vejthani.com/th/2020/12/อ้วนส่วนไหน-เป็นเพราะอะ/ 

–https://www.khonkaenram.com/th/services/health-information/health-articles/med/program-bmi 

–http://www.sikarin.com/health/โรคอ้วน-ภาวะอันตราย-เสี่ 

–http://www.pobpad.com/อ้วน 

–htpp://www.phyathai.com/article_detail/3000/th/คุณกำลังเป็น..โรคอ้วนหรือเปล่า

Share
0
wtbiz5
wtbiz5

Related posts

ตุ่มใสที่นิ้วมือคัน
March 2, 2023

ตุ่มใสที่นิ้วมือคัน อันตรายหรือไม่? บ่งบอกถึงโรคอะไรได้บ้าง


Read more
โรคขาอยู่ไม่สุข
February 8, 2023

โรคขาอยู่ไม่สุข กลุ่มอาการที่ทำให้เสียบุคลิกภาพ


Read more
คัดจมูกแก้ยังไง
December 15, 2022

คัดจมูกแก้ยังไง ? รวม 10 วิธีรักษาและป้องกันอาการเบื้องต้น


Read more

ATLANTICCANADA

Atlantic Canada Healthcare คลังข้อมูลป้องกันโรค รู้ทันโรคใหม่ ๆ ทุกวัน พร้อมวิธีตรวจเช็คอาการเบื้องต้น มีประสิทธิภาพมากที่สุด ประหยัดที่สุด ทันเวลาในการตัดสินใจไปพบแพทย์เพื่อคำแนะนำและการรักษาที่ดีที่สุด

Recent Posts

ตุ่มใสที่นิ้วมือคัน

ตุ่มใสที่นิ้วมือคัน อันตรายหรือไม่? บ่งบอกถึงโรคอะไรได้บ้าง

โรคขาอยู่ไม่สุข

โรคขาอยู่ไม่สุข กลุ่มอาการที่ทำให้เสียบุคลิกภาพ

คัดจมูกแก้ยังไง

คัดจมูกแก้ยังไง ? รวม 10 วิธีรักษาและป้องกันอาการเบื้องต้น

ตุ่มใสที่นิ้วมือคัน

ตุ่มใสที่นิ้วมือคัน อันตรายหรือไม่? บ่งบอกถึงโรคอะไรได้บ้าง

โรคขาอยู่ไม่สุข

โรคขาอยู่ไม่สุข กลุ่มอาการที่ทำให้เสียบุคลิกภาพ

คัดจมูกแก้ยังไง

คัดจมูกแก้ยังไง ? รวม 10 วิธีรักษาและป้องกันอาการเบื้องต้น

Copyright © 2020 atlanticcanadahealthcare.com

  • Terms and Conditions
  • Privacy Policy