• HOME
  • BLOG
  • ABOUT
  • CONTACT
Menu
  • HOME
  • BLOG
  • ABOUT
  • CONTACT
โรคอัลไซเมอร์กับโรคสมองเสื่อม โรคที่ต้องรับมือตั้งแต่เนิ่นๆ
September 27, 2019
โรคไต อาการ ระยะของโรคและอาหารที่ไม่ควรกิน
October 8, 2019
Published by admin on October 8, 2019
Categories
  • Uncategorized
Tags

อาการ โรคเครียด พร้อมแนวทางการรับมืออย่างถูกต้องเมื่อมีอาการเครียด

โรคเครียด เป็นโรคที่เกิดกับคนได้ทุกเพศทุกวัย ทุกสาขาอาชีพ โรคนี้เกิดขึ้นได้ง่ายมากเพราะชีวิตคนเรามีปัจจัยมากมายที่กระตุ้นให้รู้สึกเครียดขึ้นมาได้ไม่ว่าจะเป็นปัจจัยภายในหรือภายนอกก็ตาม จริงๆแล้วอาการเครียดเป็นอาการที่ก้นับว่าปกติหากมีในระดับที่พอดีเพราะมันคืออาการเตือนภัยอย่างหนึ่งของมนุษย์ที่จะช่วยให้เอาตัวรอดจากเหตุการณ์ต่างๆได้ แต่ว่าถ้ามันเครียดมากเกินไปมันจะส่งผลร้ายต่อสุขภาพ ทั้งยังอาจทำให้ผู้ป่วยทำร้ายร่างกายผู้อื่นได้อีกด้วย อย่างไรก็ตามเมื่อพูดถึงโรคเครียด คนส่วนใหญ่ที่ไม่เคยป่วยมาก่อนจะแค่เข้าใจว่าก็แค่เครียด ซึ่งเป็นภาวะปกติที่สามารถเกิดขึ้นได้กับทุกคนและมันก็หายเองได้ บางคนก็อาจจะจริงตามนั้นแต่หลายๆคนนั้นก็ไม่ใช่ เพราะโรคเครียดมีหลายระดับ หากอาการหนักๆนั้นหายเองไมได้และจำเป็นต้องแพทย์เพื่อบำบัดรักษา ดังนั้นวันนี้จะมานำเสนอบทความที่จะช่วยให้เข้าใจผู้ป่วยโรคนี้กันมากยิ่งขึ้นค่ะ

โรคเครียด (Acute Stress Disoder) คือภาวะอารมณ์หรือความรู้สึกที่เกิดขึ้นหลังเผชิญกับเหตุการณ์เลวร้ายต่างๆที่ทำให้รู้สึกทุกข์ ไม่สบายใจ กดดัน กังวล เป็นต้น จริงๆแล้วทุกคนมีโอกาสเผชิญกับความเครียดได้ทั้งสิ้น แต่คนเครียดที่ไมได้ป่วยจะสามารถจัดการกับความเครียดของตัวเองได้ จะรู้สึกเครียดน้อยลงในเวลาไม่นาน แต่คนที่ป่วยเป็นโรคเครียดจะเครียดมากผิดปกติ มันส่งผลกระทบต่อร่างกายและจิตใจมากจนแสดงอาการผิดปกติออกได้อย่างชัดเจน โดยปกติแล้วเมื่อมนุษย์ต้องเผชิญหน้ากับเหตุการณ์อันตราย ร่างกายจะตอบสนองในแบบสู้หรือหนี( Fight-or-Flight ) ทำให้หัวใจเต้นเร็ว ความดันโลหิตสูง หายใจเร็ว เป็นต้น ทำให้ผู้ป่วยโรคนี้อาจมีอาการหวาดกลัวหรือตื่นตระหนกได้แม้จะผ่านเหตุการณ์กระทบกระเทือนจิตใจมานานแล้วก็ตาม บางรายอาจมีอาการฝันร้ายถึงเหตุการณ์ที่ประสบมาแบบซ้ำๆ เป็นต้น

คุณอาจสนใจบทความนี้ คลิก โรคซึมเศร้า

อาการ โรคเครียด พร้อมแนวทางการรับมืออย่างถูกต้องเมื่อมีอาการเครียด

โรคเครียด อาการ

ผู้ป่วยโรคนี้มักมีอาการทันทีที่เผชิญหน้ากับเหตุการณ์ที่ก่อให้เกิดความเครียด ซึ่งอาการที่เกิดนั้นอาจจะนานหลายวัน หลายสัปดาห์หรือเป็นเดือนเลยก็ได้ โดยอาการจะแบ่งเป็น 3 กลุ่มใหญ่ๆ ดังนี้

  • อารมณ์ความรู้สึก คนที่เผชิญกับความเครียดอยู่ตลอดเวลาจะเป็นคนที่หมกหมุ่น คิดเรื่องเดิมซ้ำๆ ไม่ค่อยสนใจสิ่งแวดล้อมรอบตัว ไม่มีสมาธิ ใจลอย ทำให้ขาดความระมัดระวังจึงเสี่ยงต่อการเกิดอุบัติเหตุได้ง่าย หากทำงานที่ต้องขับรถหรือใช้เครื่องจักรจะยิ่งเสี่ยงมากขึ้นไปอีก อารมณ์แปรปรวน โกรธง่าย ฉุนเฉียวก้าวร้าว ขุ่นมัวอยู่ตลอดเวลา มีความสามารถในการจัดการชีวิตตัวเองต่ำ จึงค่อยๆสูญเสียความมั่นใจในตัวเองไป จึงขาดความภูมิใจในตัวเอง วิตกกังวล มองว่าตัวเองไร้ค่าไม่มีความสามารถ ซึมเศร้า อาจพัฒนาไปจนเป็นโรคซึมเศร้าได้ บางรายที่เผชิญความเครียดมาอย่างยาวนาน อาจมีอาการทางจิตเวชร่วมด้วยเพราะเมื่อร่างกายเครียด ฮอร์โมนคอร์ติซอลจะถูกหลั่งออกมามากขึ้น ซึ่งฮอร์โมนนี้จะทำให้เซลล์ประสาทลดจำนวนลง มีผลกับสมองที่ทำงานในส่วนความทรงจำและสติปัญญามาก เพราะฉะนั้นยิ่งเครียดสติปัญญาก็จะยิ่งลดลง สารสื่อประสาทก็จะทำงานผิดปกติด้วย
  • ร่างกาย ถึงแม้โรคเครียดจะเป็นโรคที่เกี่ยวกับอารมณ์ แต่กลับมีอาการทางร่างกายมากมาย เช่น หน้ามืด วิงเวียนศีรษะ เจ็บหน้าอก ความดันโลหิตสูง หลอดเลือดอุดตัน แผลในกระเพาะอาหาร เป็นต้น ซึ่งหากเป็นโรคเครียดติดต่อกันนานๆ สุขภาพร่างกายโดยรวมจะแย่ลงเพราะระบบฮอร์โมนขาดความสมดุล ฮอร์โมนในร่างกายมีหลายตัว แต่ละตัวมีความสำคัญแตกต่างกันไป หากถูกหลั่งมากหรือน้อยผิดปกติ อาการอาจมีตั้งแต่ปวดศีรษะ เหนื่อยง่าย อ่อนเพลีย ปวดเมื่อยตามร่างกาย เป็นต้น สำหรับคนที่ต้องเผชิญความเครียดแบบรุนแรงมากมีโอกาสที่จะเสียชีวิตได้ โดยเฉพาะถ้ามีปัญหาสุขภาพมาก่อนแล้ว เช่น เป็นโรคเบาหวานแล้วเครียด คอร์ติซอลจะถูกหลั่งออกมามาก ทำให้น้ำตาลในเลือดเพิ่มขึ้นหรือลดลงอย่างรวดเร็วจนอาจช็อคหมดสติได้ เป็นต้น
  • พฤติกรรม เนื่องจากอารมณ์และระบบการทำงานในร่างกายเปลี่ยนแปลงไป พฤติกรรมบางอย่างจึงเปลี่ยนตามไปด้วย เช่น คนที่เครียดมากๆบางรายอาจเบื่ออาหาร ทานได้น้อยลงมาก แต่บางรายจะรู้สึกหิวตลอดเวลา ทานเยอะจนน้ำหนักขึ้นได้ มีปัญหาในการนอนหลับ หลับยากแต่ตื่นง่าย ไม่มีสมาธิในการทำงานจึงทำให้ประสิทธิการทำงานแย่ลง ปลีกตัวจากผู้คน ใช้วิธีผิดๆในการแก้ปัญหา อย่าง ดื่มเหล้า สูบบุหรี่ เล่นการพนัน เป็นต้น บางรายมีพฤติกรรมที่ก้าวร้าวรุนแรง ขว้างปาข้าวของยามโมโห ทำร้ายร่างกายตัวเองหรือผู้อื่น พร้อมใช้กำลังในการตัดสินปัญหา ส่วนใครที่เครียดจัดจนหลงผิด อาจทำไปสู่การฆ่าตัวตายได้

คุณอาจสนใจบทความนี้ คลิก ปวดหัวไมเกรน 

วิธีรับมือโรคเครียด

โรคเครียดนั้นป้องกันได้ค่อนข้างยาก เพราะสาเหตุที่ทำให้เกิดอาการเครียดอย่างรุนแรงมักเป็นสถานการณ์รุนแรงหรือสาเหตุอื่นๆที่ไม่สามารถควบคุมได้ เพราะฉะนั้นหากรู้สึกเครียดมากหรือเพิ่งผ่านเหตุการณ์เลวร้ายมา ควรปฏิบัติดังต่อไปนี้

  • พบแพทย์ หลังจากประสบเหตุการณ์เลวร้ายมา หรือรู้สึกว่าตัวเองเครียดมากจนมีอาการผิดปกติอย่างอื่นร่วมด้วย แนะนำให้รีบไปพบแพทย์ จะได้เข้ารับการรักษาอย่างถูกต่อไป ช่วยลดความรุนแรงของโรคได้
  • พูดคุยสังสรรค์ หาเวลาพบปะผู้อื่นบ้าง จะเป็นเพื่อนที่ไว้ใจได้หรือสมาชิกในครอบครัวได้ ในยามที่มีปัญหาก็ลองปรึกษาพูดคุย อย่าเก็บทุกปัญหาเอาไว้คนเดียว หากพูดคุยแล้วพบว่าตัวเองไม่ดีขึ้น ควรไปพบแพทย์ อย่ากังวลเรื่องการพบจิตแพทย์เพราะว่าโรคเครียดก็เป็นโรคธรรมดาเหมือนโรคทั่วๆไป เป็นแล้วต้องได้รับการรักษา หากปล่อยไว้นานๆอาการอาจจะลุกลามรุนแรงได้ ไปจิตแพทย์ไม่ได้หมายความว่าบ้า เพราะฉะนั้นอยากให้ลองเปิดใจเรื่องการพบจิตแพทย์ให้มากขึ้น
  • หากมีอาชีพที่เสี่ยงต่อการเป็นโรคเครียดอย่างเช่น ทหาร ควรไปพบแพทย์เช่นเดียวกัน เพื่อฝึกซ้อมและเตรียมรับมือกับอาการเครียดที่อาจเกิดขึ้นระหว่างทำหน้าที่ได้
  • ผ่อนคลายยามว่าง โดยอาจหางานอดิเรกที่ชอบมาทำ เช่น ดูหนัง ฟังเพลง เล่นดนตรี ทำงานฝีมือต่างๆ งานเหล่านี้จะช่วยให้มีสมาธิมากขึ้น อาจช่วยดึงความสนใจออกมาจากความเครียดได้บ้าง
  • ดูแลสุขภาพให้แข็งแรง ทานอาหารที่มีประโยชน์ ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ นอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอและงดอบายมุขอื่นๆ เช่น ยาเสพติด การพนัน เป็นต้น
  • ฝึกสมาธิ ช่วยให้จิตใจสงบและแจ่มใสมากขึ้นได้ การฝึกสมาธิไม่จำเป็นต้องนั่งสมาธิเพียงอย่างเดียวเสมอไป เพราะการเล่นกีฬาหรือเกมบางอย่างก็ช่วยฝึกสมาธิได้เช่นเดียวกัน

อาการ โรคเครียด พร้อมแนวทางการรับมืออย่างถูกต้องเมื่อมีอาการเครียด

โรคเครียดpantip

กระทู้เกี่ยวกับโรคเครียดในพันทิปส่วนใหญ่เป็นกระทู้เกี่ยวกับความเครียดหรือวิตกกังวลทั่วไป อาจเป็นเพราะว่าในไทยคนที่เป็นโรคนี้ไม่ค่อยจะรู้ตัวว่าป่วย เลยไม่ได้เข้ารับการรักษา เลยจะขอยกตัวอย่างคนที่เป็นโรค PTSD หรือกลุ่มอาการเครียดหลังผ่านเหตุการณ์สะเทือนใจมายกตัวอย่าง จะได้เห็นภาพกันได้ชัดเจนมากขึ้น

กระทู้ : อาการ PTSD ของทหารที่กลับมาจากสงครามเคสที่หนักที่สุดนี้รุนแรงแค่ไหนครับ?

ในส่วนของเนื้อหาเป็นแค่คำถามไม่ได้มีอะไรบ้าง เจ้าของกระทู้เพียงแค่สงสัยว่ามีทหารที่มีอาการแบบนี้เยอะหรือไม่หลังกลับจากสงคราม มีผลกระทบหนักสุดแค่ไหน แต่ในส่วนของความคิดเห็นมีหลายความเห็นที่น่าสนใจ เช่น ความเห็นที่ 2 พูดถึงเพื่อนทหารในกองร้อยที่ออกลาดตระเวนไปพร้อมกับเพื่อนอีกคนหนึ่ง เพื่อนคนนั้นเสียชีวิตซึ่งคนที่รอดกลับมาน่าจะเห็นเหตุการณ์เลวร้ายที่เกิดกับเพื่อนตัวเอง พอกลับมาพฤติกรรมก็เปลี่ยนไป เงียบขรึม นิ่งซึม พูดน้อย ในตอนแรกเพื่อนๆทหารก็พยายามเข้ามาพูดคุยด้วย หวังว่าจะช่วยให้อารมณ์ดีขึ้น ซึ่งก็ดูปกติดีเพราะก็ยิ้ม พูดคุยได้ตามปกติ แต่ว่าหลังจากนั้นไม่นานเท่าไรนัก ทหารคนนี้ก็ฆ่าตัวตายด้วยการยิงตัวเอง

ความเห็นที่ 7 ยกกรณีที่มีชื่อเสียงมา 2 กรณี โดยกรณีแรกเกิดในไทยปี 2554 เป็นเรื่องของพลทหารนายหนึ่งที่เกิดอาการเครียดเนื่องจากแม่ป่วยหนัก ทำให้คุมสติได้ไม่อยู่ ใช้ปืนกราดยิงผู้บังคับบัญชาของตัวเองจนเสียชีวิต หลังจากนั้นได้วิ่งออกไปจี้รถเพื่อหลบหนีโดยยิงชาวบ้านเสียชีวิตเพิ่มอีก 1 ราย หลังจากนั้นไม่นานเท่าไรนักมีกรณีการยิงกันเองของทหารเกิดขึ้นอีก 2 กรณี ซึ่งทั้ง 3 กรณีนี้เกิดขึ้นในระยะเวลาแค่ 3 เดือนเท่านั้น ส่วนกรณีที่ 2 เป็นคดีที่โด่งดังมากในต่างประเทศ เชื่อว่าหลายๆคนคงเคยทราบข่าวกันมาบ้าง โดยเป็นเรื่องของอดีตนาวิกโยธินสหรัฐคนหนึ่งที่ชื่อว่า เอ็ดดี้ เรย์รูธ ได้ใช้อาวุธปืนยิง คริส ไคล์ อดีตมือสไปเปอร์ที่มีชื่อเสียงโด่งดังมากที่สุดของหน่วยซีลและ แชต ลิตเติลฟีลด์ ทหารผ่านศึกซึ่งก็เป็นเพื่อนของคริส ไคน์นั่นเอง สองคนนี้พาเอ็ดดี้มายิงปืนเพื่อบำบัดเนื่องจากมีอาการเครียดจากเหตุการณ์เลวร้ายในสงครามอิรัก ส่วนคริส ไคล์ หลายน่าจะรู้จักกันดีจากภาพยนตร์ที่เป็นอัตชีวประวัติของเขาเองอย่างเรื่อง American Sniper

สำหรับโรค PTSD ในทหารไทยอาจจะไม่ค่อยได้พบกันบ่อยๆ เพราะบ้านเราไม่ค่อยมีสงคราม แต่ในต่างประเทศที่ยังต้องออกไปทำสงครามอยู่จะพบกรณีแบบนี้ได้บ่อยมากๆ จำนวนตัวเลขผู้ป่วยสูง เป็นเรื่องที่อันตรายเพราะออกจากจะมีแนวโน้มทำร้ายตัวเองสูงมากแล้วยังมีโอกาสทำร้ายคนอื่นได้อีกด้วย (ขอขอบคุณ LoginName : สมาชิกหมายเลข 3543372, สมาชิกหมายเลข 1737564 และ สมาชิกหมายเลข 3303379 )

Share
0
admin
admin

Related posts

November 12, 2019

โรคริดสีดวงทวาร ภัยสุขภาพใกล้ตัว รักษาได้ ไม่ต้องทรมาน


Read more
November 12, 2019

โรคไทรอยด์ รู้จักไว้ ปลอดภัยกว่า


Read more
November 12, 2019

กรดไหลย้อน ภัยสุขภาพคุกคามคุณภาพชีวิต


Read more

ATLANTICCANADA

Atlantic Canada Healthcare คลังข้อมูลป้องกันโรค รู้ทันโรคใหม่ ๆ ทุกวัน พร้อมวิธีตรวจเช็คอาการเบื้องต้น มีประสิทธิภาพมากที่สุด ประหยัดที่สุด ทันเวลาในการตัดสินใจไปพบแพทย์เพื่อคำแนะนำและการรักษาที่ดีที่สุด

Recent Posts

ตุ่มใสที่นิ้วมือคัน

ตุ่มใสที่นิ้วมือคัน อันตรายหรือไม่? บ่งบอกถึงโรคอะไรได้บ้าง

โรคขาอยู่ไม่สุข

โรคขาอยู่ไม่สุข กลุ่มอาการที่ทำให้เสียบุคลิกภาพ

คัดจมูกแก้ยังไง

คัดจมูกแก้ยังไง ? รวม 10 วิธีรักษาและป้องกันอาการเบื้องต้น

ตุ่มใสที่นิ้วมือคัน

ตุ่มใสที่นิ้วมือคัน อันตรายหรือไม่? บ่งบอกถึงโรคอะไรได้บ้าง

โรคขาอยู่ไม่สุข

โรคขาอยู่ไม่สุข กลุ่มอาการที่ทำให้เสียบุคลิกภาพ

คัดจมูกแก้ยังไง

คัดจมูกแก้ยังไง ? รวม 10 วิธีรักษาและป้องกันอาการเบื้องต้น

Copyright © 2020 atlanticcanadahealthcare.com

  • Terms and Conditions
  • Privacy Policy