• HOME
  • BLOG
  • ABOUT
  • CONTACT
Menu
  • HOME
  • BLOG
  • ABOUT
  • CONTACT
กรดไหลย้อน ภัยสุขภาพคุกคามคุณภาพชีวิต
November 12, 2019
โรคริดสีดวงทวาร ภัยสุขภาพใกล้ตัว รักษาได้ ไม่ต้องทรมาน
November 12, 2019
Published by admin on November 12, 2019
Categories
  • Uncategorized
Tags

โรคไทรอยด์ รู้จักไว้ ปลอดภัยกว่า

โรคไทรอยด์ รู้จักไว้ ต่อมไทรอยด์เป็นหนึ่งในต่อมไร้ท่อที่มีความสำคัญต่อร่างกายมาก ฮอร์โมนที่ถูกผลิตจากต่อมนี้เป็นส่วนหนึ่งในการดูแลสุขภาพโดยรวม หากเกิดความผิดปกติกับต่อมไทรอยด์ ร่างกายจะแสดงอาการเจ็บป่วยขึ้นมาได้อย่างง่ายดาย

ต่อมไทรอยด์

ต่อมไทรอยด์(Thyroid gland) คือต่อมไร้ท่อขนาดใหญ่ที่สุดในร่างกาย อยู่บริเวณด้านหน้าของลำคอติดกับหลอดลมใต้ลูกกระเดือก หากมองตรงด้านหน้าจะมีลักษณะคล้ายผีเสื้อ ต่อมแบ่งเป็นสองซีกแต่เชื่อมกันด้วยเนื้อเยื่ออิสมัส ต่อมนี้มีหน้าที่ผลิตฮอร์โมนไทรอยด์ 3 ชนิดอย่าง ไทโรซีน(Thyroxine), ไทรไอโอโดไทโรนีน(Triiodothyronine) และแคลซิโทนิน(Calcitonin) แต่โดยทั่วไปแล้วเวลากล่าวถึงฮอร์โมนจากต่อมไทรอยด์จะหมายถึง 2 ประเภทแรก ซึ่งเป็นฮอร์โมนที่มีความสำคัญต่อเจริญเติบโต รวมทั้งยังช่วยการควบคุมระบบเผาผลาญของร่างกาย การไหลเวียนโลหิต การเต้นของหัวใจ รักษาสมดุลร่างกาย แม้กระทั่งการหลั่งเหงื่อก็ด้วย เพราะฉะนั้นต่อมนี้จึงเหมือนกับดูแลทั่วทั้งร่างกายเลยทีเดียว

คุณอาจสนใจบทความนี้ อ่านเลย กรดไหลย้อน ภัยสุขภาพคุกคามคุณภาพชีวิต

โรคไทรอยด์ รู้จักไว้ ปลอดภัยกว่า

โรคไทรอยด์ คือ

โรคไทรอยด์คือภาวะที่ไทรอยด์ทำงานผิดปกติ โดยแบ่งเป็น 2 ประเภทดังนี้

  • ไฮเปอร์ไทรอยด์(Hyperthyroidism) เป็นภาวะที่ต่อมไทรอยด์ทำงานมากกว่าปกติ มีการหลั่งฮอร์โมนไทรอยด์มากเกินไป จนทำให้ระบบเผาลาญของร่างกายทำงานหนักขึ้น อาการที่พบร่วมกันส่วนใหญ่คือน้ำหนักจะลดลงอย่างรวดเร็ว ขี้ร้อนและมีเหงื่อออกง่าย ซึ่งโรคไทรอยด์ที่คนส่วนใหญ่รู้จักกันคือโรคไทรอยด์ประเภทนี้ เรียกอีกอย่างว่าไทรอยด์เป็นพิษ ซึ่งต่อไปในบทความจะพูดจะถึงไฮเปอร์ไทรอยด์เป็นหลัก
  • ไฮโปไทรอยด์(Hypothyroidism) เป็นภาวะที่ต่อมไทรอยด์ทำงานน้อยเกินไป ดังนั้นระดับฮอร์โมนไทรอยด์จึงน้อยกว่าปกติตามไปด้วย ผลจะออกมาตรงข้ามกับประเภทแรก โดยระบบเผาผลาญจะทำงานช้ากว่าปกติ น้ำหนักจะขึ้นง่าย ขี้หนาว เป็นต้น

คุณอาจสนใจบทความนี้ อ่านเลย โรคภูมิแพ้ เข้าใจ รู้ทัน ป้องกันได้

โรคไทรอยด์ อาการ

โรคไทรอยด์มีอาการหลายระดับและอาจจะคล้ายคลึงกับโรคอื่นได้ ในผู้ที่เป็นแบบไม่รุนแรงอาจไม่มีอาการอะไรเลย โดยเฉพาะในผู้สูงอายุ ทำให้ให้ผู้ป่วยบางส่วนสามารถใช้ชีวิตประจำวันได้ตามปกติ แต่ก็มีผู้ป่วยอีกจำนวนมากเช่นเดียวกันที่ป่วยเป็นโรคนี้แล้วกระทบต่อการใช้ชีวิต เนื่องจากมีปัญหาสุขภาพบางประการอันเป็นผลมาจากโรคไทรอยด์ ดังนี้

  • คอพอก เป็นอาการที่พบได้บ่อยมากที่สุดในผู้ป่วยไทรอยด์ สาเหตุเกิดมาจากต่อมไทรอยด์โตขึ้น บางรายอาจจะโตแค่พอเป็นก้อนให้คลำได้ ในรายที่รุนแรงอาจจะมองเห็นว่าเป็นก้อนขนาดใหญ่ที่คอเลย
  • ระบบเผาผลาญทำงานหนักเกินไป หัวใจเต้นเร็ว หิวง่าย กินบ่อย แต่น้ำหนักลด เพราะฉะนั้นกินเยอะอย่างไรก็ไม่ค่อยอ้วน
  • มีปัญหาด้านอารมณ์ เช่น หงุดหงิดง่าย ฉุนเฉียว อารมณ์แปรปรวน ขาดสมาธิ วิตกกังวล เป็นต้น
  • สุขภาพโดยรวมเปลี่ยนไป เช่น ผมเปราะบางขาดร่วงง่าย เล็บยาวไว ผิวหนังบางและคัน เป็นต้น
  • การมองเห็นแย่ลง เห็นภาพซ้อน ตาโปน
  • หากเป็นผู้หญิง ประจำเดือนจะมาไม่ปกติ ในผู้ชายอาจมีอาการเต้านมใหญ่ผิดปกติ
  • ขี้ร้อน เหงื่อออกง่าย
  • นอนไม่ค่อยหลับ ตื่นง่ายในเวลากลางคืน
  • เหนื่อยง่าย ไม่มีแรง อ่อนเพลีย
  • คลื่นไส้อาเจียน อาจมีท้องเสียร่วมด้วย
  • กล้ามเนื้ออ่อนแรง บางรายมีอาการนี้ร่วมด้วย โดยเฉพาะบริเวณต้นแขนหรือต้นขา กลืนอาหารลำบาก

หากมีอาการดังกล่าวข้างต้น ควรรีบไปพบแพทย์ เพราะว่านอกจากโรคไทรอยด์แล้วอาจมีปัญหาสุขภาพอื่นที่ร้ายแรงกว่าซุกซ่อนอยู่ก็เป็นได้ การไปพบแพทย์จะช่วยให้เข้ารับการวินิจฉัยที่ถูกต้องและได้รับการรักษาอย่างรวดเร็ว

โรคไทรอยด์สาเหตุ

โรคไทรอยด์มีสาเหตุจากต่อมไทรอยด์ทำงานมากเกินไป จนมีระดับฮอร์โมนไทรอยด์มากผิดปกติ ส่วนสาเหตุที่ต่อมนี้ทำงานหนักมีอีกหลายสาเหตุ ดังนี้

  • โรคคอพอกตาโปน (Graves’disease) เป็นสาเหตุที่พบได้บ่อยถึงร้อยละ 60-80 ของผู้ป่วยทั้งหมด โรคนี้ส่วนใหญ่พบในวัยรุ่นและวัยกลางคนและพบในผู้หญิงได้มากกว่าผู้ชายหลายเท่า ปัจจุบันนี้ยังไม่ทราบสาเหตุการเกิดโรคอย่างแน่ชัด แต่พบว่ามีความสัมพันธ์กับเพศ กรรมพันธุ์และการสูบบุหรี่
  • ต่อมไทรอยด์อักเสบ (Thyroiditis) ส่วนนี่ก็เป็นการอักเสบที่ยังไม่ทราบสาเหตุเช่นเดียวกัน แต่เมื่ออักเสบแล้ว ต่อมไทรอยด์จะผลิตฮอร์โมนออกมามากผิดปกติ ทำให้มีฮอร์โมนบางส่วนรั่วเข้ากระแสเลือดได้
  • คอพอกเป็นพิษแบบหลายปุ่ม (Toxic multinodular goiter) มักพบในผู้ที่มีอายุ 40 ปีขึ้นไป โดยจะมีคอพอกอยู่หลายปุ่ม ฮอร์โมนไทรอยด์จะถูกหลั่งเหนือการควบคุมของต่อมใต้สมอง
  • เนื้องอกที่ต่อมไทรอยด์ (Toxic thyroid adenoma) เป็นเนื้องอกแบบพิษ มีขนาด 5 เซนติเมตรขึ้นไป เป็นสาเหตุที่พบได้น้อย ซึ่งมันทำให้ฮอร์โมนไทรอยด์ถูกหลั่งแบบเหนือการควบคุมเช่นเดียวกัน
  • สาเหตุอื่นๆนอกจากสาเหตุที่กล่าวถึงไปด้านบนแล้ว ยังมีสาเหตุอื่นๆอีกที่พบได้บ้าง แต่ไม่บ่อยมากนัก เช่น ผลข้างเคียงจากยารักษาโรค การได้รับไอโอดีนมากเกินไป การใช้ฮอร์โมนไทรอยด์ เป็นต้น

โรคไทรอยด์ รู้จักไว้ ปลอดภัยกว่า

โรคไทรอยด์อันตรายไหม

โรคไทรอยด์เป็นโรคที่อันตรายถ้าหากได้รับการรักษาไม่ทัน เพราะถ้าไม่รักษาจะมีโอกาสเกิดภาวะแทรกซ้อนหลายประการตามมา ซึ่งบางอย่างอาจเป็นอันตรายถึงแก่ชีวิตได้ เช่น

  • ปัญหาเกี่ยวกับหัวใจ อาจมีภาวะหัวใจขาดเลือดหรือหัวใจวายได้จากการที่หัวใจไม่สามารถสูบฉีดได้เพียงพอต่อความต้องการของร่างกาย ยิ่งถ้าผู้ป่วยเป็นโรคความดันโลหิตสูงมาก่อนแล้วหรือมีภาวะหลอดเลือดแดงแข็ง ก็จะยิ่งมีโอกาสมีปัญหาเกี่ยวกับระบบหัวใจมากยิ่งขึ้น
  • ไทรอยด์เป็นพิษขั้นวิกฤติ หากระดับฮอร์โมนไทรอยด์สูงเกินไปจนไม่สามารถควบคุมได้ อาการอาจรุนแรงจนถึงแก่ชีวิตได้ ซึ่งเมื่อไทรอยด์เป็นพิษขั้นวิกฤติจะมีอาการดังนี้ อาเจียน ท้องเสีย มีภาวะขาดน้ำ ตัวเหลือง ตาเหลือง อ่อนเพลีย สับสนมึนงง มีไข้สูง หัวใจเต้นเร็ว หากรักษาไม่ทันอาจช็อคและเสียชีวิตได้ แต่ภาวะนี้มักไม่เกิดกับผู้ป่วยสุขภาพดีทั่วไปที่ทานยาตามปกติ

แต่ถึงแม้จะเป็นโรคอันตราย แต่มันอันตรายแค่ในบางกรณีเท่านั้น เช่น ไม่เข้ารับการรักษา ทานยาไม่สม่ำเสมอ ป่วยด้วยโรคติดเชื้อหรือต้องเข้ารับการผ่าตัด เป็นต้น ในผู้ป่วยที่มีสุขภาพปกติและให้ความร่วมมือกับแพทย์เป็นอย่างดี มักจะไม่เจอภาวะรุนแรงอะไร นอกจากนี้ยังมีการรักษาบางวิธีที่ทำให้หายขาดจากโรคได้อีกด้วย เพราะฉะนั้นโรคนี้อันตรายแต่ว่า “รับมือได้”

โรคไทรอยด์ห้ามกินอะไร

การรักษาโรคไทรอยด์ให้ได้ผลดีที่สุด ผู้ป่วยต้องปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการรับประทานอาหารด้วย โดยควรทานอาหารที่มีโซเดียมให้มากขึ้น(แต่ยังต้องอยู่ในปริมาณที่เหมาะสม) ดื่มน้ำให้มากๆเพื่อลดภาวะขาดน้ำและทานแคลเซียมให้เพียงพอเพื่อป้องกันกระดูกบาง เนื่องจากการป่วยเป็นโรคนี้สูญเสียมวลกระดูกได้ง่ายกว่าปกติ ส่วนอาหารที่ไม่ควรทาน มีดังนี้

  1. อาหารที่มีสารไอโอดีน/ซีลีเนียมและสังกะสีสูง แร่ธาตุดังกล่าวข้างต้นมีผลในการกระตุ้นให้ต่อมไทรอยด์ทำงานมากขึ้น เนื่องจากเป็นแร่ธาตุสำคัญที่ต่อมจะนำไปใช้ผลิตฮอร์โมน เพราะฉะนั้นควรหลีกเลี่ยง โดยอาหารกลุ่มที่มีแร่ธาตุเหล่านี้สูง เช่น เครื่องในสัตว์ อาหารทะเล เห็ด กระเทียม เนื้อวัว เมล็ดทานตะวัน เป็นต้น
  2. อาหารที่กระตุ้นการเผาผลาญ เช่น พริก กาแฟ แอลกอฮอล์ เครื่องดื่มชูกำลังฯลฯ เพราะผู้ป่วยโรคไทรอยด์เป็นพิษมีการเผาผลาญที่สูงกว่าปกติอยู่แล้ว หากทานอาหารพวกนี้เข้าไปอีก อาการจะแย่ลง
  3. อาหารที่กระตุ้นการขับน้ำออกจากร่างกาย เช่น หน่อไม้ฝรั่ง หน่อไม้ธรรมดา ผักกาด เป็นต้น เนื่องจากโรคนี้ทำให้ร่างกายสูญเสียน้ำได้ง่ายกว่าปกติ การทานอาหารเหล่านี้จะทำให้เสี่ยงต่อภาวะขาดน้ำมากยิ่งขึ้น
  4. นมและผลิตภัณฑ์จากนม เนื่องจากมีไอโอดีนและซีลีเนียมในปริมารที่มากพอสมควร มีส่วนกระตุ้นให้ต่อมไทรอยด์ทำงานหนักได้
  5. อาหารที่กระตุ้นให้ภูมิแพ้กำเริบ สำหรับผู้ป่วยไทรอยด์เป็นพิษที่มีโรคภูมิแพ้เป็นโรคประจำตัวอยู่แล้ว การที่ภูมิแพ้กำเริบจะกระตุ้นให้ไทรอยด์แย่ลงได้ เพราะฉะนั้นควรหลีกเลี่ยงอาหารต่างๆที่ตัวเองแพ้ด้วย

สรุปได้ว่าโรคไทรอยด์เป็นโรคอันตรายหากไม่เข้ารับการรักษา แต่ว่าสามารถรับมือได้ถ้ามีการรักษาอย่างต่อเนื่องและสม่ำเสมอ การรักษาด้วยแพทย์แผนปัจจุบันบางวิธีมีโอกาสหายขาดได้สูงมาก ยิ่งถ้าดูแลสุขภาพให้แข็งแรงพร้อมกับควบคุมการทานอาหารอย่างเหมาะสมด้วยแล้วละก็ยิ่งมีโอกาสสูงกว่าเดิม อย่างไรก็ตามถึงแม้จะรักษาหายแล้วก็ต้องติดตามอาการอยู่เสมอ เพื่อป้องกันไม่ให้กลับมาเป็นซ้ำในอนาคต

Share
39
admin
admin

Related posts

November 12, 2019

โรคริดสีดวงทวาร ภัยสุขภาพใกล้ตัว รักษาได้ ไม่ต้องทรมาน


Read more
November 12, 2019

กรดไหลย้อน ภัยสุขภาพคุกคามคุณภาพชีวิต


Read more
November 12, 2019

ทำความรู้จัก “ไซนัสอักเสบ” ปัญหาสุขภาพสุดกวนใจ พร้อมอาการ การดูแลและวิธีป้องกัน


Read more

ATLANTICCANADA

Atlantic Canada Healthcare คลังข้อมูลป้องกันโรค รู้ทันโรคใหม่ ๆ ทุกวัน พร้อมวิธีตรวจเช็คอาการเบื้องต้น มีประสิทธิภาพมากที่สุด ประหยัดที่สุด ทันเวลาในการตัดสินใจไปพบแพทย์เพื่อคำแนะนำและการรักษาที่ดีที่สุด

Recent Posts

คัดจมูกแก้ยังไง

คัดจมูกแก้ยังไง ? รวม 10 วิธีรักษาและป้องกันอาการเบื้องต้น

โรคไส้เลื่อนอาการ

โรคไส้เลื่อนอาการ เป็นอย่างไร? รักษาได้หรือไม่ 

มะเร็งเต้านมลักษณะก้อนเนื้อมะเร็ง

มะเร็งเต้านมลักษณะก้อนเนื้อมะเร็ง แตกต่างจากซีตส์อย่างไร

คัดจมูกแก้ยังไง

คัดจมูกแก้ยังไง ? รวม 10 วิธีรักษาและป้องกันอาการเบื้องต้น

โรคไส้เลื่อนอาการ

โรคไส้เลื่อนอาการ เป็นอย่างไร? รักษาได้หรือไม่ 

มะเร็งเต้านมลักษณะก้อนเนื้อมะเร็ง

มะเร็งเต้านมลักษณะก้อนเนื้อมะเร็ง แตกต่างจากซีตส์อย่างไร

Copyright © 2020 atlanticcanadahealthcare.com

  • Terms and Conditions
  • Privacy Policy