โรคไส้เลื่อนอาการ เป็นอย่างไร? รักษาได้หรือไม่
เมื่อกล่าวถึงโรคไส้เลื่อนแล้วก็ทำให้ใครหลายคนแอบเสียวสันหลังไม่ใช่น้อย โดยเฉพาะคุณผู้ชายที่มักจะเจอบริเวณขาหนีบแล้วไหลลงอัณฑะ จนกลายเป็นโรคไส้เลื่อนลงไข่ สร้างความหงุดหงิดและขาดความมั่นใจในชีวิตประจำวันเป็นอย่างมาก แต่ถ้าหากเป็นเพศหญิงล่ะ จะมีโอกาสเป็นโรคนี้ขึ้นกับตนเองได้หรือไม่ โรคไส้เลื่อนอาการ เป็นอย่างไร เป็นแล้วรักษายากไหม จะทำอย่างไรถึงจะห่างไกลจากโรคไส้เลื่อนนี้
โรคไส้เลื่อน คืออะไรกันนะ แล้วเกิดขึ้นได้อย่างไร

โรคไส้เลื่อน (hernia) เป็นสภาวะของลำไส้ต่าง ๆ ได้แก่ ไส้เล็ก ไส้ใหญ่ อวัยวะภายในและเนื้อเยื่อต่าง ๆ ได้เกิดการขยับตัวผิดเปลี่ยนไปจากตำแหน่งเดิม หรือผนังรอบอวัยวะเคลื่อนตัวผิดปกติ ซึ่งตำแหน่งการเลื่อนก็จะมีดังนี้
- ไส้เลื่อนบริเวณสะดือ (Umbilical hernia) พบได้ในแรกเกิดหรือเรียกว่าเด็กสะดือจุ่น เกิดจากผนังหน้าท้องชั้นใต้ผิวหนังปิดไม่สนิท ทำให้ลำไส้เคลื่อนมาไส้สะดือและดันจนสะดือโป่ง
- ไส้เลื่อนบริเวณรอยแผลผ่าตัด (Incisional hernia) ในกรณีนี้เกิดจากผู้ป่วยผ่าตัดหรือเคยมีประวัติผ่าตัดบริเวณหน้าท้องเท่านั้น กล้ามเนื้อและผังผืดเกิดความหย่อนยานซึ่งทำให้กล้ามเนื้อในส่วนนั้นอ่อนแอจนเคลื่อนตัวได้
- ไส้เลื่อนในช่องเชิงกราน (Obturator hernia) พบมากในเพศหญิง ลำไส้เกิดการเคลื่อนตัวผ่านรูกระดูกเชิงกราน
- ไส้เลื่อนบริเวณขาหนีบ (Inguinal hernia) พบได้ในเพศชายและมากกว่าเพศหญิง 25 เท่า และเป็นบริเวณที่พบค่อนข้างบ่อย เกิดจากความอ่อนแอของผนังหน้าท้องบริเวณขาหนีบที่บางคนอาจเป็นตั้งแต่เกิด แล้วอาการจะแสดงในช่วงวัยหนุ่มสาว หากปล่อยทิ้งไว้จะเกิดก็การบวมโต ปวด และเคื่อนไปบริเวณต้นขาหรือถุงอัณฑะ จนได้ชื่อเรียกว่า ไส้เลื่อนลงไข่ นั่นเอง
- ไส้เลื่อนบริเวณต่ำกว่าขาหนีบ (Femoral hernia) เกิดได้แต่พบค่อนข้างน้อยแต่พบเฉพาะในผู้หญิงเท่านั้น เกิดจากลำไส้ผ่านรู Femoral canal ทำให้ลำไส้ลงมากองเป็นก้อน เสี่ยงความดันในช่องท่องที่เพิ่มขึ้น
- ไส้เลื่อนบริเวณกระบังลม (Hiatal hernia) แบ่งออกเป็น 2 ชนิด
- Paraesophageal hernia คือ บางส่วนของกระเพาะอาหารเคลื่อนผ่านรูบริเวณกระบังลม เข้าไปอยู่ในช่องอก
- Sliding hiatal hernia คือบางส่วนของกระเพาะอาหารเคลื่อนที่ผ่านรูบริเวณกระบังลม ที่เป็นทางหลอดอาหารเข้าสู่ช่องท้อง เข้าไปอยู่ในช่องอก
จากบริเวณที่สามารถเกิดไส้เลื่อนได้ดังที่กล่าวไป คุณจะเห็นได้ว่าผู้หญิงเองก็สามารถเป็นโรคไส้เลื่อนได้เช่นกัน และโรคไส้เลื่อนนั้นมีไม่กี่สาเหตุ ได้แก่
- ผนังบริเวณหน้าท้องอ่อนแอ เนื่องจากผ่านการผ่าตัดที่ช่องท้อง หรือเคยเกิดอุบัติบริเวณช่องท้องเหตุมาก่อน
- การเสื่อมลงตามอายุของกล้ามเนื้อผนังหน้าท้อง
- มีน้ำหนักตัวมากเกินเกณฑ์
- ยกของหนักเป็นประจำ
- ไอเรื้อรังไม่ได้รับการรักษา
- ผู้หญิงตั้งครรภ์
- ท้องผูกบ่อย เบ่งอุจจาระและปัสสาวะเป็นประจำ
- เป็นโรคภุงลมโป่งพอง
- มีสภาวะน้ำในช่องท้องจำนวนมาก
- ออกกำลังกายหนัก เช่น กิจกรรมที่ต้องใช้ความแข็งแรงของหน้าท้อง ทำให้เกิดแรงดันบริเวณขาหนีบเพิ่ม
- เป็นตั้งแต่กำเนิด
หรือหากคุณไม่แน่ใจว่าเป็นโรคนี้หรือโรคอื่นที่มีอาการใกล้เคียงหรือไม่ คุณอาจสนใจบทความนี้: การวินิจฉัยและรักษานิ่วในถุงน้ำดี
อาการเบื้องต้นของโรคไส้เลื่อน

อาการแรกเริ่มของผู้ป่วยทุกคนนั้นจะไม่สแดงอาการเจ็บปวดใดใดที่ชัดเจน แต่จะมีอาการโป่ง นูน เกิดขึ้นตามบริเวณรอยเลื่อน จึงต้องสังเกตร่างกายจากภายนอกอย่าง สม่ำเสมอ โดยลักษณะก้อนนูนนั้น สามารถผลุบโผลกลับเข้าไปเองได้ ถ้าหากไม่สามรถยุบเองได้ก็จะเกิดอาการปวดในบริเวณนั้น ๆ ซึ่งความรู้สึกก็จะปวดแบบหน่วง เหมือนมีอะไรไหลอกกมา หรือผู้ชายที่ดื่มแอลกอฮอล์ประจำคุณอาจอยากลองศึกษาข้อมูลเบื้องต้นของโรคตับแข็งดูก่อนได้
การป้องกันและรักษาโรคไส้เลื่อน

หากใครไม่อยากขึ้นเตียงผ่าตัดหรือเป็นโรคไส้เลื่อนรุนแรง สามารถทำได้ด้วยการควบคุมไม่ให้เกิดแรงดันภายในชองท้องมากเกินไป อันได้แก่
- หลีกเลี่ยงยกของหนัก เพราะจะเกิดแรงเบ่งและแรงดันในช่องท้องไปถึงขาหนีบ การยกของหนักประจำและไม่ถูกวิธีก็เป็นการเกิดแรงดันในช่องท้องที่ผิดปกติ
- ควบคุมน้ำหนักในอยู่ในเกณฑ์ที่เหมาะสม ไม่อ้วนเกินไป เพราะคนอ้วนมักจะมีหน้าท้อง หรือที่เรียกว่าอ้วนลงพุง มีส่วนทำให้เนื้อเยื่อผนังหน้าท้องหย่อนคล้อยและอ่อนแอกว่าคนที่มีน้ำหนักน้อยกว่า
- งดสูบบุหรี่ เป็นโรคปอด ไอเรื้อรัง ควรปรึกษาแพทย์เมื่อพบว่าตัวเองไอมากผิดปกติ ลดแรงดันจากปอดและช่องอกจากการไอ
- ขับถ่ายเป็นประจำ ควรทำทุกวัน เพราะว่าการทำให้ตนเองท้องผูกนั้น จะหลีกเลี่ยงการเบ่งอุจจาระไปไม่ได้เลย หรือหยุดเบ่งอุจจาระเป็นนิสัย ให้รับประทานอาหารทีมีกากใยสูง
- งดเบ่งปัสสาวะ อันนี้อาจเกิดในเพศชายที่เป็นโรคต่อมลูกหมากโต จะต้องรักษาให้หายก่อนจึงจะได้ปัสสาวะคล่อง
หากบางท่านที่เป็นโรคไส้เลื่อนแล้ว หรือยังมีกาเริ่มต้นแต่น้อย ๆ ก็ไม่ต้องกังวลใจไป เพราะเทคโนโลยีของแพทย์นั้นก้าวหน้าและทันสมัยมาก การที่จะผ่าตัดนั้นเจ็บน้อย รวดเร็ว ไม่พักฟื้นนาน ซึ่งปัจจุบันมี่วิธีรักษาอยู่ 2 แบบ
- ผ่าตัดแบบเปิดหน้าท้อง วิธีการนี้เหมาะกับผู้ป่วยที่ไม่สามารถใช้ยาสลบหรือบล็อคหลังได้
- ผ่าตัดผ่านกล้องรักษาลำไส้เลื่อน หรือ Minimally Invasive Surgery (MIS) แพทย์ผู้เชี่ยวชาญจะทำการเจาะรูขนาดเล็กที่บริเวณผนังหน้าท้องเพื่อย้ายลำไส้ไปตำแหน่งเดิม จากนั้นเสริมความแข็งแรงกล้ามเนื้อด้วยแผ่นตาข่ายสังเคราะห์ชนิดน้ำหนักเบา (Lightweight Mesh) ร่วมหมุดกับหมุดยึดตาข่ายชนิดละลายได้ (Absorbable Tackers) รอยแผลจากวิธีการนี้ใหญ่ไม่เกิน 10 มิลลิเมตร สามารถนอนพักฟื้นโรงพยาบาลได้ไวเพียง 2-3 วัน
การพักฟื้นหลังผ่าตัด
โดยส่วนใหญ่แล้วผู้ป่วยจะพักฟื้นที่โรงพยาบาลเป็นระยะเวลาอันสั้น แต่หากเป็นแบบวิธีดั้งเดิมก็จะอยู่พักฟื้นนานกว่าเล็กน้อย แต่ใดใดก้ตามหลังพักฟื้นจากโรงพยาบาลควรอยู่บ้านต่ออีกประมาณ 1 สัปดาห์ก่อนที่จะกลับไปใช้ชีวิตตามปกติ โดยวิธีดูแลตนเองหลังผ่าตัดนั้นไม่ยุ่งยาก
- ห้ามยกของหนัก หรือให้แรงเยอะ กระโดด ออกกำลังกาย หรือกระทำกิจกรรมใดใดในช่วง 2 เดือนแรก
- ไม่ควรเบ่งตอนปัสสาวะรืออุจจาระ เพราะจะไปเพิ่มความดันลมในช่องท้องทหให้แผลผ่าตัดปริออกได้ อีกทั้งกลับมาเป็นไส้เลื่อนซ้ำสอง
แม้ว่าแรกเริ่มการเป็นไส้เลื่อนจะไม่มีอันตรายถึงชีวิต แต่กระนั้นการสะสมโรคไม่ได้ตรวจเช็คก็อาจจะทำให้อาการนั้นแย่ลงไปเรื่อย ๆ ลำไส้อาจเกิดการทะลักออกมากองที่ผนังช่องท้อง ทำให้ลำไส้บีบรัดตัวเองและไม่มีเลือดไปหล่อเลี้ยง เสี่ยงต่อการติดเชื้อในเนื้อเยื่อและเนื้อเยื่อตาย ฉะนั้นหากมีอาการเริ่มบวมปูด ควรไปปรึกษาแพทย์ตั้งแต่เริ่มแรกเจอโดยทันที
ที่มา
https://www.nakornthon.com/article/detail/%
https://www.rama.mahidol.ac.th/ramachannel/article/
https://www.bangkokhospital.com/content/hernia-into-the-scrotum