• HOME
  • BLOG
  • ABOUT
  • CONTACT
Menu
  • HOME
  • BLOG
  • ABOUT
  • CONTACT
โรคไทรอยด์ รู้จักไว้ ปลอดภัยกว่า
November 12, 2019
5 ข้อควรรู้ เพื่อการกินคีโตให้ประสบความสำเร็จ
July 14, 2021
Published by admin on November 12, 2019
Categories
  • Uncategorized
Tags

โรคริดสีดวงทวาร ภัยสุขภาพใกล้ตัว รักษาได้ ไม่ต้องทรมาน

หากจะพูดถึงโรคในระบบขับถ่ายที่พบได้บ่อยที่สุด เชื่อว่าหลายคนคงนึกถึง “ โรคริดสีดวงทวาร ” โรคยอดฮิตในประเทศไทยและในประชากรทั่วโลก แน่นอนว่าคงไม่มีใครอยากเป็น แต่ปฏิเสธไม่ได้ว่ามีคนจำนวนไม่น้อยเลยที่มีประวัติเคยเป็นโรคนี้กันมาก่อน อาการก็มีตั้งแต่เล็กน้อยไปจนถึงรุนแรง ซึ่งถ้ามีอาการรุนแรง มันจะส่งผลกระทบต่อการใช้ชีวิตมากเลยทีเดียว

คุณอาจสนใจบทความนี้ อ่านต่อเลย วัณโรค รู้ทัน รักษาหายขาดได้ด้วยการกินยา

โรคริดสีดวงทวาร ภัยสุขภาพใกล้ตัว

ริดสีดวง คือ

ริดสีดวง คือโครงสร้างเส้นเลือดที่ปกติแล้วทำหน้าที่เป็นนวมบริเวณปลายทวารหนัก โครงสร้างนี้ไม่ได้มีเส้นเลือดใหญ่อยู่ด้านในแต่จะมีเส้นเลือดฝอยรวมตัวอยู่ด้วยกัน นวมนี้จะมีอยู่ 3 จุดหลักคือ ด้านขวาส่วนหน้าและหลัง กับด้านซ้ายส่วนหน้า ริดสีดวงมีหน้าที่ช่วยกลั้นอุจจาระ ช่วยปิดทวารหนักในขณะที่ไม่ได้ปวดถ่ายอุจาระรวมทั้งปกป้องกล้ามเนื้อหูรูดทวารหนักทั้งด้านในด้านนอก เพราะฉะนั้นเวลาเบ่งถ่าย แรงดันในช่องท้องจะเพิ่มขึ้นจนทำให้ริดสีดวงโป่ง เพราะฉะนั้นเมื่อเบ่งถ่ายมากๆหรือนั่งอุจจาระนานเกินไปอาจทำให้กลายเป็นริดสีดวงทวารหนักได้

โรคริดสีดวงทวาร (hemorrhoids) คือการบวมอักเสบของริดสีดวง เป็นภาวะสุขภาพที่พบได้บ่อยทั้งในผู้หญิงและผู้ชาย ประชากรทั่วโลกอย่างน้อยร้อยละ 50-60 ต้องเคยประสบกับภาวะนี้อย่างน้อย 1 ครั้งในชีวิต สำหรับผู้ที่มีอายุ 45 ขึ้นไปจะมีปัญหาริดสีดวงมากกว่าคนที่อายุน้อยกว่า โรคนี้แบ่งได้ 2 ประเภทใหญ่ๆคือ

  • แบบภายนอก (External Hemorrhoids) มักจะมีติ่งเนื้อนูนงอกออกมานอกทวารหนัก มีสีชมพูเข้มกว่าผิวหนังโดยรอบ ส่วนใหญ่สามารถสังเกตเห็นได้อย่างชัดเจน ริดสีดวงประเภทนี้ถ้าไม่มีลิ่มเลือดอุดตัน มักจะไม่สร้างปัญหามากเท่าใดนัก แต่ถ้ามีลิ่มเลือดด้วยจะทำให้รู้สึกเจ็บปวดมาก ริดสีดวงประเภทนี้หากหายเจ็บปวดหรือหายบวมแล้ว ติ่งเนื้ออาจจะยังคงอยู่ ถ้าติ่งมีขนาดใหญ่มากๆมักมีปัญหาในเรื่องการทำความสะอาด และถึงแม้จะไม่เจ็บแล้วแต่อาจรู้สึกคันบริเวณรอบๆได้
  • แบบภายใน (Internal Hemorrhoids) เป็นชนิดที่ไม่มีติ่งเนื้อโผล่ออกมาด้านนอกเพราะเกิดอยู่ด้านในทวารหนัก ผู้ป่วยจะมีเลือดสีแดงสดไหลออกมาในขณะถ่ายอุจจาระโดยไม่รู้สึกเจ็บปวดแต่อย่างใด เลือดอาจจะติดมากับทิชชู หยดใส่โถส้วมหรืออาบก้อนอุจจาระออกมาเลยก็ได้ แต่อุจจาระจะมีสีตามปกติหรืออาจจะมีเมือกปนได้ ส่วนก้อนริดสีดวงด้านในจะห้อยย้อยออกมาปิดทวารหนัก ทำให้มีปัญหาเรื่องการกลั้นอุจจาระและรู้สึกคันบริเวณทวารหนัก ทั้งนี้ริดสีดวงภายในสามารถรู้สึกเจ็บปวดได้เช่นเดียวหากมีลิ่มเลือดอุดตันหรือมีเนื้อตาย ซึ่งถ้าหากปล่อยปละละเลยไม่รักษา อาจมีอาการทั้งริดสีดวงภายในและภายนอกได้ นอกจากนี้ริดสีดวงภายในยังสามารถแบ่งย่อยได้อีก 4 ชนิด คือ ริดสีดวงขั้นที่ 1 จะมีขนาดเล็กและอยู่ในทวารหนัก, ขั้นที่ 2 มีขนาดใหญ่ขึ้น เริ่มยื่นออกมาด้านนอกเมื่อเบ่งอุจจาระ แต่สามารถหดกลับเข้าไปด้านในได้เอง, ขั้นที่ 3 ติ่งเนื้อยื่นออกมาในขณะเบ่งอุจจาระเช่นเดียวกัน แต่ว่ายังสามารถดันกลับเข้าไปได้, ขั้นที่ 4 ริดสีดวงมีขนาดใหญ่ ยื่นออกมาข้างนอกโดยไม่สามารถดันกลับเข้าไปได้อีก

 

ริดสีดวงอาการ

ผู้ป่วยโรคริดสีดวงกว่าร้อยละ 40 ไม่มีอาการอะไร แต่ถ้ามีอาการก็มักจะมีคล้ายๆกัน เช่น รู้สึกเจ็บและคันบริเวณทวารหนัก ปวดบวม กลั้นอุจจาระไม่อยู่ มีเลือดออกในขณะอุจจาระ เป็นต้น ส่วนใหญ่อาการมักจะดีขึ้นเองและไม่ต้องเข้ารับการรักษาก็ได้ แต่ถ้าอาการรุนแรง เช่น เลือดออกบ่อยและออกในปริมาณมาก อาจมีอาการเลือดจาง หน้ามืด วิงเวียนศีรษะ เป็นต้น เพราะฉะนั้นหากพบว่าตัวเองมีอาการเลือดออกขณะอุจจาระโดยไม่ทราบสาเหตุหรือเจ็บปวดที่ทวารหนักเรื้อรัง แนะนำให้รีบไปพบแพทย์

คุณอาจสนใจบทความนี้ อ่านต่อเลย งูสวัด” โรคผิวหนังจากการติดเชื้อไวรัส

โรคริดสีดวง สาเหตุ

ปัจจุบันนี้ยังไม่ทราบสาเหตุของโรคริดสีดวงอย่างแน่ชัด แต่พบว่าการเพิ่มขึ้นของแรงดันในช่องท้องมีผลต่อโรคนี้มาก ส่วนปัจจัยที่มีผลทำให้แรงดันในช่องท้องเพิ่มขึ้นมีหลายปัจจัย เช่น นั่งโถส้วมนาน อ้วน เบ่งอุจจาระอย่างรุนแรง ตั้งครรภ์ ท้องผูกบ่อย ท้องเสียบ่อย เนื้องอกในช่องท้อง เป็นต้น

โรคริดสีดวงทวาร ภัยสุขภาพใกล้ตัว

ริดสีดวงรักษา

การรักษาโรคริดสีดวงทวารสามารถทำได้หลายวิธีด้วยกัน ส่วนจะใช้วิธีไหนนั้นขึ้นอยู่กับความรุนแรงของโรคที่เป็นอยู่ดังนี้

  1. ดูแลตัวเองเบื้องต้น
  • ดื่มน้ำให้มากๆควบคู่ไปกับการทานอาหารที่มีกากใยสูง เพื่อกระตุ้นการเคลื่อนไหวของลำไส้ ใยอาหารจะช่วยอุ้มน้ำ เพิ่มน้ำหนักและความอ่อนนุ่มให้อุจาระช่วยให้นิ่มขึ้น จึงขับถ่ายง่ายบรรเทาอาการท้องผูก
  • แช่น้ำอุ่น หากเป็นริดสีดวงที่มีติ่งเนื้อออกมาด้านนอก ควรนั่งแช่น้ำอุ่นจัดวันละ 10-15 นาที ช่วยบรรเทาอาการเจ็บปวดได้
  • สร้างสุขนิสัยที่ดีในการขับถ่าย งดนั่งอุจจาระนาน พยายามไม่เบ่งถ่ายรุนแรงเกินไป งดกลั้นอุจจาระโดยไม่จำเป็นเพราะจะทำให้ท้องผูกได้
  • รักษาความสะอาด หมั่นทำความสะอาดบริเวณที่มีอาการอยู่เสมอ อย่าปล่อยให้เกิดความเปียกชื้น
  • งดใช้ผลิตภัณฑ์ที่รุนแรงกับทวารหนัก เช่น สบู่รุนแรง ทิชชู่ที่มีเนื้อสัมผัสหยาบแข็งจนเกินไป เป็นต้น
  • ลดน้ำหนัก น้ำหนักตัวมีผลต่อแรงดันในช่องท้องเช่นเดียวกัน เพราะฉะนั้นหากไม่รู้สึกเจ็บปวดที่ริดสีดวงแล้ว พยายามควบคุมน้ำหนักลงมาให้อยู่ในเกณฑ์มาตรฐาน
  • ประคบเย็นที่ทวารหนัก เมื่อมีอาการปวดที่ริดสีดวง
  1. การใช้ยารักษาโรค แพทย์อาจพิจารณาให้ยามาใช้ควบคู่ไปกับการดูแลตัวเอง เช่น ยาทานแก้ปวด ยาเหน็บทวารแก้ปวดและแก้คัน เป็นต้น นอกจากนี้ยังมียาสมุนไพรอีกชนิดหนึ่งที่มีชื่อเสียงเรื่องการรักษาริดสีดวงทวารมากคือ เพชรสังฆาต ปัจจุบันนี้มีจำหน่ายตามร้านขายยาทั่วไป
  2. การรัดด้วยหนังยาง (Rubber band ligation) เป็นหัตการวิธีแรกๆที่มักใช้รักษาโรคริดสีดวงทวารหนัก ส่วนใหญ่แล้วจะใช้รักษาให้กับผู้ป่วยในระยะที่ 1-3 วิธีการคือจะใช้หนังยางรัดติ่งเนื้อภายในทวารหนัก โดยรัดบริเวณรอยต่อของสำไส้ตรงและทวารหนัก แต่จะรัดใกล้กับรอยต่อมาเกินไปไม่ได้ เพราะจะทำให้ผู้ป่วยรู้สึกเจ็บปวดอย่างรุนแรง การรัดแบบนี้จะช่วยให้หัวริดสีดวงแห้งเหี่ยวลงใน 5-7 วันเนื่องจากขาดเลือดมาหล่อเลี้ยง เป็นวิธีที่รักษาได้หายขาดถึงร้อยละ 87 แต่ก็มีโอกาสเกิดผลข้างเคียงมากถึงร้อยละ 3
  3. การฉีดยา (Sclerotherapy)วิธีนี้คือการฉีดสารที่ทำให้เกิดการแข็งตัวไปที่หัวริดสีดวง จะช่วยทำลายผนังหลอดเลือดและทำให้หัวริดสีดวงเหี่ยวลงไปในที่สุด
  4. การทำลายเนื้อเยื่อด้วยการเผา(Cauterization) สามารถทำได้หลายวิธี เช่น จี้ด้วยไฟฟ้า ฉายด้วยรังสีอินฟาเรด ผ่าตัดด้วยเลเซอร์ เป็นต้น แต่ว่ามักจะใช้วิธีนี้เมื่อวิธีอื่นไม่ได้ผล
  5. การผ่าตัด วิธีนี้เสี่ยงที่จะเกิดภาวะแทรกซ้อนอยู่บ้าง เพราะฉะนั้นจึงมักเลือกทำในรายที่มีอาการรุนแรง สามารถผ่าตัดได้ 3 วิธี ดังนี้
  • การผ่าตัดริดสีดวง(Excisional hemorrhoidectomy) วิธีนี้เหมาะกับผู้ที่เป็นริดสีดวงภายนอกแบบรุนแรงและมีลิ่มเลือดอุดตัน หลังผ่าจะรู้สึกเจ็บมากๆ แต่อาการจะดีขึ้นภายใน 2-4 สัปดาห์ อย่างไรก็ตามในระยะยาว วิธีนี้ได้ผลดีกว่าการรัดหนังยาง เพราะโอกาสกลับมาเป็นซ้ำน้อย
  • การผ่าตัดหลอดเลือดแดงที่ผ่านเข้าสู่ริดสีดวง (transanal hemorrhoidal dearterialization) วิธีนี้จะต้องหาตำแหน่งของเส้นเลือดแดง จากนั้นก็ผูกเส้นเลือด แล้วเย็บหัวริดสีดวงกลับเข้าไปด้านใน เป็นวิธีที่เจ็บไม่มาก มีบาดแผลน้อย ถึงแม้จะมีโอกาสกลับมาเป็นซ้ำได้มากกว่าวิธีด้านบนเล็กน้อยแต่ก็เกิดภาวะแทรกซ้อนได้น้อยกว่า
  • การผ่าตัดโดยใช้เครื่องมือเย็บติด (Stapled hemorrhoidectomy) ส่วนวิธีนี้จะตัดเนื้อเยื่อริดสีดวงที่ผิดปกติออกเป็นส่วนมาก แต่จะเหลือไว้บางส่วนแล้วเย็บกลับเข้าไป เจ็บน้อย หายไว แต่มีโอกาสกลับมาเป็นซ้ำสูงกว่า 2 วิธีด้านบน

โรคริดสีดวงสามารถเกิดขึ้นได้หลายสาเหตุ แต่ว่าส่วนใหญ่แล้วมักเกิดจากพฤติกรรมการใช้ชีวิตที่ไม่ถูกต้อง โดยเฉพาะปัจจุบันนี้คนเราชอบเล่นโทรศัพท์มือถือในขณะเข้าห้องน้ำ การนั่งโถส้วมนานๆก็เพิ่มโอกาสในเป็นโรคริดสีดวงทวารด้วยเช่นเดียวกัน เพราะฉะนั้นการดูแลตัวเองเบื้องต้นดังคำแนะนำด้านบนจะช่วยลดความรุนแรงของโรคได้มาก อีกทั้งยังช่วยป้องกันโรคนี้ได้อีกด้วย อย่างไรก็ตามหากมีอาการรุนแรงจนส่งผลกระทบต่อการใช้ชีวิต แนะนำให้ไปพบแพทย์ จะได้เข้ารับการรักษาอย่างถูกต้องเหมาะสม เมื่อรักษาหายแล้วอย่าลืมดูแลตัวเองให้ดีด้วยเพื่อป้องกันการกลับไปเป็นซ้ำอีก

Share
2
admin
admin

Related posts

November 12, 2019

โรคไทรอยด์ รู้จักไว้ ปลอดภัยกว่า


Read more
November 12, 2019

กรดไหลย้อน ภัยสุขภาพคุกคามคุณภาพชีวิต


Read more
November 12, 2019

ทำความรู้จัก “ไซนัสอักเสบ” ปัญหาสุขภาพสุดกวนใจ พร้อมอาการ การดูแลและวิธีป้องกัน


Read more

ATLANTICCANADA

Atlantic Canada Healthcare คลังข้อมูลป้องกันโรค รู้ทันโรคใหม่ ๆ ทุกวัน พร้อมวิธีตรวจเช็คอาการเบื้องต้น มีประสิทธิภาพมากที่สุด ประหยัดที่สุด ทันเวลาในการตัดสินใจไปพบแพทย์เพื่อคำแนะนำและการรักษาที่ดีที่สุด

Recent Posts

คัดจมูกแก้ยังไง

คัดจมูกแก้ยังไง ? รวม 10 วิธีรักษาและป้องกันอาการเบื้องต้น

โรคไส้เลื่อนอาการ

โรคไส้เลื่อนอาการ เป็นอย่างไร? รักษาได้หรือไม่ 

มะเร็งเต้านมลักษณะก้อนเนื้อมะเร็ง

มะเร็งเต้านมลักษณะก้อนเนื้อมะเร็ง แตกต่างจากซีตส์อย่างไร

คัดจมูกแก้ยังไง

คัดจมูกแก้ยังไง ? รวม 10 วิธีรักษาและป้องกันอาการเบื้องต้น

โรคไส้เลื่อนอาการ

โรคไส้เลื่อนอาการ เป็นอย่างไร? รักษาได้หรือไม่ 

มะเร็งเต้านมลักษณะก้อนเนื้อมะเร็ง

มะเร็งเต้านมลักษณะก้อนเนื้อมะเร็ง แตกต่างจากซีตส์อย่างไร

Copyright © 2020 atlanticcanadahealthcare.com

  • Terms and Conditions
  • Privacy Policy